แต่ถ้าลองเทียบช่วงปีที่ Transformers ถูกสร้างขึ้น (1984) ก็น่าจะพอคาดเดาได้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลมาจากบริบทของ ‘สงครามเย็น’ (ซึ่งสิ้นสุดหลังจากนั้นราวๆ หนึ่งปี)
สงครามเย็นเป็นสงครามทางจิตวิทยาและข่าวสารระหว่างค่ายเสรีนิยมนำโดยสหรัฐอเมริกา กับค่ายสังคมนิยมอย่างสภาพโซเวียต ซึ่งหนึ่งในการโชว์พาวฯ ระหว่างสองโลกนี้คือการแสดงวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ที่สองค่ายแข่งขันกัน (ความหมายโดยนัยคือ ถ้าจะสู้รบกัน ความก้าวหน้าทางวิทยาการก็มีผลนะจ๊ะ)
หนึ่งในสุดยอดวิทยาการที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือวิทยาการที่เกี่ยวกับอวกาศนี่แหละครับ เช่น สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิกไปโคจรนอกโลก สหรัฐอเมริกาก็ตั้งองค์การนาซาและเหยียบดวงจันทร์โชว์บ้าง (ถ้าใครเล่นเกมวางแผนอย่าง Red Alert คงพอเห็นภาพว่าวิทยาการพวกนี้มีผลกับการรบขนาดไหน)
การจินตนาการถึงสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกเลยมีผลมาจากการสู้กันด้วยวิทยาการอวกาศนี้ส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งที่พอจะภาพคือ การแบ่งเส้นระหว่างแก๊ง/ผู้นำของฝ่ายร้ายและฝ่ายดี ผู้นำตัวร้ายอย่างเมกะตรอนดูจะถูกโยงเข้ากับระบบเผด็จการ ขณะที่ออปติมัส ไพรม์ก็ดูเป็นคนดีเสรีประชาธิปไตย ใช้ใจนำมวลชนอะไรเทือกๆ นั้น แถมยังดูมีจิตวิญญาณแบบอเมริกันชน คือร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระเอกชาวอเมริกันพร้อมกองทัพและวิทยาการทางการทหารอเมริกัน ร่วมกันต้านภัยร้ายนอกโลก ปกป้องมาตุภูมิกันสุดชีวิตราวกับว่าเป็นอเมริกันหุ่น (คู่กับอเมริกันชน)
เรื่องทำนองนี้ มันก็คล้ายๆ กับเรื่องโลกสลายหรือเอเลี่ยนบุกโลกแนวอื่นๆ นั่นแหละครับ กล่าวคือเป็นเรื่องที่สร้างภาพให้สหรัฐอเมริกาต่อสู้กับเหล่าร้ายในนามของโลก ในฐานะประเทศที่ถึงพร้อมด้วยวิทยาการ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว การมียุทโธปกรณ์เพียบพร้อมขนาดนี้ก็ไม่ต่างกับฝ่ายร้ายตรงที่มีขุมกำลังและแสนยานุภาพทางการทหาร แต่ด้วยการให้ภาพและจินตนาการศัตรูนอกโลกขึ้นมา พร้อมๆ กับการให้ภาพของการปกป้องมาตุภูมิ เลยทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นฝ่ายดี รับหน้าที่ผู้ปกป้องโลก เป็นฮีโร่อยู่เสมอ
ทั้งที่เอาเข้าจริง สหรัฐอเมริกาอาจทำตัวเป็นดีเซปติคอนส์ ใช้แสนยานุภาพเข้าถล่มและช่วงชิงพลังงาน จุดสงครามในมาตุภูมิของผู้อื่นอยู่ก็เป็นได้
หมายเหตุ:
สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิกไปโคจรนอกโลกเมื่อปี 1957 ส่วนสหรัฐอเมริกาตั้งองค์การนาซาเมื่อปี 1958 และส่งโครงการอพอลโลไปถึงดวงจันทร์ได้เมื่อปี 1969
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in