นั่นทำให้การนำตำนานอาเธอร์มาเล่าใหม่ มักมีองค์ประกอบคล้ายๆ กัน ตัวละครชุดเดิมแต่รายละเอียดไม่จำเป็นต้องเป๊ะตรงกันเสมอไป ตำนานอาเธอร์และอัศวินโต๊ะกลมมีการต่อเติม แต่งเพิ่ม คาดเดากันมาโดยตลอด (สรุปคือเขานิยมงอกแฟนฟิคของแฟนฟิคของแฟนฟิคกันมานานแล้ว...) แต่ถ้านับฉบับนิยายที่เป็นเสาหลักของตำนาน หนึ่งในนั้นคงไม่พ้น Le Morte D'Arthur ของโธมัส มาลอรี หรือฉบับโมเดิร์นซึ่งมีการสอดแทรกการเมืองยุคหลังสงครามโลก และเป็นหนังสือโปรดของแมกนีโต ก็ The Once and Future King
แต่ทุกเวอร์ชั่น อย่างน้อยต้องมีอาเธอร์กับดาบในศิลา ซึ่งมาพร้อมกับคอนเสปต์ The Born King (บางทีก็ The True King) เสมอๆ แม้แต่ฉบับหนังที่ไคลฟ์ โอเวนเป็นอาเธอร์ (ที่มีทีมอัศวินเป็นชาติปางก่อนของฮันนิบาลกับวิล แกรห์ม... นั่นแหละนะ) อันนั้นเป็นฉบับที่เขาว่าพยายามทำให้สมจริงและมโนให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังเล่าถึงดาบเอ็กซ์คาลิเบอร์สักหน่อยอยู่ดี
กลับมาธีม The Born King หรือ The True King หรือก็คือกษัตริย์ที่ "แท้จริง" ในจุดนี้มีสองความหมาย หนึ่งคือการเป็นผู้สืบเชื้อสายของแท้ อีกความหมายคือเป็นผู้ที่ควรได้ครองบัลลังก์และเป็นกษัตริย์จริงๆ
ถ้าขยายความต่อไปอีก ธีมนี้เป็นหนึ่งในธีมคลาสสิกที่พบเห็นได้ในวรรณคดีอังกฤษบ่อยอยู่ เพราะมันว่าด้วย legitimacy ของผู้ปกครอง ตั้งคำถามว่า "ความเป็นกษัตริย์" หมายถึงอะไร บางครั้งในเรื่องอื่นๆ ก็จะเน้นตีความที่ประเด็นของสิทธิ/อำนาจในการปกครองเหนือผู้อื่น (เช่น Richard II ของเชคสเปียร์ เชื่อว่าสิทธินั้นเป็น divine right เป็นต้น)
ถ้าหากรู้สึกคุ้นๆ กับสัญลักษณ์คู่นี้ ก็เพราะมันมาแนวเดียวกับ Lord of the Rings: The Return of the King นั่นเอง หอคอยแทนความชั่วร้ายของทรราช (เซารอน) ดาบแทนสัญลักษณ์ของกษัตริย์คืนบัลลังก์ผู้มีสิทธิที่แท้จริง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อดาบพบกับหอคอย เมื่ออาเธอร์เข้าใจที่มาและยอมรับตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง และดึงดาบออกจากร่างของพ่อ ซึ่งในทางหนึ่งคือสัญลักษณ์การส่งมอบจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อยอมรับสิทธินั้นไว้เต็มตัว อาเธอร์จึงเอาชนะปีศาจได้ในที่สุด หลังจากที่บอกว่าวอร์ติเกิร์นเป็นคนสร้างเขาขึ้นมา อีกทั้งวอร์ติเกิร์นยังทำให้อาเธอร์เข้าใจปีศาจ (you make sense of the devil) เพราะปีศาจที่น่ากลัวที่สุด ก็คือตัวที่อยู่ในใจเราเอง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in