เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ปรัชญาไปเรื่อยtam.cozycorner
ทำไมเราควรดูหนัง ฟังเพลง อ่านวรรณกรรม เสพงานศิลปะเยอะ ๆ?
  • ทุกคนเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราต้องดูหนังฟังเพลง อ่านหนังสือ เสพงานศิลปะ เสพเรื่องราวที่หลากหลายมากมาย มันมีอะไรมากกว่าแค่ความสนุกสนาน ความบันเทิงหรือเปล่า 


    ลองจินตนาการว่า หากคุณใช้วันทั้งวันของคุณหมดไปกับการดูหนังหรือซีรีส์ คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ของตัวเอง บางคนอาจจะรู้สึกผิดที่เราใช้เวลาไปอย่างไม่ productive เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง 


    ผู้เขียนเองกำลังจะบอกว่า การทำสิ่งเหล่านี้คือกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการพัฒนาตนเอง แต่เป็นการพัฒนาตนเองที่ได้อะไรบางอย่างกลับมาในรูปแบบที่ไม่ใช่ผลกำไร เรามาดูกันว่าในทุก ๆ ครั้งที่คุณอาจจะดูโดยไม่ได้คิดอะไร การที่คุณมีประสบการณ์ทางความรู้สึกนั้น ๆ แล้ว มันทำให้คุณได้อะไรบ้าง


    RF._.studio/Pixels

    มาธาร์ บุสบัม (Martha Nussbuam) นักปรัชญาร่วมสมัยเคยบอกไว้ว่า อย่าดูถูกโลกภายในของตัวเอง “Do not despise your inner world” ข้อความคมคายที่เธอพูดถึงความสำคัญของการบ่มเพาะอารมณ์ความรู้สึก (emotional cultivation)


    สังคมปัจจุบันเรานั้นให้ความสำคัญกับอะไรที่เป็นของภายนอกมาก ๆ เรามองเห็นโลกภายนอก และใช้เวลาไปกับหลายสิ่งหลายอย่างที่ผ่านเข้ามาและจากไปอย่างรวดเร็ว ด้วยวัฒนธรรมบางอย่างก็อาจทำให้เราคิดแค่เกี่ยวกับที่อยู่ภายนอกเท่านั้นและวัดตัวเองในแง่ของการครอบครองอะไรบางอย่างซึ่งเป็นสิ่งภายนอก 


    นุสบัมบอกว่ามนุษย์เราเติบโตมาด้วยการเป็นทารกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาคนอื่นเพื่อที่จะมีชีวิตรอด มีอาหารกิน แล้วเราก็พัฒนาความรอบรู้ขึ้นมาเรื่อย ๆ ในเส้นทางของการเติบโต แต่เราก็ยังคงอ่อนแอและยังคงไม่สมบูรณ์ (weak and incomplete) ยังขาดอะไรบางอย่าง หากเราเรียกมันว่าความแหว่งอาจจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ซึ่งพอเราแหว่งแล้ว เราก็ต้องการอะไรมาเติมเต็ม ซึ่งสิ่งเหล่านั้นขึ้นอยู่กับคนอื่น อย่างอื่นและขึ้นอยู่กับโลกที่ไม่แน่นอน และแน่นอนว่ามันอยู่ในโลกภายนอก 



    การเติบโตกับการบ่มเพาะทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotions)

    การที่เราเติบโตขึ้นมา จริง ๆ แล้วเราได้พัฒนาในด้านอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายจากสถานการณ์บางอย่างที่เราประสบพบเจอในชีวิตเรา เช่น เรากลัวว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นและเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะขจัดปัดเป่ามันออกไป เรารักคนที่ช่วยเหลือและสนับสนุนเรา เราเศร้าโศกในยามที่สูญเสียคนที่เรารักไป หรือหวังว่าจะเกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นในอนาคต เรามีอารมณ์โกรธในยามที่ใครทำลายอะไรบางอย่างที่เราแคร์ เรามีความรู้สึกที่ถูกต้องก็เพราะเราได้ถูกบ่มเพาะทางด้านอารมณ์ว่า สถานการณ์ไหนเราควรรู้สึกอย่างไร ควรรักเวลาไหน ควรเศร้า หรือควรโกรธเวลาไหน ซึ่งในชีวิตเรามีตัวอารมณ์ความรู้สึกนี้ เป็นตัววางแผนหรือชี้นำ 

    ความแหว่งของเรา


    สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความต้องการใดใดเลยก็จะไม่มีเหตุผลที่จะกลัวโศกเศร้ามีความหวัง หรือว่าโกรธ 

    แต่มนุษย์เรามี เหตุผลนั้นเราจึงมักที่จะไม่กล้าเปิดเผยในด้านอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของเราออกมาเราก็เลยมักจะหลบนี้จากโลกภายในของเรา ความรู้สึกของตัวเอง 


    เมื่อเราไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ในชีวิตที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะประสบพบเจอในชีวิต 

    บวกกับวัฒนธรรมบางอย่างที่ทำให้เราคิดแค่เกี่ยวกับส่วนที่อยู่ภายนอกเท่านั้น อาจนำพาเราไปสู่ความหดหู่ (Depression) วิธีที่จะสามารถเยียวยาการหลีกหนีความรู้สึกตัวเองนี้ คือการรักตัวเอง โดยที่ยอมรับความแหว่งและความอ่อนแอของตัวเอง แต่เป็นการยอมรับมันด้วยความใส่ใจ สนใจ และเผชิญหน้ากับมัน 



    Lisa Fotios/Pixels


    Storytellings สำคัญกับ Emotions อย่างไร? 


    สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาด้านอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง คือ Storytelling หรือ การเล่าเรื่อง สิ่งนี้มีบทบาทสำคัญมากในการบ่มเพาะอารมณ์ความรู้สึกของเรา ความจริงแล้วชีวิตเราพบเจอกับเรื่องราวหรือเรื่องเล่าอยู่ตลอดเวลาในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นจากประสบการณ์ตรงของตัวเองหรือว่าเรื่องราวของผู้อื่น เมื่อเราเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตคนอื่น หรือเราเรียนเรียนรู้ที่จะจินตนาการว่าสิ่งมีชีวิตอื่นจะมีความรู้สึกยังไงเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ คุณรู้หรือไม่ว่าในขณะเดียวกันเราเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านั้นและเรียนเรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับตัวเองด้วยเช่นกัน


    นุสบัมบอกว่า การที่เราเติบโตขึ้นมาเรายิ่งจะประสบพบเจอกับเรื่องราวที่ซับซ้อนและซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านประสบการณ์ของเรา หรือผ่านวรรณกรรม หนังสือ ศิลปะ ดนตรี ไม่ใช่แค่งานพวกนี้แต่ ทุกอย่างที่เป็นการเล่าเรื่อง เพราะสิ่งเหล่านี้ให้ “Subtle Grasp” ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์และโลกภายในของเรา ซึ่งทำให้เรารู้ซึ้งในเรื่องต่าง ๆ และได้พัฒนาตนเองในด้านอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราควรอ่านเรื่องราวให้มากขึ้น ฟังดนตรีให้เยอะขึ้น คิดเกี่ยวกับเรื่องราวที่เราประสบพบเจอว่ามันมีความหมายกับชีวิตของเรายังไง และมีความหมายกับชีวิตของคนที่เรารักอย่างไร แบบนั้นเราก็จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยวกับตัวตนที่ว่างเปล่าของเรา และเพิ่มโอกาสที่เป็นไปได้ในการพูดคุยสนทนากับคนอื่น ๆ ด้วย


    สุดท้ายแล้ว มนุษย์เรามีสมองและมีหัวใจ สมองอาจจะคิดในด้านเหตุผล และหัวใจแทนอารมณ์ความรู้สึก เราไม่ได้มีสมองแค่อย่างเดียว เราขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไมไ่ด้ และไม่ควรที่จะให้ความสำคัญและพัฒนาเพียงแค่ด้านเดียว เพราะฉะนั้นการพัฒนาในด้านอารมณ์ความรู้สึกก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย ไม่ว่างเปล่าและโดดเดี่ยว





    Reference:
    https://www.themarginalian.org/2012/10/12/martha-nussbaum-take-my-advice/
    take my advice: letters to the next generation from people who knows a thing or two 
    Edited by James L. harmon

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in