เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Augmented reality โอกาสทางการตลาดของธุรกิจออนไลน์ช่วง covid-19bbpchyy
AR กับการทำ Online Marketing



  • จากบทความก่อนที่ได้กล่าวถึงปัญหาของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ลูกค้าไม่ได้ทดลองหรือเห็นสินค้า และยิ่งในช่วงสถานการณ์ covid-19 ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักสั่งสินค้าออนไลน์มากกว่าการออกไปซื้อที่ร้านเอง จึงอยากจะแนะนำให้รู้จักกับเทคโนโลยี AR หรือ Augmented reality ที่ถูกนำมาปรับใช้ในองค์กรธุรกิจในหลายๆประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านการรับข้อมูลแบบใหม่ให้กับลูกค้าแบบที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่ร้านค้าจริงให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส จากผลสำรวจของ Interactions Consumer Experience Marketing พบว่าสินค้าที่มีการนำ Ar เข้ามาใช้ในธุรกิจมากที่สุดคือ สินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ 60% เสื้อผ้า 55% และสินค้าอุปโภคบริโภค 39%


    ตัวอย่างธุรกิจชื่อดังที่ใช้ AR ในการทำ Marketing


      

         “IKEA’s Place app” เป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นของธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังที่จะทำให้การซื้อเฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้านเปลี่ยนไปเป็นการสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งรูปแบบใหม่จาก AR โดยลูกค้าสามารถนำเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA มาทดลองวางไว้ในบ้านเพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนการตัดสินใจซื้อได้เพียงแค่ใช้แอพนี้ถ่ายรูปพื้นที่ภายในห้อง แอพก็จะคำนวนพื้นที่รวมไปถึงแนะนำสินค้าที่เหมาะสำหรับพื้นที่นั้นๆให้อีกด้วย 



    นอกจาก IKEA แล้ว อีกเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง “Amazon” ก็มีการนำ AR มาปรับใช้เช่นเดียวกันในฟีเจอร์ที่เรียกว่า “Ar view” คล้ายคลึงกับการทำงานของ AR ใน IKEA’s Place app ที่ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าไปวางภายในบ้านหรือสถานที่ที่ต้องการได้เพียงใช้กล้องสมาร์ทโฟน โดยสินค้านั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่เฟอร์นิเจอร์แต่ยังรวมไปถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกม ของตกแต่งบ้านอีกด้วย 



    ในด้านผลิตภัณฑ์ความสวยความงามแบรนด์ธุรกิจร้านจำหน่ายเครื่องสำอางชื่อดังจากฝรั่งเศสอย่าง “Sephora” ก็มีการจัดทำแอพพลิเคชั่น “Sephora virtual artist”  โดยร่วมมือกับ Modiface นำ AR มาใช้ในแอพดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยี facial recognition สแกนตรวจจับใบหน้า ตำแหน่งของดวงตา จมูก ปาก ทำให้ลูกค้าสามารถทดลองสินค้าเครื่องสำอางเฉดสีและลุคต่างๆในรูปแบบดิจิทัลได้ หากลูกค้าพึงพอใจกับผลลัพธ์ก็สามารถกดสั่งซื้อสินค้านั้นได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วภายในแอพโดยไม่ต้องเดินทางไปลองสินค้าที่สาขา นอกจากนั้นยังยังมี make up tutorialsที่ระบบจะแสดงตัวอย่างวิธีการแต่งหน้าให้กับใบหน้าของลูกค้าอีกด้วย


           อีกหนึ่งแบรนด์สินค้ากีฬาอย่าง “Nike” ก็มีการพัฒนาฟีเจอร์ Ar ในแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ “Nikefit”  โดยลูกค้าสามารถใช้แอพเพื่อประเมินขนาดรองเท้าที่เหมาะสมผ่านกล้องสมาร์ทโฟนได้ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีและเมื่อลูกค้าได้วัดขนาดเท้าไปแล้วหนึ่งครั้ง ขนาดนั้นจะถูกบันทึกไว้ในแอพฟีเจอร์นี้ของ Nike สามารถช่วยลูกค้าถึง 60% ที่ใส่รองเท้าผิดขนาดได้ซื้อรองเท้าที่ขนาดพอดีกับตน 




    แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้า fast fashion อย่าง GAP ก็ได้พัฒนา ar shopping app สำหรับลองเสื้อผ้าขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าเช่นกันแนวความคิดนี้มาจากการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าแล้วจึงนำไปพัฒนาต่อยอด โดยลูกค้าสามารถทดลองเสื้อผ้าที่คล้ายคลึงกับการลองสินค้าจริงที่ร้านได้ผ่านทางแอพ เพียงเลือกแบบของเสื้อผ้าของ GAP ที่ชื่นชอบซึ่งลูกค้าสามารถขยายขนาดเพื่อดูเนื้อผ้าหรือรายละเอียดใกล้ๆได้ จากนั้นระบุน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อที่แอพจะสร้าง digital avatar ที่ช่วยทดลองสินค้าขึ้นมา 5 แบบ และแสดงผลผ่านทางหน้าจอโดยลูกค้าสามารถให้โมเดลที่ถูกสร้างขึ้นเดินไปรอบๆเพื่อดูว่าสินค้านั้นๆเป็นอย่างไรหากพึงพอใจก็สามารถสั่งซื้อและนั่งรอสินค้ามาส่งที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย

          ดังตัวอย่างของธุรกิจที่ได้กล่าวมานี่คงจะเป็นโอกาสของธุรกิจค้าปลีกเลยทีเดียวในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคกระตุ้นการซื้อผ่าน online shopping เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ covid-19 ที่ผู้บริโภคกักตัวงดหรือลดการออกจากบ้านเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส การนำ AR มาใช้ในการทำการตลาดออนไลน์ถือเป็นการเพิ่มคุณค่า (value) ของสินค้าให้กับลูกค้าโดยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้คล้ายคลึงกับการได้ลองสินค้าด้วยตนเองที่ร้านค้าเพื่อคาดหวังว่าจะมีการกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง 

         โดยปกติธุรกิจค้าปลีกจะต้องพยายามแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดด้วยการพยายามทำให้ตนนั้นแตกต่าง อาจมาจากการสร้างประสบการณ์ร่วมของลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความประทับใจของลูกค้าต่อแบรนด์ ดังนั้น AR จึงเป็นอีกเทคโนโลยีทางเลือกของผู้ประกอบการที่ผสานข้อมูลดิจิทัลกับโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับประโยชน์หรือสรรพคุณของสินค้าและมุมมองที่แตกต่างของสินค้าได้ก่อนซื้อมากขึ้น 


    บทความที่ผ่านมา 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in