สวัสดีค่าา クマグミ เองน้า หลายคนคงจะรู้จักเราจาก intro ไปบ้างแล้ว
(ใครยังไม่ได้อ่านก็แกล้ง ๆ จิ้มได้นะ >> intro : クマグミ คือใคร? มาเขียน blog ทำไม??) มาเริ่มตอนแรกด้วยเรื่องเบา ๆ กันค่าทุกคนรู้ไหมว่าก้าวแรกของการสานสัมพันธ์นั้นต้องทำอะไร? ติ้กต่อก ๆ ๆ ๆ ใช่แล้ว 自己紹介 (じこしょうかい) หรือแนะนำตัวนั่นเองง (อ้าว ก็เฉลยตั้งแต่ชื่อเรื่องแล้ว จะให้ทายทำไม)
เราคิดว่าการแนะนำตัวน่าจะเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต้องเคยทำมาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงการแนะนำตัวมากไปกว่านี้ มาเปิดเพลงฟังไปด้วยระหว่างอ่านกันดีกว่า
โอเค ตอนนี้เราก็มีเพลงประกอบแล้วมาเริ่มกันเลยเนอะ '^'
จริง ๆ ที่เลือกเพลงนี้มาเพราะมันขึ้นต้นด้วย「はじめまして」ค่ะ5555 ใครที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาต้องเคยพูดก่อนแนะนำตัวแน่ ๆ แต่! เราไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า はじめまして ขึ้นต้นก่อนแนะนำตัวเสมอไปค่ะ เราสามารถใช้คำทักทายธรรมดาอย่าง こんにちは ก็ได้เช่นกัน และในฐานะคนไทยที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น เราเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าตอนที่ตนเองแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นนั้น "มีจุดที่ไม่เหมือนคนญี่ปุ่นอยู่" ซึ่งจุดที่พูดถึงนี้ไม่ใช่สำเนียงหรืออินเนอร์ใด ๆ แต่เป็น "การใช้คำและสำนวน" ต่างหาก
มาถึงจุดนี้อยากให้ทุกคนลองคิดดูว่าตัวเองจะพูดแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างไร แล้วคนญี่ปุ่นจะพูดแนะนำตัวเหมือนเราไหม?
ถ้าใครคิดเสร็จแล้วเราลองมาทำควิซกันดีกว่า
Q: ข้อใดที่อาจจะไม่พบในการพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่น?
A. ขึ้นต้นประโยคด้วยการยกหัวข้อที่จะพูดขึ้นมาก่อน
B. ขึ้นต้นประโยคด้วย 今
C. จบการแนะนำตัวด้วย「よろしくおねがいします」
เฉลย : (ฮั่นแน่ ไม่ได้แอบดูเฉลยกันก่อนใช่รึเปล่าา) คำตอบก็คือ B. ขึ้นต้นประโยคด้วย 今 นั่นเองง
.
.
.
เป็นยังไงกันบ้าง ตอบถูกกันไหมเอ่ย? ใครตกใจตอนรู้คำตอบเพราะตัวเองเคยใช้พูดแนะนำตัว สารภาพมาซะดี ๆ (เพราะเราก็เคยใช้ค่ะ กำลังหาพวก5555) บอกก่อนว่าจะใช้ก็ไม่ได้ผิดน้า แค่เป็นข้อสังเกตว่าคนญี่ปุ่นไม่ได้ใช้ตอนแนะนำตัวเฉย ๆ และนอกจากจุดที่พูดถึงในควิซไปแล้ว การแนะนำตัวของคนไทยกับคนญี่ปุ่นก็ยังมีจุดที่แตกต่างกันอยู่อีกนะ เราขอสรุปข้อแตกต่างทั้งหมดที่เราได้รู้ในคาบเรียน App Jp Ling ดังนี้ค่า
*ข้อมูลต่อไปนี้มาจากศิษย์ชาวญี่ปุ่นของอาจารย์ที่ได้สังเกตและเปรียบเทียบคนไทยกับญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งนะคะ ในสถานการณ์จริงอาจจะเจออะไรที่แตกต่างไปจากนี้ก็ได้
?ความแตกต่างในการแนะนำตัวของคนไทยและคนญี่ปุ่น?
คนญี่ปุ่น
- ไม่บอกชื่อเล่น - คนญี่ปุ่นจะใช้ชื่อเล่นเรียกกันแค่ในกลุ่มเพื่อนสนิท ในการแนะนำตัวกับคนที่เพิ่งรู้จักกันครั้งแรกเลยไม่บอกชื่อเล่นกันค่ะ (ส่วนคนไทยที่ชื่อจริงยาวกันขนาดนี้ ถ้าไม่บอกก็คงจำกันยากน่าดู ;-;)
- ไม่ใช้ フィラー หรือคำเติม - คนญี่ปุ่นไม่ใช้คำเติม เช่น あのう, えーと, えー, ฯลฯ ตอนแนะนำตัวเหมือนคนไทย เราคิดว่าน่าจะเป็นเพราะคนญี่ปุ่นพูดแนะนำตัวด้วยภาษาแม่ของตัวเอง ก็เลยไม่ต้องใช้คำเติมตอนนึกคำศัพท์แบบพวกเราคนไทยค่ะ5555
- ไม่พูดคำว่า「ありがとうございます」ปิดท้าย - เนื่องจากเป็นการแนะนำตัว ถ้าปิดท้ายด้วย「よろしくおねがいします」จะธรรมชาติกว่าน้า
- ไม่ใช้คำว่า「今」ขึ้นต้นประโยคในการแนะนำตัว - แต่ในขณะเดียวกันพบว่าคนไทยใช้ 今 ขึ้นต้นค่อนข้างมากเลยค่ะ จุดนี้เป็นเพราะคนไทยอาจจะมองว่าการแนะนำตัวคือการทำให้คนอื่นรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น จึงอธิบายเกี่ยวกับตนเองในตอนนี้ ต่างจากคนญี่ปุ่นที่มองว่าการแนะนำตัวเป็นการทักทายกับคนที่เพิ่งรู้จักกันครั้งแรกมากกว่าค่ะ
- พูดสิ่งที่เชื่อมโยงกับคนก่อนหน้า - ในการแนะนำตัวเป็นกลุ่ม คนญี่ปุ่นจะมีการอ้างถึงสิ่งที่คนก่อนพูด เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และแสดงมารยาทว่า "เราตั้งใจฟังนะ" เช่น คนก่อนหน้าบอกว่าวิธีการคลายเครียดคือการร้องเพลง เราก็สามารถเชื่องโยงด้วยการพูดว่า
「私も歌をうたうことがストレス解消なんですけど、...」
เราก็ร้องเพลงเพื่อคลายเครียดเหมือนกัน
คนไทย
- มักจะขึ้นต้นประโยคด้วย「私」- คนไทยใช้ 私 ขึ้นต้นประโยคค่อนข้างบ่อยกว่าคนญี่ปุ่นค่ะ ข้อนี้เราคิดว่าเป็นเพราะเราเคยชินกับการใส่ประธานทุกครั้งก่อนพูดหรือเขียนอะไรก็ตามตอนเรียนในห้อง (แล้วถ้าตอนสอบลืมประธานก็อาจจะโดนหักคะแนนด้วยนี่เนอะ จะไม่ใส่ได้ไง แง) แต่ถ้าอยากดูเหมือนคนญี่ปุ่นมากขึ้นก็ลองละ 私 กันดูนะคะ
- ไม่ค่อยขึ้นต้นประโยคด้วยการยกหัวข้อที่จะพูดขึ้นมาก่อน - การยกหัวเรื่องขึ้นมาก่อนหรือในภาษาญี่ปุ่นคือ 主題の明示 (しゅだいのめいじ) นั้นไม่พบในการแนะนำตัวของคนไทยมากเท่าคนญี่ปุ่นค่ะ เช่น ถ้าเป็นเรื่องวิธีคลายเครียด
- คนไทยอาจจะพูดว่า 「ストレスがたまったら...」ถ้าเครียดก็จะ... + V.
- ส่วนคนญี่ปุ่นจะพูดว่า「ストレス解消に行うことは...」การคลายเครียดคือ... + N.
ซึ่งการขึ้นต้นด้วย 主題の明示 จะทำให้ประโยคจบด้วย N. การพูดของคนไทยที่ที่ไม่ค่อยใช้ 主題の明示 จึงจบด้วย V. มากกว่าค่ะ พอจะเห็นความแตกต่างกันไหมเอ่ย
- มีคนที่ไม่ได้พูดปิดท้ายด้วย「よろしくおねがいします」- แต่ทางฝั่งของคนญี่ปุ่นนั้นไม่มีใครที่ไม่ได้จบการแนะนำตัวด้วย「よろしくおねがいします」เลยค่ะ รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมพูดกันด้วยน้า
ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่าถ้าอยากแนะนำตัวให้ดูเหมือนคนญี่ปุ่นมากขึ้นต้องทำยังไง แต่เอ ถ้าจะแนะนำตัวให้คนจดจำเราได้เนี่ย จะต้องพูดอะไรดีล่ะ?
งั้นเราลองมาคิดกันเล่น ๆ ดูซิว่าแนะนำตัวแบบไหนจะทำให้คนจำเราได้ (เอาแบบที่ตราตรึงใจ จำได้ตั้งแต่วันแรกยันวันสุดท้ายไปเลย!) แล้วไปดูกันว่าจะตรงกับวิธีต่อไปนี้บ้างรึเปล่า?
?อยากเป็นที่จดจำ ต้องแนะนำตัวยังไง??
คิดว่าคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอื่น ๆ มาจะต้องผ่านการท่องจำ "แพทเทิร์นการแนะนำตัว" มาแล้วแน่นอน และทุกครั้งที่ต้องแนะนำตัว สมองเราก็จะสั่งการอัตโนมัติให้เราพูดประโยครูปแบบเดิม ซ้ำเดิม แถมซ้ำคนข้าง ๆ ด้วย!?
งั้นแล้วเราจะทำยังไงให้การแนะนำตัว "น่าสนใจและมีเสน่ห์" กันล่ะ??
วิธีการที่เราเห็นในคลาสแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจและทำให้จดจำได้ง่ายขึ้นหลัก ๆ เลยก็คือการ "สร้างภาพลักษณ์ของตนเอง" ค่ะ ซึ่งภาพลักษณ์ในที่นี้ก็แล้วแต่เราเลยค่ะว่าอยากให้ภาพลักษณ์ของตนเองออกมาเป็นแบบไหน เช่น
- มีอารมณ์ขัน - เราอาจจะสร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้ผู้คนที่กำลังฟังเราอยู่ด้วยการใส่มุกตลก การเล่นคำ หรือสโลแกนประจำตัวก็ได้ค่ะ อยากจะตลกนิ่ง ๆ หรืออยากให้ขำกลิ้งทั้งห้องก็แล้วแต่จะเลือกสรรกันเลย5555
- มี passion - การเล่าถึงสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ หรือสิ่งที่ตัวเองชอบในแง่มุมที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนก็ช่วยให้เป็นที่จดจำได้น้า เช่น ชอบทำขนม เพราะเห็นรอยยิ้มของคนกินแล้วมีความสุข
หรือถ้าเราพูด keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ก็จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้นด้วยว่าเราชอบหรือกำลังทำอะไร เช่น งานอดิเรกคือสะสมต้นไม้ และเฝ้าดูต้นไม้แตกใบอ่อน
- สดใส/มั่นใจ/เป็นตัวเองให้สุดไปเลย! - ถ้างานขายขำหรือ passion ไม่ใช่ทาง แค่พูดด้วยสีหน้าหรือน้ำเสียงที่กระตือรือร้นก็ช่วยให้ผู้ฟังจดจำสิ่งที่เราพูดมากขึ้นได้นะคะ ถึงแม้บทแนะนำตัวของเราจะธรรมดา แต่ถ้าท่าทางของเราในขณะนั้นสื่อออกมาว่า "เราอยากจะทำความรู้จักกับทุกคนจริง ๆ นะ" ก็ช่วยกระตุ้นความสนใจได้ไม่น้อยเลย
ตัวอย่าง :
「...ストレス解消が大事なんですけれども、野球観戦がストレス解消でして、あんまり野球観戦の合間に研究をしているとか言われないように研究をがんばりたいなと思うんですが、最近ちょっと応援しているチームがダントツの最下位でして、あまりストレス解消にならないのが残念ですが、がんばりたいと思います。...」
ด้านบนยกมาแค่ช่วงหนึ่งของการแนะนำตัวนะคะ คนนี้เขาได้พูดถึงงานอดิเรกของตนเองซึ่งก็คือการดูการแข่งขันเบสบอลค่ะ ก็ดูเหมือนจะธรรมดานี่นา แต่ ๆ เขาเสริมด้วยว่า
"จะตั้งใจทำวิจัย จะได้ไม่โดนหาว่ามาทำวิจัยเพราะว่างจากการดูเบสบอล"
"ช่วงนี้ทีมที่เชียร์อยู่อันดับรั้งท้ายก็เลยไม่ค่อยช่วยคลายเครียดสักเท่าไหร่"
จึงเป็นการจบเรื่องงานอดิเรกที่หักมุม และสร้างเสียงหัวเราะให้คนในห้องได้นั่นเอง?
?บทสรุปของการแนะนำตัวที่ดี?
ถึงเราจะได้วิธีการที่ช่วยให้การแนะนำตัวน่าสนใจขึ้นจากในคลาสแล้ว เราก็ยังคงสงสัยว่า "การแนะนำตัวที่ดีเป็นอย่างไร" เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและเจอกับ TEDx Talks ที่ชื่อว่า How to introduce yourself แล้วก็ทำให้เราได้รู้ว่าอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากคือ
"อย่ากลัวการเป็นตัวเอง"
ไม่ว่าตัวเราเองจะชอบอะไร มีงานอดิเรกแบบไหน หรือสนใจเรื่องอะไรก็ตามให้แสดงออกมาตามตรง อย่าพยายามเป็นเหมือนคนอื่น ๆ เพียงเพราะกลัวว่าจะแปลกแยกเลยค่ะ เพราะการพูดสิ่งที่เป็นตัวเองจริง ๆ ออกมานั้น นอกจากจะทำให้เราได้เจอกับคนที่ชอบหรือสนใจเรื่องเดียวกับเราแล้ว การเห็นคุณค่าของตนเองยังช่วยให้เรามั่นใจมากขึ้น แล้วพอเรามั่นใจการแนะนำตัวของเราก็จะมีเสน่ห์มากขึ้นตามไปด้วย มีแต่ข้อดีเห็นไหม!
.
.
.
ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ค่า❤️ หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้และวิธีดี ๆ ไปปรับใช้กับการแนะนำตัวของตัวเองกันนะคะ แล้วถ้ามีใครลองเอาไปใช้แล้วผลออกมาดีไม่ดียังไง อย่าลืมมาบอกกันด้วยน้า ><
สุดท้ายนี้อยากจะฝากไว้ว่า "เสน่ห์ที่แท้จริง" อาจจะไม่ใช่การ "พยายามเป็นหรือทำตามมาตรฐาน" อะไรแต่เป็นการ "ซื่อสัตย์และจริงใจกับสิ่งที่ตัวเองเป็น" ก็ได้นะคะ
クマグミ
สรุปคำศัพท์
自己紹介 (じこしょうかい) = การแนะนำตัว
今 (いま) = ตอนนี้/ขณะนี้
歌 (うた) = เพลง
フィラー = คำเติม เช่น あのう, えーと, えー
ストレス解消 (かいしょう) = การคลายเครียด
行う (おこなう) = ทำ/ดำเนินการ
主題の明示 (しゅだいのめいじ) = การยกหัวข้อ/หัวเรื่องขึ้นมา
大事 (だいじ) = สำคัญ
野球 (やきゅう) = เบสบอล
観戦 (かんせん) = การชมการแข่งขัน
合間 (あいま) = ยามว่าง/ช่วงที่ว่าง
研究 (けんきゅう) = การวิจัย
最近 (さいきん) = ช่วงนี้/ระยะนี้
応援する (おうえんする) = เชียร์
ダントツ/断トツ = อย่างเด่นชัด
最下位 (さいかい) = อันดับต่ำสุด
残念 (ざんねん) = น่าเสียดาย/โชคไม่ดี
ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าวิธีการแนะนำตัวในญี่ปุ่นนี่แตกต่างกับที่ไทยพอควรเลยแรก ๆ นี่ไม่ชินพอสมควร