เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
In My Dream, In My Thoughtdouble_sherbet
The Crown SS1: ชิ้นส่วนของประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืม (1)
  • The Crown Season 1 (10 Episodes, Netflix)



    สารภาพว่าพึ่งดูเรื่องนี้เพราะเห็นตัวอย่าง SS4 มีเจ้าหญิงไดอาน่า โอเค ช้าไปหน่อย แต่อย่างน้อยก็ดูนะ ตอนแรกเราไม่คิดจะดูเรื่องนี้เพราะหมั่นไส้ราชวงศ์นี้เล็กๆ และไม่คิดว่าจะออนแอร์ได้หลาย SS ด้วย แอบเซอร์ไพรส์มาก พอเห็นตัวอย่าง SS4 เท่านั้นแหละ อื้อหือ เรื่องฉาวรางวงศ์ที่ดังก้องโลก ขนาดเราที่เกิดไม่ทันงานแต่งยังรู้เลย

    หลังจากดูจบไปหนึ่งซีซั่นก็รู้เลยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงดังและได้รางวัล ทีมงานตั้งใจมาก ทุกรายละเอียด ทุดดีเทล นักแสดงก็เล่นดีมาก เราไม่รู้ว่าควีนตัวจริงเป็นยังไงจะใสซื่อเหมือนในซีรีส์รึปล่าว แต่ที่แน่ๆคือ สายตาของควีนในเรื่องมันดีมาก สื่อได้ถึงอารมณ์ที่อึดอัด คับใจ และอารมณ์หลายๆอย่าง แบบที่ไม่มีคำพูด เอาเป็นว่า ดีตามกระแสเลย และเพลงเพราะด้วย

    ที่มาเขียน content ในวันนี้เพราะรู้สึกว่าตัวเองโง่มาก ดูจบไปซีซั่นนึงแล้วแบบ เอ๋ โลกเราเคยเกิดเรื่องแบบนี้ด้วยเรอะ คือประวัติศาสตร์เป็นศูนย์อ่ะ ต่อจากนี้คือการรวบรวมเกร็ดประวัติศาสตร์โลกจากเรื่องนี้ในซีซั่นแรกที่เราสนใจเอาไว้ค่ะ

    The Great Smog of London

    Episode ที่4 พาเราไปเจอกับเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น “การกระทำของพระเจ้า (Act of God)” เหตุการณ์ดังกล่าวคือ หมอกควันหนาแน่นที่บดบังวิสัยทัศน์ จนกรุงลอนดอนแทบจะจมหายไปแต่เหตุการณ์ที่ว่าเป็นการกระทำของพระเจ้าจริงหรือหรือแท้จริงแล้วเป็นผลจากความสะเพร่าของมนุษย์เองกันแน่

    Smog คือ Smoke (ควัน) + Fog (หมอก) จัดเป็นสารคอลลอยด์ชนิดหนึ่ง ในกรณีปี 1952 นั้น Smog เกิดมาจากโรงงานเผาถ่านหิน ซึ่งเป็นสารประกอบควันจำพวกซัลเฟอไดออกไซด์ SO2หรือง่ายๆ PM2.5 ก็คือ sub set ของ Smog นั่นเอง Smog สามารถตกค้างอยู่ในปอดได้เป็นระยะเวลานานและทำให้ความสามารถในการหายใจลดลง รวมถึงบดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะ ในตอนท้ายของตอนที่4 มีข้อความขึ้นว่า เหตุการณ์ในคราวนั้นอาจจะมีผู้เสียชีวิตถึง 12,000 คนซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจ หลังจากนั้น 4 ปี รัฐบาลอังกฤษจึงออกกฎหมายจัดการมลพิษทางอากาศขึ้นเป็นฉบับแรก(Clean Air Act, 1956)


    ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น จึงได้มีการจัดประเภทให้กลุ่มควันในปี 1952ว่าเป็นประเภท Sulfurous Smog ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจำนวนมากและเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำก็อาจเกิดกรดซัลฟิวริกที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเหล็กได้ แต่นอกจากลอนดอนแล้ว อเมริกาก็เคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน ในปี 1943 ที่ LA ได้เกิดกลุ่มควันจำนวนมาก สาเหตุมาจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของรถยนต์จำนวนมากในเมืองหมอกควันชนิดนี้เรียกว่า Photochemical Smog 

    ในปัจจุบันเมื่อถึงหน้าหนาวในหลายๆพื้นที่ทั่วโลกยังคงประสบปัญหากลุ่มหมอกควันและ PM2.5 และในหลายๆประเทศก็ได้มีการออกมาตรการเพื่อป้องกันไปแล้วก็ได้แต่ต้องติดตามว่าประเทศไทยเราจะมีแนวทางอย่างไร






    อ้างอิง
    https://www.wired.com/2010/07/0726la-first-big-smog/
    https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/article/Ssenate/5_63-1.pdf
    https://ngthai.com/science/31886/smog/
    https://reo16.mnre.go.th/reo16/knowledge/detail/65
    https://www.britannica.com/event/Great-Smog-of-London
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in