เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
#แอบจดจากแอ๊บแจ๊บpleech x appjpling
4.外来語:ฉลาดแล้วฉลาดอีก! ฉลาดแบบTrilingual
  • มาถึงครึ่งทางกันแล้ว สำหรับวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ในเทอมนี้ ที่ผ่านมาตั้งแต่คาบแรก ๆ เราได้เรียนเกี่ยวกับการพูดให้ดูชาญฉลาด เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีแม้ในความเป็นจริงเราจะ… แหะ ๆ ไม่พูดดีกว่าเนอะ?


    ถ้าถามว่าต้องพูดแบบไหนถึงจะดูชาญฉลาด ในตอนแรกเรานึกภาพว่า จะต้องพูดคำศัพท์ยาก ๆ ให้ได้มากที่สุด แล้วเลิกพูดคำธรรมดา ๆ ที่เรียนมาตั้งแต่ตอนระดับต้น ๆ แต่อาจารย์ได้เสนอวิธีอื่น ๆ มาอีกเยอะมากและน่าสนใจมากเช่นกันค่ะ สรุปแล้วแบ่งได้เป็น 8 อย่างด้วยกัน ดังนี้


    • เนื้อหา   มีมูล (ไม่ลอย) + อ้างอิง + ตัวอย่าง + ข้อเสนอแนะ + ผลลัพธ์ + หลากหลายมุมมอง
    • ประโยค/สำนวน  เหมาะสม เป็นธรรมชาติแบบที่เจ้าของภาษานิยมใช้กัน
    • ถูกต้องเหมาะสม  เลือกใช้คำจีน (漢語), คำที่ใช้ร่วมกัน (Collocation) ให้ถูกตามบริบท
    • เพิ่มความสดใหม่ ลองใช้คำยืมต่างประเทศ
    • ปรับให้ซอฟท์       บางเรื่องก็ไม่ต้องพูดตรง ๆ ก็ได้
    • หัดอ้อมค้อมบ้าง  เพื่อรักษาความไพรเวท
    • เอาใจเขามาใส่ใจเรา  เพิ่มกันชนให้คำพูด (クッション言葉)
    • พูดในแง่บวก       เปลี่ยนจากการตำหนิเป็นคำแนะนำ


    จะเห็นว่า นอกจากการเลือกใช้คำศัพท์ยาก ๆ โปร ๆ ยังมีการปรับมุมมอง เปลี่ยนคำพูดให้ผู้ฟังรู้สึกดี ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อ support ความคิดเห็นของเรา หรือว่าจะใช้คำต่างประเทศเพื่อให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ไปจากเดิมก็ทำให้ภาพลักษณ์เราดูดีขึ้นได้เช่นกัน


    เพื่อเป็นการส่งท้ายซีรี่ส์แสนฉลาด ในตอนที่ 4 นี้เราจะมาพูดถึงเคล็ดลับกันอีกสักข้อเผื่อให้ทุกคนลองไปปรับใช้นะคะ


    ใช้แต่คำเดิม ๆ ขอยืมหน่อยจ้า 外来語

    คาตาคานะมันยาก เราเข้าใจค่ะ...


    เรียนมากี่ปี ๆ พอเจอทีไรก็ต้องสตั้น แล้วค่อย ๆ แกะคำอ่านทีละตัว อ่านรวมกันสัก 2-3 รอบ ขมวดคิ้วคิดว่าใกล้เคียงกับคำว่าอะไร แล้วค่อย อ๋อออออออออออ เราเข้าใจค่ะ เราเข้าใจความรู้สึกนั้น!


    เมื่อไหร่ที่เราจะใช้ 外来語 (Gairaigo) กันล่ะ?


    ใช่ค่ะ เมื่อเราคิดคำญี่ปุ่นไม่ออก5555 เย้ย ไม่ใช่แบบนั้นสิ! การใช้คำ 外来語 มีข้อดีตรงที่ จะให้อิมเมจสดใหม่ ทันสมัยกว่าการใช้คำญี่ปุ่นแท้ ๆ เลยมักจะเห็นตามโปสเตอร์ นิตยสาร เว็บไซต์ หรือโซเชียลต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงวัยรุ่นหรือดูอินเตอร์ใช้คำ 外来語 กันเยอะค่ะ


    ตัวอย่าง 外来語 ที่นำมาใช้แทนคำญี่ปุ่นเพื่อความชิค


    • 飲料     ドリンク      (เครื่องดื่ม)
    • 古風     レトロ       (ย้อนยุค/โบราณ)
    • 喫茶店    カフェ       (ร้านกาแฟ)
    • 昼食     ランチ       (อาหารกลางวัน)
    • 命名     ネーミング     (การตั้งชื่อ)
    • 選び出す   ピックアップする  (เลือกขึ้นมา)
    • 意外な出来事 ハプニング     (เรื่องไม่คาดคิด)
    • 癒し     ヒーリング     (พักผ่อนจิตใจ)


    ตัวอย่างข้างต้นนี้เรานำมาจากนิตยสารแฟชั่น mer, นิตยสารท่องเที่ยว OZ และหนังสือ Tokyo Cafe Guide 2020 ค่ะ เขามีการใช้คำ 外来語 เยอะมาก ๆ น่าจะเป็นเพราะกลุ่มผู้อ่านที่เป็นวัยรุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) ที่ชื่นชอบความทันสมัย ความเริ่ด ดู オシャレ (เก๋ไก๋มีสไตล์) จึงได้เลือกใช้คำที่ให้ความรู้สึกใหม่ ๆ มากกว่าคำญี่ปุ่นแท้ที่อาจจะดูเชย (ในความคิดของเขา)


    ถึงจะใช้คำ 外来語 หรือคำยืมต่างประเทศแทนได้ แต่บางคำก็มีความหมายหรือเซนส์ของคำต่างกันออกไป เช่น 


    ☕️喫茶店 (きっさてん)vs カフェ

    • 喫茶店 ร้านกาแฟ กลิ่นอายสไตล์เรโทร ภายในร้านมืดทึม ดูขรึม เน้นขายกาแฟ&ชาฝรั่ง
    • カフェ คาเฟ่ ตกแต่งสวยเก๋ เข้าไปนั่งกินอาหารชิค ๆ ดื่มกาแฟ กินขนม อาจจะมีอาหารหนัก ๆ ขายด้วยแต่ก็ยังเป็นอาหารที่มีสไตล์หรือออร์แกนิค

    ?昼食 (ちゅうしょく)vs ランチ

    • 昼食 อาหารกลางวัน 
    • ランチ อาหารกลางวัน คนญี่ปุ่นบางคนตั้งข้อสังเกตว่ามักจะใช้กับอาหารฝรั่งหรือเวลาไปกินข้าวชิค ๆ กับเพื่อน แต่เวลาไปกินอาหารญี่ปุ่น (和食)จะไม่เรียก ランチ


    เราสามารถเลือกใช้คำ 外来語 ได้ตามใจชอบ แต่หากใช้มากเกินไปจะทำให้คนฟังหรือคนอ่านงงได้ค่ะ (ลองนึกภาพว่าเราต้องมานั่งแกะคาตาคานะทีละตัว…เยอะ ๆ...) จึงควรจะใช้แต่พอดีนะคะ


    1 ในสถานที่สุดท้าทายความสามารถในการอ่านคาตาคานะ : คาเฟ่

    สำหรับคนที่กำลังคิดว่า ถ้าเราอยากเปลี่ยนคำที่มีอยู่ให้เป็นคำอื่นที่เหมาะกว่านี้ หรือชิคกว่านี้จะหาจากไหนดี ขอแนะนำเว็บไซต์รวมคำเหมือนเอาไว้เป็นตัวช่วยในการเลือกคำค่ะ


    ? https://thesaurus.weblio.jp ?

    (อย่าลืมดูก่อนว่าคำใหม่ที่เราจะเลือกใช้ สามารถใช้ในบริบทของเราได้เหมาะสมหรือไม่ด้วยนะคะ)

    พูดให้ฉลาดอาจจะดูไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าเรารู้ทริคก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปเช่นกันค่ะ หลังจากเรียนมาหลายคาบและได้ลองหาจุดร่วมของแต่ละวิธีการ เราคิดว่าสิ่งที่จะทำให้เราพูดได้ฉลาดขึ้นคือ การคิดให้ดีก่อนพูดค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคิดคำ คิดวิเคราะห์ คิดถึงความรู้สึกคนฟัง คิดถึงความเหมาะสม คิดเยอะ ๆ ๆ ๆ ให้รู้สึกว่าคำพูดของเราผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว ไม่ใช่แค่ภาษาญี่ปุ่น แต่รวมถึงภาษาไทยด้วยเหมือนกัน


    ดังนั้นนนนน ถ้าอยากจะพูดให้ดูฉลาดมากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่มีความรู้แน่นปึ้กอย่างเดียวเท่านั้น (แต่มีก็ดีแหละ5555) แต่ต้องรู้จักใช้คำพูด เลือกคำให้เหมาะสมตามสถานการณ์ รู้กาลเทศะและมีมารยาท คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟัง สิ่งเหล่านี้ก็สำคัญไม่แพ้กันนะ


    チャオ
    pleech.

    ?


    ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก:

    นิตยสาร mer

    นิตยสาร OZ

    หนังสือ Tokyo Cafe Guide 2020

    https://cafe-owners.jp/coffee_talk/knowhow/define.html

    https://www.murata-brg.co.jp/weblog/2014/08/post_3078.html

    https://www.drinkmenu.net/entry/drink



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Kanokwan Katagiri (@fb3408029972557)
มีสรุปวิธี 8 วิธีดีจังเลย มีตัวอย่าง 外来語 เพิ่มเติม และภาพที่สวยงาม(น่าทาน)ทุกครั้งเลย
nisitparttime (@nisitparttime)
ช่วงนี้เห็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเยอะจริง ๆ ด้วยนะคะ เราก็รู้สึกได้
グッドジョブ ค่ะคุณ pleech วีคนี้ก็เป็น ナイスなライティング อีกแล้ว