เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Study Japanese with nisitparttimenisitparttime
'Abstract must DIE!!!' but not in Japanese?
  • นิสิตพาร์ทไทมมมมมมมมมมม์
    .
    .
    .
    .
    มาค่ะ

    หายไปน๊านนาน นิสิตยังสบายดีนะคะ (กักตัวมาแล้ว 14 วันด้วย แฮ่ะ)
    หลังจากผ่านช่วงมิดเทอมกันไป วิชาเรียนก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาใหม่ เปลี่ยนอาจารย์ใหม่ (ถ้าเป็นวิชาที่ครึ่งแรก - ครึ่งหลัง เป็นอาจารย์คนละคนกัน) อย่างวิชาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจที่เราเพิ่งเจออาจารย์ใหม่ ก็เปิดตัวมาพร้อมกับความยิ่งใหญ่ ที่ชวนเด็กทั้งห้องตะโกนพร้อมกันสามครั้ง (??) ว่า

    Abstract MUST die!!!

    แต่ช้าก่อน อาจารย์ไม่ได้ชวนนิสิตไปทะลวงไส้ใครตายที่ไหนนะคะ แง้
    แต่หมายความว่าในการเขียนเชิงธุรกิจ ไม่ควรจะเขียนอะไรให้มีความกำกวม หรืออ้อมโลกจนคนอ่านไม่เข้าใจนั่นเอง

    เอ๊ะ แต่ไม่เห็นเหมือนกับวิชาภาษาญี่ปุ่นเลยนี่นา TT
    แถมความ 'Abstract' (曖昧 - พูดกำกวม/พูดอ้อมๆ)คือหนึ่งในวิธีการ "พูดให้ชาญฉลาด" ในภาษาญี่ปุ่นด้วยซ้ำ!

    แล้วภาษาญี่ปุ่นต้องอ้อมแค่ไหนนะ
    ต้องอ้อมแบบคลิปนี้รึเปล่า?



    อันนี้ก็เกินค่ะ 19 วิยังไม่เห็นเข้าเรื่องเลย
    (บล็อกนี้ก็ยังไม่เห็นจะเข้าเรื่องเลย)
    .
    .
    .
    การพูดอ้อม ๆ กำกวมในภาษาญี่ปุ่น มีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอยู่ 2 ข้อด้วยกันคือ

    1) หลีกเลี่ยงคำที่รุนแรงหรือไม่ดี (生々しさ)

    生々しさ ในที่นี้ก็คือคำที่คนฟังได้ยินแล้วจะจินตนาการถึงภาพที่ไม่น่ามอง หรือเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดกถึงตรง ๆ นั่นเอง ซึ่งการเลี่ยงไปใช้คำสวย ๆ อ้อม ๆ หน่อย ก็ทำให้ดูน่าฟัง ดูรักษาน้ำใจผู้ฟัง และดูเป็นคนรอบรู้ทางภาษา (?) มากขึ้นในภาษาญี่ปุ่น

    ตัวอย่าง
    รูป: https://twitter.com/Kintetsu50101F/status/1101593982432231424 ขอบคุณค้าบ
    ถ้าใครขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่นบ่อย ๆ อาจจะเคยเห็นคำนี้ที่สถานีบ่อย ๆ เวลาที่รถมาไม่ตรงเวลา

    人身事故
    (じんしんじこ)

    อุบัติเหตุเกี่ยวกับคน? มีใครเป็นอะไร มีใครกรี๊ดเพราะนายสถานีหล่อจนเป็นลมเหรอคะ!?

    ความจริงแล้ว คำนี้ส่วนมากใช้เวลาที่ มีคนกระโดดรถไฟ นั่นเองค่ะ y-y
    ซึ่งถ้าเรากำลังนั่งรถไฟชมวิวเพลิน ๆ แล้วได้ยินประกาศว่า

    ขออภัยค่ะ รถไฟจะช้า 5 นาที เพราะเรทับน้องทานากะแบนแต๊ดแต๋ไปแล้ว

    .
    .
    .
    .
    แง

    2) ปกป้องความเป็นส่วนตัว(プライバシーを守る)

    บางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตั๊ววว ส่วนตัว ที่คนอื่นไม่ต้องรู้รายละเอียดมาก เราก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรง ๆ เหมือนกัน เพราะถึงพูดไป คนฟังเองก็คงไม่อยากรู้เหมือนกัน..

    เช่น

    先生: ジーンさん、どうして遅刻しましたか? 
    ジーン: すみません、下痢が原因で30分もトイレにいました。
                      (ขอโทษค่ะ พอดีหนูท้องเสีย ไปอึอึ๊มาตั้งครึ่งชั่วโมง)
    先生: ^^;;;あ、、そう?

    ตรงนี้อาจจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ในภาษาไทยเราอาจจะพูดกับเพื่อนว่า แก ปวดฉี่ ไปฉี่กัน ได้ หรือบอกอาการป่วยกันได้ตรง ๆ แต่ในภาษาญี่ปุ่นนั้น การบอกรายละเอียดอะไรที่ 'มากเกินไปหน่อย'
    อาจดูไม่สุภาพ ดูไม่เป็นผู้ดี

    นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการเลือกเลี่ยงคำเวลาพูดในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะประกาศ หรือการสนทนากับคนอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง

    การเลี่ยงมาใช้คำที่ 曖昧 หรือการเปลี่ยนคำ 言い換え

    แล้วเราจะทำยังไง ถ้าไม่อยากพูด
    田中さんが死んじゃった
    うんこ?
    เราจะเลือกใช้คำสวย ๆ ยังไงดี? จะไปหามาจากไหน ก็ไม่ได้เก่งภาษาญี่ปุ่นซักหน่อย YY
    ตัวช่วยของเราในวันนี้ก็คื๊ออออ...


    類語辞典(るいごじてん) หรือพจนานุกรมคำเหมือน จะช่วยหาคำที่มีความหมายเหมือนกับคำที่เราต้องการสื่อในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดอ้อม การใช้คำเชิงเปรียบเทียบ หรือใครที่อยากเปลี่ยนคำง่าย ๆ เด็ก ๆ ให้กลายเป็นศัพท์คันจิ(漢語)ยาก ๆ เหมือนคนเรียนเก่งแล้ว ก็ได้เหมือนกัน

    ถ้าใครอยากลองก็สามารถ จิ้มได้เลยที่นี่  หรือ ที่นี่

    แต่การใช้ 類語辞典 ด้วยตัวเองก็มีข้อควรระวังอยู่ว่า คำบางคำอาจมีความหมายเหมือนกัน แต่ไม่ได้ใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น:

    死ぬ
    永眠(えいみん)
    他界(たかい)
    昇天(しょうてん)
    生命(せいめい)を終(お)える

    คำกลุ่มนี้แปลว่า "เสียชีวิต" หมดเลย แต่คำไหนนะ? ที่ใช้ไม่ได้ในบางกรณี??
    .
    .
    .
    คำตอบคือ  昇天(しょうてん) 
    ที่มาจากตัวคันจิ 昇る (ขึ้น) และ 天 (ฟ้า/สวรรค์) ซึ่งการขึ้นสวรรค์เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์ ดังนั้น การใช้ 昇天 เพื่อสื่อถึงการเสียชีวิต จึงใช้กับคนที่นับถือศาสนาคริสต์เท่านั้นนั่นเองงง

    ตัวคันจิน่ะ ยุ่งยากที่สุดเล้ย!
    ดังนั้น นอกจากการเปิดพจนานุกรมหาด้วยตัวเองแล้ว เรายังหาคำศัพท์ใหม่ ๆ สวย ๆ ได้จากประสบการณ์การใช้ภาษา สร้างความคุ้นเคย ดูตัวอย่างที่ Native Speaker เลือกใช้จากสื่อต่าง ๆ เช่น

    「ブス ⇒ 愛嬌のある顔」。“ホンネ⇒建前”、言い換えフレーズ10

    เว็บนี้จะเป็น Ranking การเลี่ยงคำที่เราจะเห็นได้ชัดว่า คนญี่ปุ่นเลือกใช้คำที่ 曖昧 ในการพูด หรือเปลี่ยนไปใช้คำแง่บวก (ポジティブな言葉)เยอะมาก เช่น

    無職 (ว่างงาน) 家事手伝い (ช่วยงานบ้าน)

    老けている (แก่) 大人っぽい (ดูเป็นผู้ใหญ่)

    ダサい服 (เสื้อเชย ๆ)個性的なファッション (แฟชั่นเฉพาะตัว)

    การที่มีพจนานุกรมคำเหมือนออกมาหลากหลายฉบับ (แถมถ้าซื้อเป็นแอพฯ หรือหนังสือ ราคาก็แพงพอตัว) และมีคนจัด Ranking วิธีเลี่ยงบาลีออกมาหลายต่อหลายครั้ง สื่อให้เห็นได้ชัดว่า การใช้ภาษา สะท้อนวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้นจริง ๆ อย่างเรื่องนี้ก็ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้นว่า คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้ฟัง และชอบการพูดอ้อม ๆ เป็นอย่างมาก

    คำที่พูดได้และคำที่ควรเลี่ยงในแต่ละภาษาก็แตกต่างกัน อย่างนิสิตพาร์ทไทม์ก็หน้าชา ๆ ไปหลายช็อตเหมือนกัน อย่างตอนที่อาจารย์บอกว่า เราไม่สามารถพูด 下痢  (ท้องเสีย) ได้ ให้เลี่ยงเป็น 体調が悪い(สุขภาพ/สภาพร่างกายไม่ดี) แทน เพราะถ้าเราชินกับภาษาไทย เวลาบอกว่าป่วยก็มักจะบอกกันว่าเป็นอะไร แล้วแค่อาการท้องเสียหรือปวดท้องก็ไม่ใช่เรื่องแย่ถึงขนาดพูดกันไม่ได้ แล้วห้องน้ำก็เป็นเรื่องปกติ

    ตอนที่ทำงานล่ามอยู่แล้วปวดท้อง นิสิตพาร์ทไทม์ก็เลยเคยบอกคนญี่ปุ่นไปว่า
    お腹が痛いのでトイレに行きたいです
    ไปแล้ว

    คนเราสามารถอายตัวเองย้อนหลังได้มั้ย ฮืออ...

    Tips อันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์กับเรามาก แค่ค้นคว้าหาคำศัพท์เพิ่มเติม ก็ทำให้เราพูดได้อย่างชาญฉลาดขึ้น แถมดูเป็นคนมีมารยาทน่าคบหาในสายตาคนญี่ปุ่นด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยนะ :D

    (อ้อ แล้วก็คำว่าห้องน้ำ นอกจาก トイレ แล้ว ยังสามารถเลี่ยงไปใช้คำว่า お手洗い (ถ้าดูคันจิจะเห็นเขียนว่า ไปล้างมือ) หรือห้องน้ำผู้หญิงยังใช้คำว่า 化粧室 (ห้องแต่งหน้า) เพื่อให้ดูสวย ๆ เหนียมอายได้ด้วยเหมือนกันนะ)

    เพราะฉะนั้น

    Abstract does not die in Japanese น้า :)

    ฝากให้ดูความแอบสแตรกต์ไม่ตายในภาษาญี่ปุ่นกันเล่น ๆ อีกหนึ่งตัวอย่าง


    (https://twitter.com/NungNing/status/1237630313452322817)

    หรือว่าตัวอย่างนี้ของไทยจะ 曖昧 กว่าญี่ปุ่นกันแน่นะ..

    .
    .
    .

    นิสิตพาร์ทไทม์

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Mathas Kangwankaipaisan (@fb1020304951415)
ตามมาจากที่อาจารย์แนะนำครับ555555555555 ตลกตัวอย่างที่ยกมา และก็อยากรู้ว่า เวลาพูดคนไทยกับคนต่างชาติต่างกันยังไงหรอครับ นอกจากอีเมล์ที่แนบมาอะครับ เผอิญเห็นมีเปรียบเทียบ 3 ภาษา เลยอยากรู้ของภาษาอังกฤษเพิ่มอีกหน่อยอะครับ
nisitparttime (@nisitparttime)
@fb1020304951415 เคคะ
pleech x appjpling (@dhanixjpling)
ตัวอย่างเยอะ อ่านเพลินมากๆเลยค่ะคุณนิสิตฯ อ่านแล้วก็คิดตามไปด้วย ชอบการเปลี่ยนคำว่า ว่างงาน→ช่วยงานบ้าน มากๆๆๆๆ ดู relate กับตัวเองดีค่ะ ในอนาคตน่าจะได้ใช้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ค่ะ5555
nisitparttime (@nisitparttime)
@dhanixjpling เดี๋ยวไปช่วยงานบ้านด้วยอีกแรงค่ะ
Kanokwan Katagiri (@fb3408029972557)
555 มีรูปประกอบในการอธิบายด้วย การร้อยเรียงเรื่องสนุกดีค่ะ เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษและไทย ทำให้เห็นลักษณะของภาษาญี่ปุ่นที่ชัดเจน