เด็ก ๆ สมัยนี้ชื่อแปลกดีนะคะ แหะ ๆ
การตั้งชื่อของคนไทยเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายก็จะเป็นชื่อไทย ๆ 1-2 พยางค์ อ่านง่าย ความหมายตรงตัว (หรือไม่มีความหมาย) อย่างนายอ่ำ นายทองอิน นางแดง ต่าง ๆ ต่อมาก็กลายเป็นชื่อ 2 พยางค์ แต่ก็ยังมีความไทยอยู่ เช่น สมชาย สมบัติ ประเสริฐ วิไล สมร ก่อนจะอัพเกรดไปเป็นคำบาลี-สันสกฤต ไม่ว่าจะเป็นรัชพล ลลิตา กมลชนก จิรายุ หรือชื่อของคุณที่กำลังอ่านอยู่ก็อาจจะเป็นหนึ่งในนี้ก็ได้?
ตัดภาพมาที่เด็ก ๆ ในสมัยนี้ บางคนคุณพ่อคุณแม่ก็จัดมาให้ทั้งฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ กับตัวการันต์อีก 1-2 ตัว ผสมรวมกันออกมาเป็นชื่อจริงสุดอลังการ 3 พยางค์ขึ้นไป ทำเอาพี่ ๆ อย่างเราต้องตั้งสติก่อนอ่านเลยทีเดียว
แต่การตั้งชื่อแปลก ๆ แบบนี้ก็มีเหตุผลนะคะ หลัก ๆ เลยก็คือ อิงตามตำราโหราศาสตร์เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต ตัวอักษรที่เลือกใช้ต้องสอดคล้องกับตัวอักษรมงคลตามวันเกิด นอกจากนี้ยังมีหลักที่เรียกว่า "เลขศาสตร์" ที่ถอดตัวอักษรแต่ละตัวออกมาเป็นตัวเลข จากนั้นให้นำตัวเลขมาคำนวณหาผลลัพธ์เพื่อวิเคราะห์ตามหลักการ (ใครสนใจลองเสิร์จหาวิธี แล้วลองคำนวณชื่อตัวเองดูได้นะคะ555)
ส่วนเหตุผลอื่น ๆ อย่างเช่น เพื่อความเก๋ไก๋ ไม่ซ้ำใคร , นำตัวอักษรจากชื่อพ่อและแม่มารวมกัน , เลือกชื่อที่ความหมายดี ๆ เป็นต้นค่ะ
จะเห็นว่าวัฒนธรรมการตั้งชื่อของคนไทยลึกซึ้งไม่ใช่น้อยเลยนะคะ
พูดถึงเรื่องชื่อแปลก แล้วคนญี่ปุ่นล่ะ มีชื่อแปลก ๆ กันบ้างไหม?
คำตอบก็คือ มีค่ะ
ตามปกติแล้วคนญี่ปุ่นจะตั้งชื่อโดยคำนึงถึงเสียงอ่านและตัวคันจิที่ใช้ ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้จะครอบคลุมถึงความหมายของชื่อด้วย เช่น ตั้งชื่อลูกสาวว่า รินะ ต่อมาก็เลือกคันจิว่าจะใช้ ริ และ นะ ตัวไหนดี
梨楠 หรือ 利奈 หรือ 李奈 ถึง 3 ตัวนี้จะอ่านเหมือนกัน แต่ความหมายและอิมเมจก็จะเปลี่ยนไปตามตัวคันจิที่ใช้ค่ะ
ถ้าเปรียบเทียบกับชื่อไทยก็คงเหมือนกับ ตั้งชื่อว่า นัด-ชา แล้วเลือกว่าจะเขียนเป็น นัชชา ณัชชา หรือณัฐชา ค่ะ?
อย่างเพื่อนญี่ปุ่นของเราเขาชื่อว่า 美晴(みはる มิฮารุ)ถ้าดูจากตัวคันจิ 美 มิ หมายถึง สวยงาม จิตใจดี + 晴 ฮารุ หมายถึง (อากาศ)แจ่มใส แถมเสียงอ่านของ 晴 ก็พ้องกับ 春 ที่แปลว่าฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเพื่อนคนนี้เขาก็เกิดในฤดูใบไม้ผลิพอดี เป็นชื่อที่น่ารักมาก ๆ ??
แต่นั่นเป็นเรื่องของชื่อปกติทั่วไปค่ะ วันนี้ที่เราจะมาพูดถึงกันก็คือ ชื่อสุดวิ้งวับสะดุดหู หรือ キラキラネーム (คิระคิระเนม)
อย่างชื่อเพื่อนที่เรายกตัวอย่างไปด้านบน จะเห็นว่าเสียงอ่านของคันจิ 美 ก็อ่านว่า มิ ส่วน 晴 ก็อ่า
ว่า ฮารุ ตรงตามเสียงอ่านแบบปกติ แต่ถ้าเป็น キラキラネーム ไม่ใช่แบบนั้นค่ะ
キラキラネーム สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้ตามนี้
พูดง่าย ๆ คือ เลือกคันจิจากความหมาย แล้วอยากให้อ่านอะไรก็อ่านค่ะ55555
เรียกได้ว่าตัดสินใจชื่อก่อน แล้วค่อยหยิบคันจิตามเสียงอ่านมาประกอบร่างกันค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อที่ออกเสียงแล้วเหมือนภาษาต่างประเทศ เท่จัด
คันจิบางตัวมีเสียงอ่านมากกว่า 1 พยางค์ เราก็สามารถตัดออกให้เหลือ 1 หรือเฉพาะเสียงที่เราต้องการได้ค่ะ
ยังมี キラキラネーム ล้ำ ๆ ที่อ่านแล้วก็นับถือความสร้างสรรค์ของพ่อแม่ แต่บางชื่อก็อิหยังวะเหมือนกัน ลองมาดูกันค่ะ
จริง ๆ แล้วคำที่กำหนดเสียงอ่านให้คันจิเอง หรือคำที่ยืมความหมายของคันจิมาใช้พวกนี้มีชื่อเรียกด้วยนะคะ คำเหล่านี้เรียกว่า 当て字(あてじ อะเทจิ)นอกจากชื่อคนแล้ว ยังมีคำนามทั่วไปที่เป็น 当て字 ด้วย ส่วนใหญ่เป็นการกำหนดคันจิให้คำยืมต่างประเทศค่ะ เช่น
キラキラネーム ถือเป็นศิลปะการตั้งชื่อในยุคปัจจุบันที่พ่อแม่ต่างอยากให้ลูกมีชื่อสุดเริ่ดไม่ซ้ำใคร หรือมีความอินเตอร์ถ้าต้องไปอยู่ต่างประเทศ แต่ก็ยังมีประเด็นเรื่อง Bully เพราะว่าชื่อแปลกหรือตลกอยู่ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเลือกชื่อที่ลูกจะไม่เสียใจในอนาคตก็จะดีที่สุดนะคะ
プ李知
?
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก
ชื่อไทย:
http://www.thaibabyname.com/information_history.asp
https://arts.tu.ac.th/culture/010556.pdf
https://www.sarakadee.com/2018/11/07/monk-name/
https://www.thairath.co.th/news/society/1005792
https://teen.mthai.com/variety/152080.html
ชื่อญี่ปุ่น:
https://namehintbox.com/yomitokanji.php?yomi=りな
https://style.nikkei.com/article/DGXMZO12876070U7A210C1000000/
https://www.eternalcollegest.com/entry/kirakira
https://www.minden.jp/clover/kirakira_name/
https://www.motesetu.com/52064/
https://ja.wikipedia.org/wiki/当て字
http://www.marino.ne.jp/~rendaico/gengogakuin/gengokenkyu/kanjiniatejico.html
https://style.nikkei.com/article/DGXMZO11771280X10C17A1000000/
https://nandoku.gten.info
คือพออ่านแล้วแอบสงสัยว่าฝรั่งนี่เขาจะมีพวกนี้เหมือนกันไหมนะ 55555