0. ด้วยความเป็นคนขี้ลืม จึงรู้สึกเสียดายมากถ้าการที่เราอุตส่าห์ตั้งใจอ่านหนังสือเล่มหนึ่งจบลงที่เราจำอะไรเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นไม่ได้เลยเมื่อเวลาผ่านไปสามเดือน เลยเกิดความคิดที่จะเขียนสิ่งที่ได้ (ซึ่งไม่ได้แปลว่าจะต้องมีสาระ..) จากการอ่านในแต่ละบทของหนังสือเล่มนั้น ๆ ไว้ เพื่อที่วันหนึ่งเกิดลืมขึ้นมาจริง ๆ (ไม่ต้องห่วง มันมีวันนั้นแน่นอน) จะได้กลับมาทวนความจำตัวเองได้ จากบันทึกเหล่านี้
1. หนังสือเล่มนี้ชื่อ Elon Musk เขียนโดย Ashlee Vance ก็ตรงตัวตามชื่อเลย หนังสือเล่มนี้ต้องเป็นหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของ Elon Musk อยู่แล้ว อะแล้ว Elon นี่เป็นใคร?
"How the billionaire CEO of SpaceX and Tesla is shaping our future"
ประโยคด้านบนเป็นประโยคที่หนังสือใช้ปะอยู่บนหน้าปก ถึงเราจะไม่เคยได้ยินชื่อ Elon Musk แต่อย่างน้อยเราก็น่าจะเคยผ่านหูชื่อ Tesla มาบ้าง (อันนี้ยึดตัวเองเป็นมาตรฐานเลย เพราะที่เคยเห็นผ่าน ๆ บน Timeline ในเฟสบุ๊คจะมีคลิปทดลองใช้รถยนต์ของ Tesla หรือล่าสุดก็คลิปที่คนขับ Tesla นอนหลับตอนใช้โหมด auto-pilot ขับแทน ลองไปหาดูได้ เป็นฟังก์ชั่นที่คนส่วนใหญ่ฮือฮา) บริษัท Tesla Motors ที่ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านหรือเอาตามความเข้าใจง่าย ๆ ก็คือเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน ไม่ใช่แค่ Hybrid แต่เป็น "ทั้งคัน" ฟังแล้วอาจจะรู้สึก.. อ่าว? แล้วไง? รถยนต์ไฟฟ้าจริง ๆ มันก็มีมาตั้งนานแล้วปะ? ใช่! แต่ไม่ใช่รถยนต์์ไฟฟ้าที่เป็นสปอร์ตคาร์นะจ๊ะ, Tesla Roadster เป็นรถสปอร์ตไฟฟ้าคันแรก เป็นรุ่นที่ทำให้บริษัทนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง (ลองไปเซิร์ชรูปดูได้) แต่บ. นี้ไม่ได้ทำแค่รถสปอร์ตเท่านั้น ยังมีรถเก๋งโมเดลอื่นจากบ. นี้อีกอย่าง Tesla Model S, Tesla Model X และ Tesla Model 3 พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์คนหลายระดับ อย่างใน Model 3 เป็นรุ่นที่ต้องการให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ราคาสมเหตุสมผล แต่สิ่งที่ทำให้บ. นี้เจ๋งและดัังขึ้นมาได้ มันไม่ใช่เพียงแค่นั้น (ไม่ใช่แค่โหมด auto-pilot ด้วยเฟ่ย)
2. "เชื้อเพลิง" เป้าหมายของรถไฟฟ้าคือการเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงแบบเก่ามาใช้พลังงานไฟฟ้าแทน แล้วสิ่งที่เราต้องคำนึงเพิ่มเติมเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าคือ? ความจุของแบตเตอร์รี่? การชาร์จ? ระยะเวลาในการชาร์จ? สถานที่ที่เอารถไปชาร์จได้? และอื่น ๆ (ที่ตูยังนึกไม่ออก =_=) ความเห็นส่วนตัวคิดว่าสิ่งนี้ต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ ส่วนหนึ่งที่รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่แพร่หลายเป็นเพราะปัญหาเรื่องสถานที่ชาร์จกับระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จนี่แหละ บ. นี้เขาลงมาทำเรื่องระบบจำหน่ายนี้ด้วย (worldwide fuel distribution network) เช่น Tesla Superchargers Station ที่ชาร์จให้ได้ไวเว่อร์เนื่องจากกำลังวัตต์เยอะ นอกเหนือจากนั้นคือแบตเตอร์รี่ของ Tesla มีความจุเยอะมากทำให้ชาร์จครั้งนึงวิ่งไปได้ค่อนข้างไกลเทียบกับความจุแบตเตอร์รี่ของ Nissan (แต่ทำไมถึงจุได้เยอะกว่า อันนี้ยังไม่ได้ค้นละเอียด) คิดว่าสิ่งที่เจ๋งของ Tesla คือการมองธุรกิจนี้เป็นแบบภาพรวมมากกว่า ไม่ได้มองเจาะไปแค่ว่าสร้าง ๆ รถขึ้นมาดีเยี่ยมไปหมดเดี๋ยวก็มีคนใช้ แต่มองถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรมี (Facilities) ที่จะมาช่วยให้คนที่ซื้อรถเขาไปสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ใช่มาลำบากลำบนกับการหาที่ชาร์จหรืออะไรแบบนี้
3. SolarCity.. อิอิ.. งงล่ะสิว่าพูดถึงขึ้นมาทำไม SolarCity เป็นบริษัทเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ Musk มีเอี่ยวด้วยและเกี่ยวโยงกับ Tesla ในแง่ที่ว่า ปั๊มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric car charging installation) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จะชาร์จให้รถของ Tesla Motors ฟรีบนถนน Highway 101 (ถนนใน U.S.)
4. มองแบบขำ ๆ ก็ว้าวจริง แต่ถ้ามองอย่างจริงจัง ถ้า Musk ทำสำเร็จถึงจุด ๆ หนึ่ง รูปแบบการคมนาคม รูปแบบการใช้รถและพลังงานของคนใน U.S. จะเปลี่ยนไปมากทีเดียว
5. Musk สร้างบริษัทขึ้นมาหลากหลายมากอย่างบริษัท Paypal ที่อันนี้ทุกคนต้องรู้จักชัวร์ ๆ ก็มี Musk เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง สาเหตุที่ทำให้เราต้องหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านก็คือนี่แหละ รู้สึกทำไมเค้ามีความคิดอะไรดี ๆ เยอะจัง ทำอย่างไรถึงจะเป็นได้แบบนั้นฟะ (ซึ่งอ่านแล้วจะทำให้รู้เรื่องนี้หรือเปล่าก็ตอบไม่ได้)
6. เอาจริง ๆ บทที่หนึ่งของหนังสือเล่มนี้เราได้มาแค่นี้แหละ.. ที่เหลือคือสลับหมั่นไส้ Musk กับคนเขียนซึ่งถูกต้องตามคนเขียนต้องการนั่นแหละ เขาเริ่มด้วยการเล่าถึง Musk ในแง่ลบนิด ๆ ก่อน ก่อนที่จะเป็นบวกเว่อร์ ๆ หลังจากได้รู้จักกับผลงานของเขาจริง ๆ แล้วก็กลับมานำเสนอในแง่ลบนิด ๆ ถึงบ. อื่นใน Silicon Valley ว่าไม่ค่อยมีบ. ที่มีนวัตกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไรเลยในช่วงหลัง แค่เอาสิ่งที่คิดค้นได้เก่า ๆ มาพัฒนาให้ดีีขึ้นเท่านั้นแหละ (ทำไมต้องแรง) เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของแต่ละบริษัทของ Musk ที่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีประโยชน์จริง ๆ
"Innovation is a finite resource."
- Jonathan Huebner, Physicist who works at the Pentagon's Naval Air Warefare Center in China Lake, California
นวัตกรรมเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ต้องพูดอะไรมาก ก็เห็น ๆ อยู่ว่า Statement นี้ถูกหักล้างไปแล้วด้วยแต่ละผลงานของ Musk นวัตกรรมไม่ใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดแน่นอน แต่คนมีความสามารถที่จะมองเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เนี่ยมีอยู่จำกัดจริง
7. คนเขียนเขียนใช้คำได้ฟุ่มเฟือยดี ฮ่าฮ่า ต้องลองอ่านดูแล้วจะเข้าใจ เคยนั่งอ่านประโยคนึง มีคำที่ไม่รู้จักประมาณสามคำ ลองเปิดดูความหมายของทั้งสามคำ ปรากฏว่าเป็นความหมายเหมือน ๆ กันเลย..
พี่จำเป็นต้องใช้คำขยายให้เห็นภาพขนาดนี้มั้ย? โอ้ย ถ้าคิดในแง่อ่านเอาศัพท์ใหม่ ๆ ไปด้วยก็คุ้มดีนะ gnaw งี้ shtick งี้..
8. "เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีหนังสือ Sci-Fi ดี ๆ" ...อันนี้ไม่รู้แฮะ "มีแต่แนวดิสโทเปียเข้ามาแทนที่" ...อันนี้เห็นด้วย รู้สึกว่าแนวดิสโทเปียมีเยอะจริง ดูจากที่เอามาสร้างเป็นหนังช่วงหลัง ๆ นี้ก็ได้ Divergent เอย Maze Runner เอย
"Science fiction, which once celebrated the future, has turned dystopian because people no longer have an optimistic view of technology's ability to change the world."
- Jonathan Huebner, Physicist who works at the Pentagon's Naval Air Warefare Center in China Lake, California
เราว่าอันนี้มีประเด็น
ปล. ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวผสมกับข้อเท็จจริงหลังการอ่านหนังสือและเซิร์ชหาข้อมูลเพิ่มเติมนิดหน่อย หากมีอะไรผิดเพี้ยนไปทักท้วงได้เลยไม่ต้องเกรงใจค่ะ
หมายเหตุ เพิ่งอ่านจบไปหนึ่งบทแต่ขอเขียนไว้ก่อน.. กลัวอ่านจบทั้งเล่มแล้วจะลืมบทแรก ๆ หมด
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in