เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Slowly consume, shit quick!8dashslash
กล้าที่จะถูกเกลียด
  •           ตั้งแต่จำความได้ไม่เคยใจง่ายกับหนังสือเล่มไหนเท่าหนังสือเล่มนี้   อ่านชื่อเรื่องปุ๊บ คว้า หยิบ จ่ายตังค์ ไม่มีการอ่านปกหลัง คำนำ สารบัญ อะไรทั้งนั้น ..เออ ทำไมตอนนั้นใจง่ายจังวะ ฮ่าฮ่า  
    จริง ๆ ก็มีเหตุผลอยู่ ใช่! ใจง่ายอย่างมีเหตุผลอะเข้าใจปะ! ก็เคยมั้ยล่ะ เคยเจอคนที่เพิ่งรู้จักกันแต่กลับเหมือนรู้จักกันมานาน รู้ว่าเราลึก ๆ คิดอะไร    เรากับหนังสือเล่มนี้เป็นแบบนั้นเลย    จริง ๆ ไม่ต้องเปรียบเปรยอะไรให้งง "กล้าที่จะถูกเกลียด" เป็นสิ่งที่เราคิดอยู่ลึก ๆ จริง เป็นประโยคที่ดังอยู่ในหัวเราตลอดเวลา *ย้ำ* ตลอดเวลาที่ตัวเองชอบไปรับปากทำอะไรโง่ ๆ ตามใจคนอื่นทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่อยาก
    (อินเนอร์มาเต็ม) 

              เฟิร์สท์อิมเพรสชั่น: คนเขียนเค้าจะเขียนเหมือนในสิ่งที่เราคิดป่าววะ ถ้าเหมือนก็ไม่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่สิ อยากจะรู้ว่าเนื้อหาอะไรที่นำไปสู่ชื่อเรื่องแบบนี้

    แล้วรู้มั้ย? หลังจากเปิดไปอ่านบทแรกเราพบกับอะไร? 

    "หลักจิตวิทยาของแอดเลอร์"

    เฮ่ย.. คือไรวะ.. 

              ถ้าคนที่อ่านปกหลังหรือด้านในนิดหน่อยก็จะรู้ว่าหนังสือเล่มนี้เขียนเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาของแอดเลอร์.. ซึ่ง.. กูไม่รู้ไงคะ! อ่านไปแรก ๆ ยังคิดเลยว่าเค้าแค่ยกหลักของแอดเลอร์มาเป็นหนึ่งข้อมูลอ้างอิงหรือเปล่า ไม่ใช่ทั้งเล่มแบบนี้    เราอ่านไปเรื่อย ๆ ด้วยความเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง เหตุผลที่เชื่อเพราะสิ่งที่เค้ายกมาพูดถึงตลอดทั้งเล่มดูมีเหตุมีผลมาก แต่ส่วนที่ไม่เชื่อคือยั้งเอาไว้เพราะคิดว่าไม่มีทางที่หลักจิตวิทยาไหนจะอธิบายความคิดของมนุษย์ได้ด้วยตัวเองเพียงหลักเดียว (ความเห็นส่วนตัว)

              ทฤษฎีของแอดเลอร์ต่างกับซิกมันด์ ฟรอยด์สุด ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วแอดเลอร์เคยเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์มาก่อน แต่ด้วยความที่ไม่เห็นด้วยในแนวคิดบางอย่างของฟรอยด์จึงมาตั้งทฤษฎีของตัวเองขึ้น
    ทฤษฎีของฟรอยด์ใช้อดีตมาอธิบายตัวตนของเราในปัจจุบัน แต่แอดเลอร์บอกว่าไม่ใช่แบบนั้น ตัวเราเป็นแบบนี้ในปัจจุบันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอะไรบางอย่างในใจตัวเองต่างหาก (โว้ะ ล้ำ)
    เราเห็นด้วยกับแอดเลอร์นะ แต่เราว่าทฤษฎีของเค้านี่ก็แอบโหดอยู่นิด ๆ สำหรับคนที่มีสภาพจิตใจที่ยังไม่พร้อมด้วยความกล้าอะ (เยิ่นเย้อว่ะ แต่จะพิมพ์แค่คนที่ไม่มีความกล้าสั้น ๆ มันก็ไม่ได้อารมณ์) 
    อย่างเช่นการที่จะบอกว่าคน ๆ นึงได้รับกระทบกระเทือนทางจิตใจ จนไม่กล้าออกจากห้องมาเผชิญสังคมภายนอก อันนี้เป็นการอธิบายด้วยหลักของฟรอยด์ แต่ถ้าเป็นหลักของแอดเลอร์จะบอกว่า เพราะคน ๆ นั้นไม่ต้องการที่จะออกจากห้องต่างหาก จึงเอาเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางจิตใจมาเป็นเหตุผลในการที่ไม่ออกไปเผชิญโลกภายนอก.. โว้ว.. หัวกูหมุนเลยค่ะพอเจอแบบนี้

              หากใครที่อยากพัฒนาตัวเอง เราว่ามาศึกษาทฤษฎีของแอดเลอร์นี่ก็เหมาะเลย เป็นอะไรที่เรารู้สึกว่าก้าวหน้ามาก ไม่จมปลักกับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ดี เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกอะไรใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง แม้แต่ "ความเป็นตัวเอง" ก็เลือกใหม่ได้เหมือนกัน แต่เราอ่านแล้วกลัวใจมาก เพราะรู้ตัวว่ายังมีความกล้าไม่พอ (กรรม)   "คนเราทุกคนเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่ตอนนี้คุณเปลี่ยนไม่ได้ เป็นเพราะคุณตัดสินใจว่ายังไม่เปลี่ยนต่างหาก" ..จริง โคตรจริง ฮ่าฮ่า ขนาดปากบอกว่าจะเปลี่ยนแต่ก็ยังเปลี่ยนไม่ได้เพราะจริง ๆ ใจตัดสินใจว่าจะไม่เปลี่ยนต่างหาก (ซับซ้อนมั้ย) คนเรากลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าออกจากคอมฟอร์ทโซน ถ้าเลือกได้ก็จะขออยู่กับอะไรที่เคยชิน เราล้วนเป็นอย่างนี้กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเปลี่ยนสังคมใหม่ ๆ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน เปลี่ยนโรงเรียน นับประสาอะไรกับการเปลี่ยนไปมีนิสัยใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย

              ไม่รู้จะเขียนอะไรให้มากความ เพราะมันต้องอ่านเองถึงจะได้อะไรกลับไปจริง ๆ ฮ่าฮ่า แต่ถึงอย่างนี้ตัวเรายังอ่านไม่จบเล่มเลย (ฟัค) อ่านเกินครึ่งไปหน่อยจนกระทั่งเจอคีย์เวิร์ดชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ "กล้าที่จะถูกเกลียด"; ทุก ๆ ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความสัมพันธ์; คนเราต้องรู้ขอบเขตธุระของตัวเอง ถ้ารู้ขอบเขตตัวเองก็จะกล้าที่จะให้คนอื่นเกลียดเพราะรู้ว่านั่นก็เป็นขอบเขตธุระของเขา เขามีสิทธิเกลียดแต่ก็ไม่ได้มีสิทธิมาเปลี่ยนแปลงอะไรที่อยู่ในขอบเขตธุระของเรา; จุ๊ ๆ จะไม่บอกมากกว่านี้หรอกนะ ไม่เอาไม่โกง อยากรู้ต้องมาอ่านเอง จะได้มาโดนเกลียดไปพร้อม ๆ กัน ฮ่าฮ่า   ..ไปค่ะ ไปสู่อิสรภาพที่แท้จริง! (ตามที่แอดเลอร์ว่าไว้)

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in