*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์*
.
.
.
“The whole world’s watching!”
ประโยคที่ผู้ชุมนุมตะโกนขึ้นอย่างพร้อมเพรียงเบื้องหน้าศาลที่จะพิจารณาคดีเอาผิดแกนนําการ ชุมนุมต่อต้านสงครามเวียดนามหรือคดี "Chicago 7" เพื่อย้ำเตือนให้ศาลตัดสินคดีนี้อย่างยุติธรรม เนื่องจากในขณะนี้ทั้งโลกกําลังจับตามองคดีนี้อยู่
ย้อนกลับไปในยุค 60s ขณะนั้นการเมืองของสหรัฐอเมริกามีความอ่อนไหวมากจากเหตุลอบสังหาร คนสําคัญทางการเมือง อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคสงครามเย็นที่สหรัฐฯ ส่งทหารจํานวนมากไปร่วมรบใน สงครามเวียดนาม ซึ่งกินงบประมาณของประเทศอย่างมหาศาล และมีผู้เสียชีวิตจํานวนมาก ส่งผลให้คน อเมริกันบางส่วนไม่พอใจ และนําไปสู่การชุมนุมต่อต้านการเข้าร่วมสงครามเวียดนามของสหรัฐฯ ณ Democratic National Convention (DNC) ในเมืองชิคาโก เมื่อปี ค.ศ. 1968
ในปีต่อมา รัฐบาลสั่งฟ้องแกนนําการประท้วงจํานวน 8 คน ในข้อหาสมคบคิดกันก่ออาชญากรรม ด้วยการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตรัฐเพื่อจงใจปลุกระดมให้เกิดการจลาจล กลายเป็นคดีที่มีชื่อว่า Chicago 7 ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีการเมืองที่โด่งดังของสหรัฐฯ และการพิจารณาคดีนี้ถูกนํามาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Trial of the Chicago 7 (2020) โดยฝีมือการกํากับและเขียนบทของแอรอน ซอร์คิน (Aaron Sorkin)
The Trial of the Chicago 7 เป็นภาพยนตร์ที่ตีแผ่ความอยุติธรรมในการพิจารณาคดี Chicago 7 ไม่ว่าจะเป็นความอคติที่เห็นได้ชัดของผู้พิพากษา รวมทั้งอํานาจฝ่ายบริหารที่คอยแทรกแซงอยู่เบื้องหลังคดี นี้ โดยเฉพาะผู้พิพากษาคดีนี้อย่างจูเลียต ฮอฟฟ์แมน ที่มีความเอนเอียงในการตัดสิินคดีความอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมให้คณะลูกขุนฟังคําให้การสําคัญที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มจําเลย หรือการไม่เปิดโอกาสให้บ็อบบี้ ซีล พูดแก้ต่างให้ตนเองบนชั้นศาล
ความน่าสนใจของ The Trial of the Chicago 7 อยู่ที่วิธีการเล่าเรื่อง กล่าวคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้มี การเล่าเรื่องแบบเน้นไปที่ฉากพิจารณาคดีบนชั้นศาล ทําให้ความสนุกของเรื่องอยู่ที่การเชือดเฉือนกันทาง วาจาระหว่างผู้พิพากษา ทนาย และกลุ่มจําเลย โดยวิธีการเล่าเรื่องเช่นนี้ยิ่งขับให้ผู้พิพากษากลายเป็นตัวร้ายที่สําคัญและมีผลต่อเนื้อเรื่องไม่แพ้กลุ่มผู้ชุมนุม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความเอนเอียงในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาได้อย่างชัดเจน
แม้ว่าการเล่าเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่บนชั้นศาล แต่การเล่าเรื่องในส่วนของฉากประท้วงก็ไม่ได้ถูกลดทอนลงไป โดยเหตุการณ์การประท้วงในอดีตถูกเล่าควบคู่ไปกับคําให้การของพยานและจําเลยต่อชั้นศาล ซึ่งการเล่าเรื่องเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ชมได้รับรู้ “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง” ไปพร้อมกับ “ความจริงผ่านมุมมองของผู้ ให้การแต่ละคน” เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจมุมมองและทัศนคติของแต่ละตัวละครได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
..สรุปแล้วความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการชุมนุม ในครั้งนี้ ใครเป็นฝ่ายเริ่มก่อน..
คําถามสําคัญของคดี Chicago 7 และแม้ว่าในภาพยนตร์ยังไม่ได้ตอบคําถามนี้อย่างชัดเจน แต่การฉายภาพเหตุการณ์การชุมนุมในเรื่องพร้อมกับคําพูดของทอม เฮย์เดนที่พูดกับกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อตํารวจเริ่มทําร้ายเด็กที่ปีนขึ้นไปชูธงบนเสาว่า “Make sure that if blood is going to flow, let it flow all over the city.” ทําให้ผู้ชมต้องตีความด้วยตนเองว่า สรุปแล้ว "ตํารวจ" หรือ "หัวหน้ากลุ่มผู้ชุมนุม" ที่เป็นฝ่ายเริ่มความรุนแรงนี้ก่อน
ประเด็นรองที่พบเจอใน The Trial of the Chicago 7 คือการที่กลุ่มแกนนําผู้ชุมนุมแต่ละคนไม่ได้มี แนวคิดหรือวิธีการต่อสู้ทางการเมืองแบบเดียวกันทั้งหมด โดยเฉพาะทอม เฮย์เดน และแอ็บบี้ ฮอฟฟ์แมน ซึ่งเป็นตัวละครหลักในฝั่งจําเลยที่มีแนวทางการต่อสู้ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ทอมเชื่อในการ ต่อสู้แบบสุภาพชน และยังเชื่อมั่นในระบบเลือกตั้ง ในขณะที่แอ็บบี้หมดศรัทธาต่อระบบนี้ และมองว่าการ เปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเท่านั้น เห็นได้ชัดในประโยคที่ทอมตอบกลับแอ็บบี้ว่า “I don’t have time for cultural revolution. It distracts from actual revolution.” ซึ่งเป็นประโยคที่สื่อสาร ถึงแนวคิดต่อการปฏิวัติที่แตกต่างกันของทั้งคู่อย่างชัดเจน อีกทั้งในภาพยนตร์ยังฉายภาพให้เห็นถึง แนวทางการต่อสู้ที่แตกต่างกันของทั้งคู่ เช่น ฉากที่ทอมยืนให้ความเคารพต่อศาลแม้ได้รับการตัดสินที่ไม่ เป็นธรรม ในขณะที่แอ็บบี้มีการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ในศาลอย่างการใส่เสื้อคลุมแบบเดียวกับผู้พิพากษา และใส่ชุดตํารวจในวันพิจารณาคดี
อย่างไรก็ตาม The Trial of the Chicago 7 กลับไม่สามารถอธิบายให้ผู้ชมเข้าใจได้จริง ๆ ว่าการปฏิวัติที่ทอมกับแอ็บบี้เชื่อนั้นมีรายละเอียดที่ต่างกันอย่างไร เพราะความขัดแย้งทางแนวคิดของทั้งคู่ไม่ได้ถูกนํามาอธิบายในเรื่องชัดเจนมากนัก นอกจากนี้บางตัวละครยังขาดการแสดงจุดยืนทางความคิดที่ชัดเจน และคงที่ตลอดทั้งเรื่อง โดยเฉพาะแอ็บบี้ ที่ในตอนท้ายของเรื่องเขาให้การต่อศาลว่าระบบเลือกตั้งนั้นไม่ใช่ปัญหาของประเทศ แต่รัฐบาลที่ไม่ดีต่างหากที่เป็นปัญหา ซึ่งขัดต่อความคิดของตัวละครแอ็บบี้ในช่วงแรกที่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และความไม่มั่นคงในจุดยืนของตัวละครเช่นนี้อาจทําให้ผู้ชมสับสนว่าความจริงแล้วการปฏิวัติของแอ็บบี้คืออะไรกันแน่
เมื่อลองพิจารณาตัวละครแอ็บบี้ในเรื่องกับแอ็บบี้ที่มีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ พบว่าในช่วงแรก The Trial of the Chicago 7 ได้ถ่ายทอดตัวละครแอ็บบี้อย่างตรงไปตรงมากับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ คือความไม่เห็นด้วยกับระบบและต้องการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แต่ทว่าในช่วงท้ายที่แอ็บบี้เชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้ง กลับเป็นสิ่งขัดกับอุดมการณ์แท้จริงของแอ็บบี้อย่างรุนแรง ถึงขนาดที่เบน เบอร์กิส (Ben Burgis) คอลัมนิสต์ประจํา Jacobin นิตยสารทางการเมืองฝ่ายซ้าย เขียนวิจารณ์ลงในบทความของเขา ทํานองว่า “ถ้าฝ่ายซ้ายที่รู้ประวัติศาสตร์มาดูภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องเกิดความรําคาญใจเป็นแน่”
การดัดแปลงมุมมองของตัวละครหลักอย่างแอ็บบี้ให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงเช่นนี้ สามารถอนุมานได้ว่า The Trial of the Chicago 7 มีการสอดแทรกทัศนคติทางการเมืองส่วนตัวของผู้เขียนบทลงไป นั่นคือ ทัศนคติที่พยายามประณีประนอมต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ประท้วง และความเชื่อที่ว่า ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ระบบ หากอยู่ที่ผู้ใช้อํานาจในระบบนั้นอย่างรัฐบาลต่างหาก
นอกจากนี้ยังพบว่า The Trial of the Chicago 7 มีการดัดแปลงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการเล่าเรื่องในเวลา 2 ชั่วโมง 10 นาที แต่การกระทําเช่นนี้กลับเป็นการดัดแปลงรายละเอียดบางอย่างที่สําคัญต่อรูปคดีในแง่ความรู้สึก เช่น เหตุการณ์จริงบ็อบบี้ถูกมัดปากและล่ามติดกับเก้าอี้ตลอดการ พิจารณาคดีถึง 3 วัน แต่ในภาพยนตร์กลับบอกว่าบ็อบบี้อยู่ในสภาพนี้เพียงไม่กี่ชั่วโมง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงมุมมองของตัวละครหลักอย่างแอ็บบี้ และการตัดทอนรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้ The Trial of the Chicago 7 ดําเนินเรื่องออกมาได้กลมกล่อม ไม่ได้ส่งผลต่อประเด็นหลักที่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อมากนัก เพราะประเด็นหลักที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อสาร คือ การเปิดเผยความอยุติธรรมของอํานาจตุลาการของสหรัฐฯ ณ ขณะนั้น รวมถึงการตีแผ่การแทรกแซงของรัฐบาลในคดี ทางการเมืองอย่างคดี Chicago 7 ดังประโยคเด็ดของแอ็บบี้ในเรื่องที่พูดว่า “We’re not going to jail because of what we did. We’re going to jail because of who we are.” ซึ่ง The Trial of the Chicago 7 สามารถถ่ายทอดความอยุติธรรมนี้ได้อย่างชัดเจน
โดยสรุปแล้ว The Trial of the Chicago 7 ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่นําเสนอความอยุติธรรมของการพิจารณาคดีการเมืองสําคัญอย่าง Chicago 7 ออกมาได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย อีกทั้งยังมีรูป แบบการเล่าเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการดัดแปลงเหตุการณ์บางอย่างส่งผลให้ผู้ชม อาจเข้าใจเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ได้ผิด อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงนี้กลับสะท้อนให้เห็นแนวคิด และทัศนคติทางการเมืองของคนเขียนบทและผู้กํากับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in