เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I AM WHAT I WATCHSCHLENDERN
Ray Kroc : The Ethic and The Spirit of Capitalist
  • หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2ที่โลกเข้าสูสงครามเย็นในแทบจะทันทีนั้นซางเราจะไม่ไปเล่าถึงว่าใครสู้กับใครอุดมการณ์อะไรชนกับอะไรแต่เราจะพูดถึง McDonald’s ว่าอะไรสร้าง Mc และ Mc สร้างอะไรไว้บ้างซึ่งยืนพื้นจากหนังเรื่อง The Founder ที่นำแสดงโดย Michael Keaton ในบท Ray Kroc นักธุรกิจขายเครื่องปั่นมิลเชคที่เข้ามาขอทำธุรกิจโดยทำสัญญาขยายแฟรนส์ไชน์กับพี่น้อง McDonald เจ้าของและผู้ก่อตั้งร้าน McDonald’s ตัวจริง ก่อนที่จะค่อย ๆ ขยับเกมส์ธุรกิจจนสามารถเทคโอเวอร์กิจการมาได้โดยไม่แคร์ว่าจะผิดศีลธรรมหรือหักหลังแม้กระทั่งเจ้าของเดิม


    ***SPOILER ALERT***

     

    Nothing in the world can take the place of persistence


    เราไม่ได้ตั้งชื่อหัวข้อขึ้นมาเล่น ๆ แต่เอาไปล้อกับหนังสือของนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันอย่าง Max Weber ที่เขียนหนังสือเรื่อง The Protestant Ethic and The Spirit of Capitalist เพื่ออธิบายว่าศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ทำให้ทุนนิยมในตะวันตกและอเมริกาประสบความสำเร็จได้อย่างไรโดยหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1905 หรือ ราว ๆ  50 ปี ก่อน Kroc จะเข้ามาทำ Mc จนประสบความสำเร็จ

    ก่อนจะเข้าเนื้อหาหนังสือในไม่กี่บรรทัดจะยกตำพูดของแผ่นเสียงที่ Kroc ฟังก่อนในท่อนที่ว่า “Nothing in the world can take the place of persistence” ที่เหมือนจะเป็นแรงบันดาลใจในการบ้าพลัง บ้าทำงานและทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จ

    แก่นของทฤษฎีของ Weber ก็คือว่าทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณของทุนนิยมมาจากศาสนา โดยทั่วไปนั้น ศาสนาคริสต์มีบทบาทส่วนหนึ่งในการทําให้เกิดทัศนคติแบบนี้แพลังขับเคลื่อนที่สําคัญมาจาก ผลกระทบของลัทธิโปรเตสแตนท์และโดยเฉพาะสาขาของโปรเตสแตนท์อย่างพวกนิกายพิวริแทนท์ (puritan) พวกรุ่นแรก ๆ ที่อพยพมาจากอังกฤษนั่นแหละ

    โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าพระเจ้าประทานพรและมอบหมายหน้าที่ให้แก่มนุษย์คือการประกอบอาชีพให้เชี่ยวชาญและถ้าใครประกอบอาชีพใดแล้วก็เป็นเพราะพระเจ้าได้กำหนดมาให้แล้วและคนเหล่านี้ก็จะได้กลับไปสวรรค์หลักจากตายไปแล้วซึ่งมันก็ได้กลายเป็นว่าพวกพิวริแทนได้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานไปเพื่อที่จะแสดงออกมาให้เป็นรูปธรรมมากที่ให้จำต้องได้นั้น คือ ทำให้ออกมาอยู่ในรูปของวัตถุ ในรูปของผลงานในอาชีพตัวเอง

    Weber บอกว่าสิ่งเหล่านี้ คือ The Spirit of Capitalism ซึ่งหมายถึงชุดของความเชื่อที่พวกคนเหล่านี้ยึดถืออยู่ คนเหล่านี้มีแรงขับเคลื่อนที่ทรงพลังในการสะสมความมั่งคั่งส่วนตัว อย่างไรก็ตามสิ่งที่คนเหล่านี้มีไม่เหมือนกับคนที่มีฐานะมั่งคั่งในที่อื่น ๆ ก็คือคนเหล่านี้ประหยัดและไม่พยายามทำตัวโจ่งแจ้งเกินไปว่าเป็นคนมีฐานะผ่านการใช้เม็ดเงินมาจัดการปรนเปรอตัวเองแต่พยายามใช้เม็ดเงินทั้งหมดเพื่อลงทุนต่อไปเพื่อให้กิจการตัวเองนั้นขยายใหญ่ออกไปเรื่อย ๆ 

    รวม ๆ แล้วไม่ได้ต่างกับชุดความเชื่อที่ Kroc ถืออยู่เลยแม้ในหนังเองจะใช้การสร้างแรงบัลดาลใจของ Kroc ผ่านแผ่นเสียง The Power of The Positive และแม้ Kroc เองก็ไม่จะทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่อพระเจ้าหรือศาสนาเลยแม้แต่น้อยอาจจะเพราะมันผ่านมากว่า 50 ปีแล้วหลังจาก Weber เขียนหนังสือ หรือ เพราะจริง ๆ แล้ว เรื่องของ Ethic และ Spirit โดยคนมักเข้าใจว่าคำว่า “Ethic” เป็นเรื่องศีลธรรมความดีแต่แท้จริงคำนี้มีความหมายเกี่ยวเนื่องไปปถึงแนวทางการดำเนินชีวิตด้วยส่วนคำว่า “Spirit” คำนี้ไม่ได้หมายถึงภูตผีปีศาจ แต่เราจะพูดถึง Mentality บางอย่างที่ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้


    ซึ่งนั้นก็อาจเป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่งในการสร้างเนื้อสร้างตัวที่เปลี่ยนแปลงและหลอมความเป็น Kroc ให้กลายเป็นคนแบบนี้และเราจะเห็นได้ในหลาย ๆ ฉากในหนังที่เต็มไปด้วยวิธีคิดเช่นนี้อยู่ไม่ว่าจากการที่ Kroc ไม่ชอบพวกเศรษฐีที่วันๆ ไม่ทำงานทำการอยู่แต่ในคลับหรือตีกอล์ฟไปวัน ๆหันไปรวบรวมพวกคนที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวและขยันขันแข็ง หรือการที่ Kroc อายุอานามก็ปาไป50 กว่าแล้วตอนที่เข้ามายุ่มย่ามกับ McDonald’s และดูจะไม่มีที่ท่าในการในการหยุดทำงานและสร้างอาณาจักรธุรกิจของตัวเองจนในที่สุดก็สามารถทำให้ McDonald’sประสบความสำเร็จและกลายเป็นต้นแบบการทำร้านอาหารแบบใหม่ในยุคนั้นแม้ตัวเองจะไม่ได้เป็นค้นคิดอะไรเลยก็ตามแต่ก็นั้นแหละ Kroc ไม่ใช่พ่อครัวหรือคนสร้างนวัตกรรมอะไรแต่ Kroc คือพ่อค้า Kroc คือนักธุรกิจ

    McDonaldization

    ถ้า Ray Kroc คือ ผู้ทำให้ McDonald’s ประสบความสำเร็จในฐานะบรรทัดฐานใหม่ของร้านอาหารแล้วบรรทัดฐานใหม่นั้นคือ อะไร แถมวงวิชาการยังอุตส่าห์คิดคำว่า McDonaldization กันมาให้เลย ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยกเครดิตให้เครดิตแก่สองพี่น้อง Dick และMac MacDonald ที่คิดอะไรแบบนี้ขึ้นมาได้ซางในหนังก็โชว์ให้เห็นเร็ว ๆ ด้วยว่าคิดกันมาอย่างไร

    รูปจริงของพนักงานรุ่นแรกของร้าน McDonald's brothers hamburger restaurant

    แต่การทำบริหารการจัดการคล้าย ๆ แบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นมาเพราะย้อนไปก่อนหน้านี้การทำงานแบบนี้ถูกคิดมาโดยFordเจ้าของรถยนต์ฟอร์ดนก่อนเสียด้วยซ้ำที่เรียกว่า “ระบบสายพาน” แต่ก็ไม่ได้ขนาดที่จะมีอิทธิพลสูงไปกับวงการอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในภาคธุรกิจโดยตรงอย่างที่ McDonaldization ทำไว้

    คำว่า "McDonaldization" เริ่มใช้โดย George Ritzer ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาชาวอเมริกันที่เขียนไว้ในหนังสือเรื่องธThe McDonaldization ofSociety (1993) ซึ่งหนังสือเล่มนี้อธิบายปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมโดยมีร้านฟ้าดฟู้ด McDonald'sเป็นตัวอย่างของการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ โดย Ritzer เองก็พัฒนาแนวคิดนี้มาจากแนวคิดเรื่องความเป็นเหตุผล(Rationality)และแนวคิดเรื่องการแบ่งงานกันทำ(Division of Labour)ของweber และเขียนออกมาใน4 มิติ ที่ McDonaldizationสร้างขึ้นมาคือ

    ตัวอย่างการแบ่งงานกันทำระบบการทำงานที่โคตรจะได้ผลภายในร้าน

    ประสิทธิภาพ (Efficiency) การเลือกวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดRitzer ยกตัวอย่างการไปทานแฮมเบอร์เกอร์ที่ร้านMcDonald's สำหรับลูกค้าต้องใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อให้ได้เบอร์เกอร์มากินนอกจากนั้น พนักงานของร้านจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยปฏิบัติตามกฎระเบียบที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้จัดการร้าน

    การคำนวณได้ (Calculability) คือทำคุณภาพให้กลายเป็นเรื่องของปริมาณหรือพูดให้ง่ายว่าการกำหนดเป้าหมาย(Goal) ให้สามารถคำนวณได้ชัดเจนเช่น ยอดขาย และที่สำคัญ คือทำให้ลูกค้าถูกหลอกล่อด้วยปริมาณแทนที่จะเป็นคุณภาพเมื่อต้องเสียเงิน เช่น พูดถึงความเร็วในการได้สินค้าความเยอะของสินค้า ให้พูดแทนว่าได้เบอร์เกอร์ใหญ่ขนาดไหนแทนที่จะเป็นเบอร์เกอร์อร่อยขนาดไหน

    การคาดการณ์ได้ (Predictability) คือการที่ลูกค้าสามารถคาดเดาได้ว่าไปสาขาไหนที่ไหนก็จะได้ของคุณภาพแบบเดียวกนการบริการแบบเดียวกัน

    การควบคุม (Control) ไม่ใช่แค่การควบคุมพนักงานในร้านแต่เป็นการควบคุมลูกค้าไปในตัวด้วยโดยอาศัยเทคโนโลยีและการลดทอนความเป้นมนุษย์เช่น พนักงานถูกแยกไปทำเพียหน้าที่ของตัวเองอย่างเดียว ยกของ วางมะเขือเทศทอดมันฝรั่งที่มีอุณภูมิตั้งไว้อยู่แล้ว คือ ทำให้กลายเป็นหุ่นยนทางฝั่งลูกค้าก็จะโดนบังคับอย่างไม่รู้ตัวในการออกแบบร้านที่ไม่มีที่นั่งหรือที่นั่งไม่สบาย อาหารที่มีทางเลือกน้อยแม้ปัจจุบันหลายอย่างจะเปลี่ยนไปแต่ในหนังเราจะเห็นได้ว่ามีให้เลือกเพียงเบอร์เกอร์แค่นั้นและที่นั่งก็เป็นผลมาจากวัฒนธรรมdrive thru และพฤติกรรมของลูกค้าที่สร้างความสกปรกให้ร้านค้า


    สุดท้ายแล้วก็จบกันไปด้วย Screenplay ในฉาก Kroc ฟังแผ่นเสียง

    Nothing in the world can take the place of persistence. 

    Talent will not; nothing is more common than unsuccessful men with talent. 

    Genius will not; unrewarded genius is almost a proverb.

    Education will not; the world is full of educated derelicts.

    Persistence and determination alone are omnipotent.

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in