ADVERTISEMENT
แปลมาจาก : Explainer: What is anxiety?
ผู้แต่ง : Alison Pearce Stevens
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/explainer-what-anxiety
เมื่อหัวใจเต้นถี่ขึ้นและกล้ามเนื้อเกร็ง เหงื่อออกบริเวณหน้าผาก อาการเหล่านี้เป็นสัญญานเมื่อร่างกายเริ่มเครียดและเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับภัยที่บางครั้งอาจจะอันตรายถึงชีวิต เช่น มีงูนอนขดตัวอยู่ตรงทางเดิน หรือต้องข้ามหุบเหวที่แสนลึก บางครั้งภัยเหล่านั้นอาจจะมาจากสถานการณ์ที่ไม่ได้อันตรายขนาดนั้น แม้ว่ามันอาจจะเป็นสถานการณ์ที่ยากที่จะจัดการ ตัวอย่างเช่น การทำข้อสอบ หรือการย้ายเมือง ความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้อันตรายถึงชีวิต สิ่งนี้เรียกว่าความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลเกิดขึ้นแค่ภายในหัวเรา แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากมันส่งผลต่อทุกๆส่วนของร่างกายแบบเดียวกับความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องจ้องไปยังสิงโตที่หิวโหย
ไม่แปลกเลยที่ความวิตกกังวลเกี่ยวข้องกับความกลัว ความกลัวเป็นอารมณ์ที่เรารู้สึกเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความอันตราย ความกลัวเป็นสิ่งที่ทำให้ในอดีตบรรพบุรุษเรารอดชีวิตเมื่อเสียงจากพุ่มไม้กลายเป็นสิงโตที่กำลังหิว
ทันทีที่สมองตรวจจับความกลัว มันจะปล่อยสารเคมีจำนวนหนึ่งออกมา เซลล์ประสาทเริ่มส่งสัญญาณหากันและกัน สมองจะปล่อยฮอร์โมน — สารเคมีที่ความคุมการทำงานของร่างกาย ฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมายามกลัวพร้อมที่จะให้ร่างกายไม่สู้ก็หนี
สปีชีส์ของเราพัฒนาการตอบสนองแบบสู้หรือหนีเพื่อที่จะจัดการกับภัยที่แท้จริง เช่น สิงโตที่บรรพบุรุษเราอาจจะเคยเผชิญหน้าในทุ่งหญ้าสะวันนาที่แอฟริกา
แน่นอนว่าการใช้การตอบสนองแบบสู้หรือหนีเป็นผลมาจากความเครียด มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างต่อร่างกาย เช่น เลือดไม่ไหลบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือระบบย่อยอาหาร เลือดเหล่านั้นกลับไปไหลที่บริเวณกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่แขนและขา จากนั้นเลือดจะนำออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นเพื่อจะทำการต่อสู้หรือจะหนีไปอย่างว่องไว
แต่ในบางครั้งเราไม่อาจแยกได้ว่าอันไหนคือภัยจริงๆ เสียงจากพุ่มไม้นั้นแท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่สิงโต อาจเป็นเพียงแค่เสียงลมพัดเท่านั้น แต่ร่างกายนั้นไม่อยากเสี่ยงจึงได้ตอบสนองไป ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้าหรือหนีเสมอเมื่อใดก็ตามที่มีภัยมาคุกคาม บรรพบุรุษเรารอดมาได้เพราะว่าการตอบสนองนี้ ต่อให้ภัยที่พวกเขาเผชิญแท้จริงแล้วเป็นแค่การเข้าใจผิดเท่านั้น ถ้าจะพูดว่าการวิวัฒนาการนี้ทำให้มนุษย์หรือสัตว์ตอบสนองได้ดีต่อสถานการณ์หลายๆอย่างก็คงไม่ผิด มันอาจเป็นสิ่งที่ดียกเว้นเสียแต่ว่าพวกเขามีการตอบสนองมากจนเกินไป
และนั่นก็คือความวิตกกังวล คิดซะว่าความกลัวเป็นเพียงปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้น ความวิตกกังวลมาจากการกังวลถึงสิ่งที่อาจจะเกิด(หรือไม่)เกิดขึ้น
anxiety ความวิตกกังวล ปฏิกิริยาทางประสาทต่อเหตุการณ์หนึ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจและความหวั่นเกรง อาการแพนิค(ภาวะตื่นตระหนก)สามารถเกิดกับคนที่มีอาการวิตกกังวลได้
chasm หุบเหว อ่าวหรือรอยร้าวที่มีขนาดใหญ่หรือลึกบนพื้น เช่น รอยแยกในภูเขาน้ำแข็ง โกรกเขา หรือช่อง หรืออะไรก็ตาม (หรือเหตุการณ์หรือสถานการณ์)ที่เป็นอุปสรรคในการข้ามไปอีกฝาก
evolution การวิวัฒนาการ (adj. evolutionary) กระบวนการที่สปีชีส์ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติผ่านทางการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและการคัดสรรโดยธรรมชาติ ปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าชนิดก่อนหน้านี้ ชนิดที่ใหม่กว่าไม่จำเป็นที่จะต้อง “ขั้นสูงขึ้น” แค่เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ได้ดีขึ้นก็พอ
hormone ฮอร์โมน (ในทางสัตววิทยาและทางการแพทย์) สารเคมีที่ถูกผลิตในต่อมและถูกปล่อยไปในกระแสเลือดไปยังอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย ฮอร์โมนควบคุมการทำงานสำคัญหลายๆส่วนในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต มันออกฤทธ์โดยการกระตุ้นหรือควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย
(ในทางพฤกษศาสตร์) สารเคมีที่ทำหน้าเป็นสารประกอบที่คอยส่งสัญญาณให้กับเซลล์พืชว่าเมื่อไหร่จะเจริญเติบโต จะแก่ และจะตายและจะทำสิ่งเหล่านี้อย่างไร
hyper- ไฮเปอร์ คำนำหน้าที่หมายถึงเยอะเกินหรือมากเกินความเป็นจริง
nerves เส้นประสาท เส้นใยที่ยาวและละเอียดละอ่อนใช้ในการสื่อสารทั่วร่างกายสัตว์ ในกระดูกสันหลังของสัตว์ประกอบไปด้วยเส้นใยจำนวนมาก บางส่วนควบคุมการเคลื่อนที่ของขาหรือคลีบ และบางส่วนถ่ายทอดสัมผัสต่างๆ เช่น ความร้อน ความหนาว ความเจ็บปวด
neurotransmitter สารสื่อประสาท สารเคมีที่ถูกปล่อยที่ปลายเส้นใยประสาท มันส่งแรงกระตุ้นประสาท เซลล์กล้ามเนื้อหรือโครงสร้างส่วนอื่น
stress (ในทางชีวะ) ตัวแปร เช่น อุณภูมิ ความชื้น หรือมลภาวะผิดปกติ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของสปีชีส์หรือระบบนิเวศ
(ในทางจิตวิทยา) ปฏิกิริยาทางจิต ทางกายภาพ ทางอารมณ์หรือทางพฤติกรรมต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือstressor สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด ที่รบกวนการความเป็นอยู่ของคนหรือสัตว์หรือสถานที่ซึ่งกระตุ้นความต้องการของพวกเขา ความเครียดในทางจิตวิทยาสามารถให้ผลทั้งทางบวกและทางลบ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in