เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I AM WHAT I WATCHSCHLENDERN
“หมอนรถไฟ” สร้างชาติ และ พื้นที่กับผู้คนบนรถไฟ
  • หมอนรถไฟ เป็นชื่อ หนังสารคดีที่ทาง Documentary Club นำมาฉาย กำกับโดย สมพจน์ ชิตเกสรพงศ์ ยังสามารถหาชมได้ที่โรง SF Central World อยู่ในตอนนี้ แม้ชื่อของผู้กำกับอาจจะไม่คุ้นหูของคนดูหนังบ้านเรามากเท่าไหร่และนี่ก็เป็นเพียงหนังยาวเรื่องแรกของเขาแต่ก่อนหน้านี้สมพจน์เองได้ผ่านการทำงานเบื้องหลังในกองถ่ายของผู้กำกับสายรางวัลอย่างอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งคราวนี้เราจะไม่ได้มาแค่รีวิวหนังแต่จะชวนพูดถึงประเด็นที่อยู่ในหนังเรื่องนี้สักประเด็น 2 ประเด็น ที่เรามองเห็น


    เรื่องย่อและรีวิวสั้น

    หมอนรถไฟ เป็นสารคดี ที่พาเราไปสำรวจและบันทึกอารมณ์และชีวิตผู้คนบนรถไฟทั่วประเทศตั้งแต่ชั้น 3 – 1 โดยเริ่มไล่ไปทีละชั้น และค่อย ๆ แทรกฟุตเทจชีวิตและเรื่องราวของตัวรถไฟเองด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นในแง่ของตัวรถไฟเองที่มองในแง่วัตถุที่มีชีวิตและรถไฟในแง่ของ organization

    แม้ตัวหนังจะค่อนข้างเอื่อย ไม่มีผู้เล่าเรื่องหรือตัวละครหลัก ทำให้ภาพทุกโมเมนต์ในเรื่องเป็นเรื่องเล่าในตัวมันเอง บรรกาศและอารมณ์ที่ดิบชนิดให้เทียบเป็นอาหารก็ คือ ก้อยดิบ แต่ความเอื่อยและความดิบนี้มันก็กลายเป็นดีเมื่อมันสามารถพาเราไปสำรวจชีวิตผู้คน วิถีชีวิตและบรรยากาศทั้งในและนอกด้วยสปีดเดียวกับการใช้ชีวิตบนรถไฟ เราสามารถรับรู้เรื่องราวแบบมีเวลาให้พินิจพิเคราะห์ไปพร้อมกับหนัง ใครจะสนุกกับการย้อนระลึกเส้นทางรถไฟที่โผล่มาในหนังกับชีวิตตัวเองก็ยังทันหรือเราจะดื่ ไม่พอมันยงคงมีสเน่ห์ของมุกตลกแบบเรียล ๆ ก่อนจะขมวดไปเรื่องการบอกเล่าชีวิตของรถไฟและความสำคัญของรถไฟในตอนท้ายแบบเนียน ๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องชมการเลือกฟุตเทจและการตัดต่อมาก ๆ ที่ทำให้หนังทั้งแข็งแรงและไม่หลุดไปไหนไกลเสียงก่อนให้หนังมันได้วิ่งตามรางของมันไป

    หน้าตาของผู้กำกับสุดอดทนที่ใช้เวลา 8 ปี ในการเก็บฟุตเทจ

    ***SPOILER ALERT***


    "รถไฟ" เรื่องของพื้นที่และผู้คน

    อย่างที่ว่าไปว่าหนังเรื่องนี้ คือ การพาเราไปสำรวจและจับจ้องผู้คนในพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า “รถไฟ” แต่ความพิเศษของมันคือ เรามองว่ารถไฟมันสร้างทั้งนวัตกรรมการขนส่งมวลที่เรียกว่าปฏิวัติวงการและในขณะเดียวกันมันก็สร้างนวัตกรรมทางสังคมมากมายในตัวพื้นที่ของมันเอง ตั้งแต่มีการแบ่งส่วนออกเป็นชั้น ๆ ในขบวนเดียวกันให้เป็นพื้นที่เฉพาะย่อย ๆ ลงไป ทั้งเพื่อการใช้งานและแบ่งชนชั้นกลาย ๆ หรือการที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดนักเมื่อปฏิบัติจริง(อันนี้เราว่ากันเฉพาะภาพที่สื่อมาในหนังและก่อนจะมีความเข้มงวดขึ้นมาตอนกรณีน้องแก้ม) รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติตัวบนรถไฟที่ให้ภาพต่างจากพาหนะอื่น ๆ ที่ใช้ในการเดินทาง 

    นั่นทำให้ตัวรถไฟเองเป็นพื้นที่ที่มีการวางตัวที่เฉพาะมาก ๆ โดยเราลองมองย้อนกลับไปมองที่รถไฟชั้น 3 กันก่อนที่เห็นจากในหนังไม่ว่าจะเป็น ชีวิตจริงก็น่าจะเห็นกันพอสมควร ภาพของครูที่พานร.มาทัศนศึกษาภาพนักเรียนกำลังนั่งทำการบ้า ภาพการซื้อขายของ ภาพการนอนหลับภาพของการพูดคุยนั่งเล่นภาพการนั่งตรงไหนก็ได้(ไม่เหนือบ่ากว่าแรกก็นั่งตามที่ตั๋วระบุก็ดีนะฮะ)รวมถึงภาพของปาร์ตี้ในยามค่ำคืนอย่างสนุกสนาน แต่ภาพที่เราชอบสุด คือ ฉากขายหนังสือดูดวงที่โคตรฮาและสะท้อนวัฒนธรรมไทย ๆ อีกเรื่องลงไปด้วย ภาพเหล่านี้นอกจากจะสะท้อนวัฒนธรรมไทยแล้วเรายังสามารถเห็นมันเกิดอยู่ในพื้นที่ ๆ เดียวกัน คือ ตู้รถไฟซึ่งมันได้เกิดกันคนละตู้เสียด้วยซ้ำ หรือถ้าเป็นภาพของชั้น 2 ขึ้นมาเราก็จะได้ภาพอีกแบบหนึ่งที่ลดความวุ่นวายลง นั่งเป็นระเบียบมากขึ้นประจำตำแหน่งมากขึ้น หรือ ในตู้นอนที่เริ่มมีบริการอื่น ๆ เช่นอาหารเช้าการปูที่นอน หรือ ในตู้เสบียงเองที่ทำหน้าที่ร้านอาหารเคลื่อนที่

    ซึ่งเหล่านี้เองแม้ว่าตัวพื้นที่จะกำหนดว่าเราควรทำตัวอย่างไรเมื่ออยู่ในแต่ละตู้แต่ขณะเดียวกันด้วยความยาวนานของการเกิดขึ้นมาบนแต่ละตู้นั้นทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติการเชิงพื้นที่หรือ ง่าย ๆ ว่า เรารู้ตัวว่าเราสามารถทำตัวอย่างไรบนพื้นที่นั้นได้บ้างซึ่งมนจะรับรู้จากความหมายที่เรามองพื้นที่นั้นก่อนแล้วพวกเราแต่ละคนก็ช่วยกันก่อร่างสร้างพื้นที่ตรงนั้นขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากมันมากที่สุดและแน่นอนทุกคนที่ช่วยกันสร้างนั้นสามารถยอมรับได้ไปในตัวจนในที่สุดมันก็กลายเป็นวัฒนธรรมการนั่งรถไฟที่ฝังรากลงไปเลยว่า เห้พวกนายเราขึ้นรถไฟแหละ เราสามารถทำงี้ ๆๆๆ ได้นะโว้ยยยย โดยอัตโนมัติซึ่งแน่นอนแต่ละชั้นมันก่อถูกสร้างด้วยกันคนละแบบ คนละกลุ่ม แต่เมื่อกลุ่มไหนก้าวผ่านแต่ละชั้นไปเราก็รู้ตัวและคาดหวังการปฏิบัติและการใช้งานพื้นที่ต่างกันไปด้วย

    อีกเรื่องหนึ่ง คือ รถไฟได้กลายเป็นตัวเชื่อมพรมแดนวัฒนธรรมเข้าด้วยกันโดยที่เราสามารถเห็นภาพของแต่ละภาคทั่วทุกภาคในประเทศไทยผ่านหนังเรื่องนี้ โดยที่มีรถไฟคอยพามันเคลื่อนย้ายไปทั่ว และในชีวิตจริงด้วยกันรถไฟสามารถกลายเป็นพื้นที่และเปลี่ยนทางวัฒนธรรมชั้นดี เพราะนอกจากจะเป็นพื้นที่ที่มีการปฏิบัติเฉพาะแล้ว รถไฟยังเหมือนพื้นที่ที่มีการเกิดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ อย่างเข้มข้นและรุนแรงมากพอให้คนต่างถิ่น คนแปลกหน้าต่อกันสามารถเรียนรู้กันได้ และพรมแดนนั้นก็กลายเป็นเรื่องของจินตกรรมไปเสีย ซึ่งเราอ่านเรียกรถไฟว่าเป็นย่าน ย่านหนึ่งได้เลย



    หมอนรถไฟสร้างชาติ

    เราชอบตอนท้ายของสารคดีที่บอกกันโต้งๆ เลยว่าการสร้างรถไฟนั้นเป็นการทำให้บ้านเมืองศิวิไลซ์ (Civilization) ขึ้นและในขณะเดียวกันมันก็ คือการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) ด้วยเช่นกัน ซึ่งมันก็เป็นวิธีการที่กรุงเทพสร้างประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่เริ่มการสร้างรัฐชาติแบบใหม่ขึ้นมาสังเกตว่าเราใช้คำว่ากรุงเทพแทนที่จะเป็นประเทศไทยหรือสยาม เพราะช่วงนั้นสำนึกเรื่องความเป็นชาติไทยแบบทุกวันนี้ยังถูกสร้างไม่เรียบร้อยหรือกำลังสร้างกันอยู่พร้อม ๆ กับการทำให้ประเทศศิวิไลซ์

    ทำไมรถไฟถึงสร้างชาติได้ ณตอนนั้นกระแสของการล่าอาณานิคมกำลังเป็นเรื่องของการแข่งขันกันของมหาอำนาจในยุโรปที่ต้องการเข้ามาควบคุมดินแดนและทรัพยากร โดยข้ออ้างหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือเขามาช่วยให้ประเทศนั้นศิวิไลซ์ขึ้นตามแนวคิดแบบ ภาระคนขาว (white man burden) ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือพวกล้าหลังทั้งหลายให้มันเจริญ ๆ

    การสร้างระบบราง คือการนำโคตรนวัตกรรมในยุคนั้นที่ถูกนำเข้ามาในเมืองไทย เพราะ เป็นระบบคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถขนผู้คนพร้อมทั้งสินค้าได้พร้อมกันทีละมาก ๆ และได้สร้างการเดินทางจากที่หนึ่งไป อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ทำให้ "สยาม" คือ ประเทศแรกที่มีรถไฟใช้ ซึ่งนอกจากจะโชว์ถึงความศิวิไลซ์และความเป็นสมัยใหม่ไม่ล้าหลังแล้ว ในหนังได้ให้ข้อมูลว่าสยามเองได้จ้าง 2 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป คือ อังกฤษและเยอรมันในการทำทางรถไฟ การการะทำเช่นนี้ถือเป็นการเล่นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศเรื่องการถ่วงดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจที่ดีเลยทีเดียว

    ส่วนเรื่องการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางนั้นแม้ว่าการสร้างรถไฟนั้นคือ การสร้างจากเมืองหลวงออกจากชนบทแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนและกำลังพลจากเมืองหลวงออกไปข้างนอกได้มากขึ้นกระบวนการสร้างความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของพื้นที่ในเขตแดนไทยนั้นก็ทำได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกันให้ง่ายก็คือยิ่งสามารถขยายรารถไฟได้มากแค่ไหนก็ยิ่งสามารถขยายอำนาจการปกครองให้มั่นคงได้มากขึ้นเท่านั้นรวมถึงสามารถขยายความเจริญทางเศรษฐกิจไปตามรางด้วย เช่นกันรวมถึงการจ้างงานมากมายในกรุงเทพที่สร้างระบบรางในเมืองหลวงแทนการใช้รถม้าลากที่ถนนก็เป็นดินโคลนหนาโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน

    และแนวคิดแบบนี้ไม่ได้อยู่เพียงในสมัยนั้นเพียงแค่นั้นอีกยุคหนึ่งที่ไม่นานมานี้ช่วงที่รัฐไทยกำลังต่อสู้กับพคท.(พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย)ซึ่งหนึ่งในยุทธวิธีการต่อสู้กับยุทธการป่าล้อมเมืองของคอมมิวนิสต์ คือการสร้างถนนเข้าไปในชนบทด้วยหลักคิดเดียวกัน รวมถึงคำมั่นสัญญาจากนักการเมืองท้องถิ่นในการรับปากว่าเลือกฉันสิ ฉันสร้างถนนให้ได้เลยนะ ก็มาจากความคิดเช่นนี้เช่นเดียวกัน


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in