เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
In My Dream, In My Thoughtdouble_sherbet
The Crown SS1: ชิ้นส่วนของประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืม (2)
  • The Crown Season 1 (10 Episodes, Netflix)


    Episode 7 : Scientia Potentia Est

    Epsiode ที่ 7 "Scientia Potentia Est" เป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Knowledge is Power (ความรอบรู้คือพลัง) ในตอนนี้มีเกร็ดประวัติศาสตร์โลกที่น่าสนใจคือ การทดสอบอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear weapon) หรือระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ของสหภาพโซเวียต ก่อนจะไปต่อ ขอเตือนว่าช่วงเวลาของเรื่องนี้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งระเบิดนิวเคลียร์ได้เกิดขึ้นแล้วและถูกใช้ไปแล้วที่ญี่ปุ่น ดังนั้นระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ จึงเป็นคนละชนิดกับระเบิดนิวเคลียร์นะ

    แล้วระเบิดไฮโดรเจนคืออะไร (ขอใช้คำว่าระเบิดไฮโดรเจนจะได้ไม่สับสน) ระเบิดไฮโดรเจนคือระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) ที่เป็นการหลอมรวมของธาตุเบาจำพวกไฮโดรเจน ให้กลายเป็นธาตุหนัก ซึ่งเป็นการคายพลังงานมหาศาล ที่เรารู้จักดีก็คือการเกิดดาวฤกษ์นั่นเอง ถึงตรงนี้คงจะพอเข้าใจแล้วว่ามันร้ายแรงขนาดไหน ที่นี้ กลับมาที่ซีรีส์ของเรากันต่อ


    ในเรื่องมีฉากเปิดตัวภาพการทดลองระเบิดของโซเวียตผ่านโทรทัศน์ แต่จริงๆแล้วโซเวียตไม่ใช่ประเทศแรกที่คิดค้นได้คนแรกที่คิดค้นระเบิดไฮโดรเจนคืออเมริกา เจ้าเก่าเจ้าเดิมนั่นเอง อเมริกาประกาศความสำเร็จในปี 1952 (ปฏิบัติการชื่อ Operation Ivy ส่วนระเบิดชื่อ Mike, Ivy-Mike) ตามมาติดๆด้วยโซเวียตในปี1953 (ระเบิดชื่อ RDS-6s) ดังนั้นทันทีที่นายกวินสตันรู้เรื่องจึงเกิดอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับด้วยกลัวว่าจะมีคนมาบอมบ์บ้านตัวเอง และที่สำคัญคือการพัฒนาเทคโนโลยีในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงความเจริญของประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างดี และแน่นอนว่าความเป็นมหาอำนาจของอังกฤษที่เริ่มลดลงเรื่อยๆ (ในช่วงนั้นอเมริกากำลังเรืองอำนาจส่วนอังกฤษบาดเจ็บจากภัยสงครามและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่)
     

    Churchill ต้องการประชุมกับ Ike (Dwight David "Ike" Eisenhower) จึงตัดสินใจจะบินไป แต่ป่วยซะก่อน เลยยกเลิกทริป แล้วที่นี้ยังไงล่ะ? หลังจากยกเลิกแล้วยังไงต่อดี? ทำไม Churchill ถึงมั่นใจว่าเมื่อไปถึงอเมริกาแล้วจะ Ike จะฟังเขากันนะ? 


    Eisenhower กับ Churchill รู้จักกันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ในฐานะพันธมิตร ตอนนั้น Ike ยังเป็นพลเอกของกองทัพ ส่วน Churchill เป็นนายกของเกาะอังกฤษ ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนน่าจะเรียกได้ว่าเป็นไปอย่างสมานฉันท์ ทำงานเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน เนื่องจากมีพื้นหลังกันมาก่อน Churchill จึงค่อนข้างมั่นใจว่าจะคุม Ike ในการเจรจาสันติกับโซเวียตได้ ที่นี้พอหลังจากพักฟื้นจนหายป่วยแล้ว ในเดือนธันวาคม ปี 1953 มีการประชุมผู้นำเกิดขึ้นที่เบอร์มิวด้า หมู่เกาะในเครือจักรภพ รายละเอียดการประชุมไม่แน่ชัด (จากที่ค้นมาน่าจะเกี่ยวกับผู้นำโลกประชุมเรื่องสถานการณ์ของโลกในตอนนั้นๆ สงครามเกาหลี สถานการณ์คลองสุเอซ ประมาณนี้) หลังจาก Ike กลับมาเขาก็ได้จัดตั้งโครงการ ปรมาณูเพื่อสันติ “Atoms for Peace” ขึ้นมา ประมาณใช้รังสีเพื่อการแพทย์ การเกษตร บลาๆ และในต้นปี 1954 อังกฤษก็ได้ริเริ่มพัฒนาโครงการระเบิดไฮโดรเจนเป็นของตัวเอง (สำเร็จเป็นประเทศลำดับที่สามในปี 1957)

    หลังจากนั้นประเทศอื่นๆจึงเริ่มลงทุนในการวิจัยพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ประเทศที่ผลิตระเบิด ไฮโดรเจนสำเร็จเป็นประเทศที่สี่คือ พี่จีน ถัดมาลำดับที่ห้า ในปี 1968 คือ ฝรั่งเศส และในปีเดียวกันนี้เองก็ได้เกิดสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on Non-Proliferation of Nuclear Weapons) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการระบบการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้เอง





    อ้างอิง
    https://winstonchurchill.hillsdale.edu/president-eisenhower/
    https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-1-349-24915-2_11
    https://en.wikipedia.org/wiki/Joe_4
    https://en.wikipedia.org/wiki/Ivy_Mike
    http://www.polsci-law.buu.ac.th/journal/document/3-3/5.pdf


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in