แปลมาจาก : Perfectionism: The Learning Mindset You Need To Avoid At All Costs
ผู้แต่ง : Nasos Papadopoulos
http://www.metalearn.net/articles/perfectionism
เราทุกคนล้วนแล้วอยากที่จะเพอร์เฟคในสิ่งที่เราเรียน ทว่าความคาดหวังเหล่านั้นมักจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยและในบางครั้งอาจจะทำให้ไม่กล้าที่จะทำต่อ ในโพสต์นี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องของอันตรายจาก Perfectionist mindset และวิธีจัดการกับmindsetนี้
“If you look for perfection, you’ll never be content” Leo Tolstoy
"ถ้าคุณมองหาความเพอร์เฟค คุณจะไม่มีวันพอใจ" Leo Tolstoy
เราอยากที่จะเพอร์เฟค
สมมติว่าเราได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน แทบทุกครั้งที่ปลายทางของจุดมุ่งหมายเรามักจะเป็นการที่เราต้องเก่งในระดับที่เรียกได้ว่าดีเลิศ
สมมติว่าเราอยากเรียนภาษาฝรั่งเศส เราก็มักจะจินตนาการว่าได้เดินอยู่บนถนนในปารีส พูดคุยกับคนฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว หรือสั่งครัวซองพร้อมกับกาแฟในร้านคาเฟ่ด้วยสำเนียงที่ไร้ที่ติ
หรือสมมติว่าถ้าเราอยากคิดเลขได้ดีขึ้น เราก็มักจินตนาการว่าเราเป็นเหมือนกับมนุษย์เครื่องคิดเลข สามารถคิดค่าอาหารของแต่ละคนได้อย่างฉับไวและสามารถคำนวณเลขที่แสนซับซ้อนได้ในเวลาไม่กี่วินาที
ปัญหาก็คือว่ามันไม่บ่อยที่ความคาดหวังที่จะดีเลิศจะมีประโยชน์ แถมบ่อยครั้งที่มันมักจะคอยหยุดเราให้ไม่กล้าที่จะเรียนรู้หรือกล้าที่จะทำอะไรต่อ
เหตุผลก็คือว่าแม้ว่าเราอยากที่จะเรียนสักภาษาหรืออะไรก็ตามแต่ก็ไม่ได้ทำเพราะเมื่อเราเริ่มเรียน เราจะรู้ว่าเราไม่ได้เก่งมากและทำให้ความคิดที่ว่า ‘เราจะเพอร์เฟค’ นั้นแตกสลาย
คุณ Jane McGonigall and Brené Brown นักคิดชื่อดังทั้งสองคนเคยได้พูดถึงภัยจากperfectionism ทั้งสองได้กล่าวว่าการเป็นperfectionism สามารถทำให้เกิดการชะงัก หยุดทำสิ่งที่เราทำอยู่และในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดอาจจะก่อให้เกิดความหดหู่ได้
จริงๆแล้วperfectionism เป็นวิธีที่ดีในการบาลานซ์ความอยากเก่งและความกลัวความล้มเหลว การหยุดทำทำให้เราจินตนาการว่าเราเก่งในสิ่งที่เราเรียน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ปกป้องเราจากความอับอายเพราะจริงๆแล้วเราไม่ได้ทำ
ความเกียจคร้านนั้นยังสามารถช่วยทำให้ความสามารถอันโดดเด่นของคุณนั้นเป็นจริงได้ เนื่องจากการอยากจะที่จะ ‘เพอร์เฟค’ นั้นก็แสดงว่าคุณมีมาตราฐานที่สูง
คนที่เป็นเพอร์เฟคชั่นนิสต์มีได้หลายรูปแบบ - คนที่มีความกระตือรือร้นสูงและมีความทะเยอทะยานสูงมักจะติดอยู่ในความเพ้อฝัน และพวกที่จำกัดความคิดของตัวเอง คนกลุ่มนี้มักจะกังวลข้อผิดพลาดมากเกินไปและมักจะสงสัยในการกระทำของตัวเอง
แม้ว่าตัวผู้เขียนเองมักจะประสบปัญหาในแบบแรกซะมากกว่าแต่เมื่อก่อนบ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะหยุดทำบางอย่างเพราะว่ากลัวที่จะทำพลาดแล้วทำให้ตัวเองดูโง่
วันที่ยากลำบากมากที่สุดในชีวิตของผู้เขียนคือวันที่ต้องไปรับผลสอบไฟนอลที่ออกซฟอร์ด และเราพลาดอันดับหนึ่ง (คะแนนสูงสุดที่มีเพียง15%ของนักศึกษาที่จะได้) ด้วยไม่กี่คะแนนเท่านั้น
มันเกิดขึ้นจากการคาดหวังที่จะได้เกรดสูงๆ และการที่เห็นค่าของสิ่งที่ได้ทำไปแม้ว่าผลออกมาจะไม่ได้ดีที่สุดก็ตาม
มายด์เซตที่หลายๆโรงเรียนและมหาลัยสอนคือการที่ต้องได้เกรดดีๆ อะไรก็ตามที่ต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นความล้มเหลวและไม่ควรค่าที่จะรับรู้
โรงเรียนมักจะสอนว่าความมสัมพันธ์ระหว่างความพยายามและผลลัพธ์เป็นเส้นตรง กล่าวก็คือสมมติว่าเราตั้งใจเรียนอย่างหนักเพื่อจะได้เกรด4 เราก็จะได้เกรด4 เนื่องจากว่าข้อสอบส่วนใหญ่เป็นระบบปิด มักจะพึ่งพาความจำเป็นหลักเพราะฉะนั้นหลักการนี้ค่อนข้างใช้ได้เลยทีเดียว
ปัญหาคือแนวคิดแบบนี้ไม่อาจจะใช้กับโลกภายนอกได้
ถ้าจะเปรียบเทียบโลกของความเป็นจริงกับเกรด มันก็เป็นไปได้ว่าถึงแม้จะพยายามอย่างหนักที่จะได้เกรด4แต่สุดท้ายก็เกรด1 พูดง่ายๆเพราะว่ามันเป็นระบบเปิด มีปัจจัยอยู่นับไม่ถ้วนที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์
ถ้าคุณเริ่มเปิดธุรกิจและแม้ว่าจะทุ่มเทกับธุรกิจของคุณมากๆ มันก็เป็นไปได้ที่มันอาจจะล้มเหลว โดยเฉพาะถ้ามันเป็นครั้งแรก ไม่ใช่เพราะว่าเจ้าของธุรกิจเป็นคนขี้เกียจหรือไร้ความสามารถ เพียงแต่พวกเขาแค่ขาดประสบการณ์และต้องสร้างข้อผิดพลาดเพื่อที่จะเป็นประสบการณ์ในการต่อยอดธุรกิจ
ถ้าเกิดธุรกิจครั้งแรกของคุณล้มเหลวและคุณมีแต่แนวคิดที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น” มันจะเกิดอะไรขึ้น?
จู่ๆความคิดของคุณที่มีต่อโลกความเป็นจริงมันก็เป็นเพียงแค่มายาคติ มันยากมากที่จะต้องมายอมรับ ถ้าคุณคาดหวังกับความสำเร็จที่ไม่สมจริงและผลลัพธ์ไม่ตรงกับสิ่งที่คาดหวังไว้ คุณก็จะผิดหวังและอาจจะยอมแพ้ อาจจะถึงขั้นเสียความมั่นใจในตัวเองไปและละทิ้งความฝันนั้นไปเลย
เราต้องรู้ถึงมายด์เซตที่เราได้รับมาจากที่โรงเรียนและวิธีป้องกันไม่ให้มันมาขัดขวางการเรียนรู้
อย่างแรกเลย เมื่อเราตั้งความคาดหวัง เราต้องมั่นใจในความสามารถของตัวเองที่จะพัฒนาและสำเร็จได้ในระยะยาว พยายามหลีกเลี่ยงการกดดันตัวเองมากจนเกินไประหว่างทำ
คุณ Stephen Guise ได้พูดถึงวิธีการเป็นImperfectionist ว่าเราควรมีความคาดหวังในเรื่องทั่วไปให้สูงๆ แต่ควรจะมีความคาดหวังต่ำๆในเรื่องที่เฉพาะทางมากๆ
สมมติว่าคุณอยากจะเขียนหนังสือสักเล่มหนึ่ง ความคาดหวังทั่วไปก็จะเป็นการที่ได้ผลิตหนังสือที่ยอดเยี่ยมด้วยความพยายามอย่างเต็มเปี่ยม แต่ก็ต้องประกอบไปด้วยความเข้าใจที่ว่าในอนาคตมันจะยากกว่าเดิมจนทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าไม่พัฒนาขึ้นเลย
อย่างที่สองคือเราจำเป็นต้องคุยกับตัวเองหลังจากที่ทำอะไรพลาดไป ถ้าเรามีความคิดแบบเพอร์เฟคชั่นนิสส์ มันมักจะทำให้เราทิ้งเป้าหมายของเราไป
มันไม่สำคัญว่าเราทำผิด สิ่งที่สำคัญคือเรายอมให้ผิดพลาดนั้นกลายเป็นอะไรและมีความหมายกับตัวเรายังไง มันทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้เพอร์เฟคและไม่ต้องพยายามที่จะเป็น
ในการที่จะทำให้เราเรียนรู้ไปได้เร็วขึ้น เราควรที่จะใช้แนวคิดของนักทดลองที่เห็นความล้มเหลวเป็นเป้าหมายและเรียนรู้จากมัน ความก้าวหน้าส่วนใหญ่เป็นผลมาจากแนวคิดนี้
แทนที่เราจะมองโลกความเป็นจริงแบบที่มันเป็น เช่น เราทำพลาดและหลงผิดไป ก็ให้คิดใหม่ว่า เราไม่ต้องคิดมากหรอก เพราะเราไม่ได้สมบูรณ์แบบ และทุกคนก็เป็นแบบนั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in