เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Augmented reality โอกาสทางการตลาดของธุรกิจออนไลน์ช่วง covid-19bbpchyy
AR คืออะไร ? ต่างกับ vr มั้ย ?
  •         



           ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาและก้าวหน้าขึ้นไปทุกวัน ทุกคนคงจะเคยได้ยินชื่อของเจ้า VR หรือ Virtual reality เจ้าเทคโนโลยีจำลองภาพ 3D แบบ 360 องศา ผ่านอุปกรณ์เช่น แว่นตาหรือถุงมือสำหรับใช้งาน vr โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นโลกเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้น ดึงผู้ใช้หลุดเข้าไปอยู่ในโลกจำลองและยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆได้อีกด้วย เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มอรรถรสและสร้างประสบการณ์สมจริงให้กับผู้ใช้ โดยเจ้า vr นี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น การเล่นเกม ชมภาพยนตร์ การผ่าตัด วงการกีฬา การท่องเที่ยว การไขคดี เป็นต้น ดังคลิปวิดิโอด้านล่าง




    (ภาพจาก https://blog.cylindo.com/-advantages-augmented-reality-furniture-retail)


    (ภาพจาก https://docs.lib.purdue.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=2199&context=iatul)


            ส่วน AR หรือ Augmented reality  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต่างจาก VR เพราะไม่ได้มีการสร้างโลกจำลองขึ้นมาเพื่อแทนที่โลกแห่งความจริง แต่เป็นการทำให้ภาพ 3 มิติ เสียง ภาพเคลื่อนไหวปรากฎขึ้นผ่านอุปกรณ์ เช่น จอภาพ แว่นตา AR คอนแท็กเลนส์ อุปกรณ์สมาร์ทโฟน  

            เทคโนโลยีทั้ง ar และ vr เนี่ย จัดอยู่ใน mr หรือ mixed reality โดย ar อยู่ระหว่างตรงกลางระหว่าง vr และ telepresence เพราะ vr คือ การสร้างโลกเสมือน ส่วน telepresence คือการสร้างโลกความจริงด้วยภาพและเสียงจากระยะไกลแบบ real time และ ar คือการประสานโลกความจริงและโลกเสมือนเข้าด้วยกัน

    ar ทำงานยังไง ? 
                ar ทำงานโดย optical scanner หรือกล้องของโทรศัพท์มือถือนี่แหละ เพื่อที่จะระบุภาพของวัตถุจริงๆ หลังจากนั้น software จะทำการวิเคราะห์ผลของภาพ คำนวนหรือเลือกสิ่งจำลองที่สอดคล้องกัน ทำให้ภาพจริงที่ปรากฎขึ้นนั้นประสานกับสิ่งจำลองและแสดงผลบนอุปกรณ์ 
    โดยแอพมีการทำงาน 2 แบบ คือ

    1) Autonomic applications คือ ผู้ใช้จะไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับแอพได้ แต่แอพจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับวัตถุนั้นๆแทน

    2) Interactive applications คือ ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับแอพ โดยสามารถเลือกประเภทของข้อมูลที่ต้องการดู ปรับเปลี่ยนวัตถุจำลองที่สร้างขึ้นได้ 


          ar ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ทางการแพทย์ ในการผ่าตัดด้วย imagine guided surgery  ให้ข้อมูลภาพสแกนอวัยวะภายในที่จำเป็น ทำให้สามารถวางแผนการผ่าตัดได้ และยังใช้ประโยชน์ในการ ultrasound ภาพตัวอ่อนของเด็กในครรภ์อีกด้วย


            

            ในด้าน entertainment อย่างการรายงานสภาพอากาศโดยนักข่าว ที่มีภาพพื้นหลังเป็นแผนที่โลกหรือแอนิเมชั่นต่างๆ ในความเป็นจริงคือการถ่ายทำในสตูดิโอที่พื้นหลังนั้นเป็นเพียงพื้นหลังสีฟ้าหรือเขียว แต่ใช้ ar สร้างภาพโดยเทคนิคที่เรียกว่า chroma-keying 

    หรือจะเป็นการเล่นเกมโดยใช้ virtual table และสิ่งจำลองที่สร้างขึ้นมา


    หรือจะเป็นการแสดงโฆษณาระหว่างเกมฟุตบอลบนสนามแข่ง 

    มีการใช้ ar ให้ข้อมูลแก่นักบินในส่วนห้องนักบินในการฝึกทางทหาร (Military training) 

    ใช้ในการออกแบบทางด้านวิศวกรรม สร้าง physical prototype ขึ้นในรูปแบบ 3D ที่ทำให้สามารถเดินชมรอบๆจากมุมต่างๆได้ 



             ส่วนตัวอย่างการใช้งาน AR ที่แพร่หลายและใกล้ตัวเราที่สุดคงเป็นเกม Pokemon go ที่ให้ผู้เล่นไปจับโปเกมอนตามสถานที่ต่างๆ หรือ effect ในฟีเจอร์ story ของแอพพลิเคชั่น instagram ที่ตรวจจับใบหน้าของผู้ใช้และมีลูกเล่นสนุกๆมากมาย

    (ภาพเกม pokemon go 
    จาก https://www.pokemon.com/us/pokemon-video-games/pokemon-go/)


    effect ใน story instagram ที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้งานได้

    โดย AR ใช้เทคโนโลยีได้แก่ 

    • S.L.A.M หรือ simultaneous localization and mapping เพื่อระบุตำแหน่งและสร้างแผนที่

    • Depth tracking ใช้เซ็นเซอร์เพื่อคำนวนระยะทางไปยังวัตถุ 

    • Cameras and sensors เพื่อเก็บข้อมูลปฏิกิริยาของผู้ใช้และนำข้อมูลไปประมวลผล กล้องบนอุปกรณ์จะทำการสแกนสิ่งแวดล้อม ระบุตำแหน่งของวัตถุและสร้างภาพ 3 มิติ 

    • Processing การประมวลผลโดยใช้ CPU การ์ดความจำ RAM GPS Bluetooth wifi เพื่อวัดค่าความเร็ว มุม ทิศทาง 

    • Projection การฉายภาพโดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์และการประมวลผล 

    • Reflection การสะท้อนภาพ ในบางอุปกรณ์ AR จะมีกระจกซึ่งช่วยผู้ใช้ในการมองเห็นภาพเสมือนในระนาบที่เหมาะสม 



    คลิปวิดิโอตัวอย่าง แสดงการทำงานของ ar เมื่อผู้ใช้สแกน catalog 


    ในปัจจุบัน AR มี 4 ประเภทหลักๆดังนี้ 

    (ภาพจาก https://unsplash.com/photos/OuKBpYTWLu4) 

    1) Marker-Based AR หรือ Recognition based AR ทำงานโดยใช้กล้องสแกนวัตถุหรือ QR code บนกระดาษ เพื่อแสดงผลข้อมูล ประเภทนี้มักถูกใช้เพื่อเป้าหมายทางการตลาด ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ดูรูปภาพจากมุมอื่นๆ และดูภาพ 3 มิติได้เช่นกัน 


    (ภาพจาก https://unsplash.com/photos/N6e9cnOMXEk)

    2) Markerless AR หรือ Location-based AR ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการสร้างแอพพลิเคชั่นอย่างยิ่ง เพราะฟีเจอร์ต่างๆสามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น ระบบตรวจจับตำแหน่ง ระบุตำแหน่งของสี่แยกบนถนน แสดงภาพแผนที่ของพื้นที่นั้นๆ ผู้ใช้สามารถค้นพบสถานที่น่าสนใจรอบๆบริเวณนั้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านกล้องสมาร์ทโฟน

    Icons made by Freepik from www.flaticon.com


    3) Projection AR เป็นการฉายแสงไปบนพื้นผิวทำให้เกิดภาพ ในบางกรณียังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ AR ได้ด้วยการสัมผัส 

    4) Superimposition based AR เป็นการนำวัตถุเสมือนมาแทนที่วัตถุจริง เช่น แอพพลิเคชั่นของ IKEA ที่ผู้ใช้สามารถเลือกเฟอร์นิเจอร์ใน catalog มาจำลองไว้ในบ้านได้ 


    คลิปวิดิโอตัวอย่างแสดงการใช้งาน ar บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน 


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in