ADVERTISEMENT
แปลมาจาก : Be true to yourself, even in the face of opposition
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/be-true-yourself-even-face-opposition
การแสดงความคิดเห็นของเราออกมาแม้ว่าจะมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ตามอาจะถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี งานวิจัยใหม่ได้แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร
การยืนหยัดเพื่อความเชื่อของเราเมื่อต้องเจอกับความเชื่อของคนอื่นที่ขัดแย้งฟังดูเป็นเรื่องที่อย่างน้อยๆมันก็คงทำให้คุณรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ แต่งานวิจัยใหม่ได้บอกว่าการสนับสนุนสิ่งที่เราเชื่ออาจคุ้มค่า
Mark Seery ได้กล่าวไว้ว่า “มันล้วนขึ้นอยู่กับเป้าหมาย” เขาเป็นนักจิตวิทยาที่ได้ศึกษาว่าผู้คนจัดการกับความเครียดอย่างไร เขาได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยที่Buffaloในนิวยอร์ก
ร่างกายของมนุษย์โดยพื้นฐานมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความขัดแย้งอยู่2แบบ สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าร่างกายจะใช้ปฏิกิริยาแบบไหนคือผู้คนมองความขัดแย้งนั้นอย่างไร มองเป็นเรื่องที่แย่ — เห็นว่าเป็นปัญหา หรือ มองว่าเป็นการท้าทายตัวเอง
Seery คาดว่าปฏิกิริยาเหล่านี้ช่วยให้มนุษย์สามารถอยู่รอดได้ในอดีต ลองคิดดูว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคนใน3,000ปีก่อนต้องเผชิญหน้ากับสัตว์ ถ้าเป็นนักล่าสัตว์ที่มีการเตรียมพร้อมมาอย่างดีเช่น ไปหาข้อมูลมา เขาอาจจะรู้สึกตื่นเต้น— เตรียมพร้อมที่จะฆ่า แต่ถ้านักล่าคนนี้เห็นสัตว์ผู้ล่าเข้ามาใกล้ ความกลัวที่ทำให้เหงื่อไหลออกมาอาจทำให้เขาหนีไปเลยก็ได้
ในทั้งสองกรณีนักล่าและผู้ถูกล่าต้องใช้เลือดจำนวนมากเพื่อปั๊มเข้าสู่กล้ามเนื้อขา หัวใจของพวกเขาเต้นเร็วขึ้นด้วย ในบางกรณีมันอาจช่วยสร้างโอกาสให้คนสามารถล่าเหยื่อเพื่อนำอาหารค่ำกลับมาให้หมู่บ้านได้ หรือบางกรณีมันอาจช่วยให้เขาไม่กลายเป็นเหยื่อซะเอง
เมื่อสมองมองสถานการณ์ที่ตึงเครียดเป็นการท้าทายที่ดี หลอดเลือดแดงในร่างกายจะขยายทำให้มีเลือดจำนวนมากไหลเข้าสู่เนื้อเยื่อ แต่ถ้าสมองมองสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้เป็นภัยนั่นจะนำไปสู่การตอบสนองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หลอดเลือดแดงจะหดตัว ทำให้การไหลเวียนของกระแสเลือดลดลง การตอบสนองในลักษณะนี้อาจจจะช่วยให้ในอดีตมนุษย์สามารถรอดจากอันตรายได้ สมมติว่าถ้าเขาไม่คิดว่าตัวเองจะสามารถวิ่งได้เร็วกว่าตัวผู้ล่า มันอาจจะดีกว่าที่เขาจะอยู่เฉยในสถานการณ์แบบนี้ ด้วยวิธีนี้ผู้ล่าอาจะไม่เห็นเขา
“มันก็ฟังดูมีเหตุผลนะ” Seeryได้กล่าว “ถ้าเลือดไหลเวียนได้น้อยลง กล้ามเนื้อจะแข็งตัวได้ง่ายขึ้น เลือดที่มากขึ้นทำให้เราต้องเคลื่อนไหวและประหม่าและไม่สามารถอยู่นิ่งได้”
Seery และทีมของเขาต้องการที่จะศึกษาว่าร่างกายของเราจะตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ๆอย่างไร — การที่เราต้องยึดมั่นในความเชื่อของเราเมื่อต้องเจอกับความคิดที่ไม่เห็นด้วย นี่เป็นการท้าทายที่ดีหรือเป็นภัยกันแน่? พวกเขาต้องการรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราต้องถูกบังคับให้เห็นด้วยแม้ว่าแท้จริงแล้วเรามีความคิดที่ต่างอออกไป
ดังนั้นนักวิจัยจึงได้ทำการทดลองขึ้น พวกเขาวัดอัตราการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนของเลือดของคนที่ถูกบังคับให้พูดกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าร่างกายจะตอบสนองแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทัศนคติของตัวผู้พูดต่อความท้าทาย โดยผลของการทดลองดูเหมือนว่าจะยืนยันข้อสันนิษฐานของพวกเขา กลุ่มของSeery ได้แชร์การค้นพบของพวกเขาเมื่อสิงหาคม 2016 ที่Psychophysiology
นักวิจัยได้เริ่มการทดลองโดยการถามความเห็นนักศึกษาถึงเรื่อง “รัฐบาลควรให้ประกันสุขภาพแก่ทุกๆคนแม้ว่าจะต้องเพิ่มภาษีก็ตาม” มีแค่คนที่เห็นด้วยเท่านั้นที่จะทำการทดสอบนี้ต่อ
นักศึกษาถูกแบ่งออกเป็น2กลุ่ม ครึ่งหนึ่งของกลุ่มต้องพูดอะไรก็ได้เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้ากับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับคำพูดข้างต้น อีกครึ่งต้องพูดเพื่อแสดงให้เห็นถึงความคิดของตัวเองที่ไม่เข้ากับคนอื่น หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมา
ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนของเลือดนักวิจัยได้ติดเซ็นเซอร์กับนักศึกษา ทำให้ได้เห็นถึงหัวใจที่เต้นเร็วขึ้นของทั้งสองกลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ต้องทำให้ตัวเองเข้ากับคนที่ไม่เห็นด้วยหลอดเลือดของพวกเขาตีบขึ้น ร่างกายของพวกเขาตอบสนองราวกับได้เผชิญหน้ากับภัย
ในกลุ่มที่แสดงออกมาว่าตัวเองไม่เหมือนใครหลอดเลือดของพวกเขาขยายขึ้น นี่แสดงให้เห็นว่าการที่เขาต้องเจอเหตุการณ์นี้ถือได้ว่าเป็นการท้าทายที่ดี
Seery ได้สรุปไว้ว่าดังนั้นการยึดในความเชื่อของเราสามารถเป็นประสบการณ์ที่ดีได้ ในขณะเดียวกันการที่ต้องตามน้ำไปกับคนที่ไม่เห็นด้วยที่เป็นสิ่งที่ลบ
“สิ่งที่สำคัญที่สุดในงานวิจัยนี้คือการแสดงให้เห็นว่า คุณไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกไม่สบายใจใน [สถานการณ์แบบนี้]ถ้าคุณแสดงความคิดแสดงความคิดของคุณออกไป” Seeryได้หล่าวไว้
Kimberly Riosก็เห็นด้วยเช่นกัน เธอเป็นนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอในเอเธนส์ เธอได้ศึกษาว่าผู้คนจะตอบสนองตอบต่อแนวคิดต่อตัวเอง — พูดอีกนัยหนึ่งก็คือสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าเขาเป็น เธอได้กล่าวว่าข้อมูลใหม่ได้แสดงว่า “ถ้าคุณตั้งเป้าหมายที่จะเข้ากับคนอื่นในสถานการณ์แบบนี้ การที่มีคนไม่เห็นด้วยจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ” แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับคนอื่นในเรื่องที่สำคัญมันไม่จำเป็นจะต้องเป็นประสบการณ์ที่น่าคุกคาม เธอเสริม เธอได้ชี้ว่าทริคคือ “เผชิญหน้ากับสถานการณ์โดยมีเป้าหมายคือการเป็นตัวเองและแสดงคุณค่าของตัวเองออกมา”
artery เส้นเลือดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งในระบบไหลเวียนโลหิต ท่อไว้สำหรับขนส่งเลือดจากหัวใจไปทุกส่วนของร่างกาย
contract หดตัว การกระทำที่กระตุ้นกล้ามเนื้อโดยให้ฟิลาเมนท์ที่อยู่ข้างในเชื่อมเข้าหากัน ทำให้กล้ามเนื้อแข็งตัวขึ้น
heart rate อัตราการเต้นของหัวใจ จำนวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อนาที ซึ่งหัวใจ — เครื่องปั๊ม — หดตัวเพื่อนำเลือดไปยังทั่วทุกส่วนของร่างกาย
hypothesis สมมติฐาน คำอธิบายที่ถูกเสนอเกี่ยวกับปรากฏการณ์หนึ่ง ในทางวิทยาศาสตร์สมมติฐานเป็นไอเดียที่ต้องถูกพิสูจน์ก่อนที่จะมีการยอมรับหรือปฏิเสธว่าจริง
muscle กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเคลื่อนไหวโดยการหดตัวเซลล์ที่ชื่อว่าใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออุดมไปด้วยโปรตีน นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมสัตว์สายพันธุ์ผู้ล่าถึงเลือกหาเหยื่อที่มีเนื้อเยื่อส่วนนี้เยอะ
physical (adj.) ทางกายภาพ เป็นคำอธิบายสิ่งที่มีอยู่บนโลก ตรงข้ามกับที่มีอยู่ในความทรงจำหรือในจินตนาการ อาจจะอ้างถึงคุณสมบัติของวัสดุที่เนื่องมาจากขนาดและปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ทางเคมี (เช่น เมื่ออิฐก้อนหนึ่งชนเข้ากับอีกก้อนด้วยแรง)
physiology สรีระศาสตร์ สาขาในชีวะวิทยาที่เกี่ยวข้องกับศึกษาหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตและอวัยวะของพวกมันทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานทางด้านนี้เรียกกันว่า physiologist นักสรีรวิทยา
predator (adjective: predatory) ผู้ล่า สิ่งที่ล่าสัตว์อื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเพื่อเป็นอาหาร
psychology (adj. psychological ) จิตวิทยา การศึกษาจิตใจของมนุษย์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือความประพฤติ เพื่อที่จะศึกษาบางครั้งมีการทำงานวิจัยโดยใช้สัตว์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตที่ทำงานในสาขานี้รู้จักกันในนามนักจิตวิทยา
sensor เซนเซอร์ เครื่องมือสำหรับรับข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะทางกายภาพหรือทางเคมี — เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ระดับความเค็ม ความชื้น ค่าpH ความเค้มของแสงหรือรังสี — และเก็บหรือถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวะกรใช้เซนเซอร์เพื่อบอกสภาวะที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือที่ที่ไกลเกินกว่านักวิจัยจะสามารถวัดได้โดยตรง
stress (ในทางชีวะ) ตัวแปร เช่น อุณภูมิ ความชื้น หรือมลภาวะผิดปกติ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของสปีชีส์หรือระบบนิเวศ
(ในทางจิตวิทยา) ปฏิกิริยาทางจิต ทางกายภาพ ทางอารมณ์หรือทางพฤติกรรมต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือstressor สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด ที่รบกวนการความเป็นอยู่ของคนหรือสัตว์หรือสถานที่ซึ่งกระตุ้นความต้องการของพวกเขา ความเครียดในทางจิตวิทยาสามารถให้ผลทั้งทางบวกและทางลบ
tissue เนื้อเยื่อ วัสดุประเภทไหนก็ตามที่ประกอบไปด้วยเซลล์ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสัตว์ พืช หรือเห็ดรา เซลล์ในเนื้อเยื่อทำงานเป็นหน่วยเพื่อทำหน้าที่ที่ต่างกันไปในสิ่งมีชีวิต เช่น อวัยวะในร่างกายมนุษย์แต่ละประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน และเนื้อเยื่อสมองก็แตกต่างจากเนื้อเยื่อกระดูกหรือหัวใจมากๆ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in