เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Into the roomDHaeArin
มายไดอารี่ ตอน คุณลูกค้าผู้น่ารัก
  • ร้านอาหารที่เราทำอยู่มีลูกค้ามากมายหลายเชื้อชาติ ในร้านเราก็จะมีป้ายตั้งอยู่หน้าร้าน ป้ายนี้เขียนบอกลูกค้าว่าให้รอพนักงานตรงนี้ก่อน เดี๋ยวจะมีพนักงานออกมาต้อนรับ แล้วพาลูกค้าแต่ละท่านไปยังโต๊ะที่เหมาะสม  ในสภาวะปกติเวลาลูกค้าเข้าร้านมาเด็กเสิร์ฟอย่างเราก็ต้องรีบเข้าไปรับลูกค้า ด้วยท่าทางยิ้มแย้มเป็นมิตร เพื่อสอบถามจำนวนคนที่จะเข้ามานั่ง และพาไปนั่งในโต๊ะที่เหมาะสม


    Step 1: การรับลูกค้า

    *ลูกค้าเข้ามา และยืนรอที่ป้าย*

    เรา: Hi, How are you?ลูกค้า: I'm goodเรา: Would you like table for how many people?ลูกค้า: Table for 2 please.
    เราก็จะเตรียมเมนู 2 เล่ม และพาลูกค้าเข้าไปนั่งที่โต๊ะสำหรับนั่งได้ 2 ท่าน จากนั้นก็ให้เวลาลูกค้าศึกษาอาหารที่อยู่ในเมนูสักพักจึงเข้าไปรับออเดอร์ 

    ชีวิตมันก็จะดีหน่อยๆ ถ้าเจอลูกค้าแบบนี้ไปทั้งวัน แต่ทว่าเวรกรรมเรายังมี ดังนั้น มันก็จะมีลูกค้าบางประเภทที่จะมากระตุกต่อมอารมณ์ดีของเด็กเสิร์ฟอย่างเรา ยกตัวอย่างเช่น

    1. ลูกค้าที่ความหิวบังตาทำให้มองไม่เห็นป้ายที่บอกให้รอ หรือไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร เดินเข้าไปนั่งเลย (พอเด็กเสิร์ฟบอกให้รอ ก็ค่อยมาทำเป็นว่า "อะไรเหรอ? อ้าวมีป้ายให้ด้วยเหรอ? ว๊าแย่จัง")

    ลูกค้าพวกนี้บอกเลยว่าส่วนใหญ่จะเป็นคนจีน (ที่บอกเลยว่าพี่เค้าจะมาแบบสายมึนในทุกๆ เรื่อง) นางก็จะเดินพุ่งเข้าชาร์จโต๊ะที่พวกนางพึงใจแบบไม่รู้กล้วยอะไรเลย  นั่งลงบนเก้าอี้แล้วก็ทำตัวสบายๆ เหมือนอยู่บ้าน รอให้พวกเราเด็กเสิร์ฟเดินเข้าไปหาที่โต๊ะ ถามว่ามากี่คนแบบมึนๆ ถ้านั่งผิดโต๊ะ ก็จะต้องมีการนิมนต์ไปนั่งโต๊ะที่ถูกต้อง จากนั้นเราจึงค่อยเดินกลับไปหยิบเมนูไปให้แบบเมาๆ  


    2. ลูกค้าแบบน้องพลับขอสอง: พวกนี้จะเป็นประเภท มาสองจะขอสี่ มาสี่จะขอห้า มาหาจะขอแปด พูดง่ายๆ ว่ามาคนน้อย แต่ขอโต๊ะใหญ่ อันนี้บางคนอาจจะสงสัยว่าอ้าวทำไมล่ะ ร้านก็ออกกว้าง จะแบ่งโต๊ะใหญ่ๆ ให้ลูกค้านั่งสบายๆ บ้างไม่ได้หรือยังไง?

    ไม่ใช่ว่าขี้หวงหรืออะไร อยากให้เหมือนกันอีโต๊ะเนี่ยะ คือแบบ ถ้าร้านไม่ยุ่งเราก็จะให้โต๊ะใหญ่ได้ ไม่ได้อยากมีปากเสียงใดๆ กะลูกค้า อยากให้นางได้นั่งสบายๆ เหมือนกัน แต่ ณ จุดนี้ ที่เราหมายถึง คือ ลูกค้าที่มาในช่วง ไพรม์ไทม์ อย่างตอนเที่ยง หรือตอนทุ่มนึง อันเป็นเวลาที่ลูกค้าเข้าร้านแบบรัวๆ บางทีมากันแค่ 2 คน ก็ชอบเข้าไปนั่งโต๊ะ หรือว่าขอโต๊ะสำหรับสี่คน คือพี่จะสั่งอาหารมากินกันเยอะมากเลย เลยต้องใช้โต๊ะใหญ่มากขนาดนั้น? แล้วลูกค้า 4 คนที่ยืนรออยู่ข้างหลังพี่ เค้าจะไปนั่งกันตรงไหน? 


    3. ลูกค้าแบบนกเขาคูคู่รัก: พวกนี้จะเป็นแบบที่ตรงข้ามกับข้อสอง คือ มากันสองคน แต่ขอนั่งด้วยกัน ถ้าเราให้โต๊ะแบบ 2 คน เขาก็จะไปนั่งข้างเดียวกัน โดยอาจจะไปนั่งข้างๆ กัน หรือบางทีก็นั่งเกย นั่งตักกันไป นั่งไปจับมือกันไปบ้าง จูบกันไปบ้าง ตักส้มตำกินไปที หันไปจูบกันที บางทีเด็กเสิร์ฟก็แอบเก็บไปคิดแล้วก็สงสัย ว่าพี่ไม่เหม็นส้มตำกันบ้างหรืออย่างไร หรือว่าความรักมันบังตาบังจมูกไม่เห็นสายตาโต๊ะข้างๆ หรือว่าไม่ได้กลิ่นน้ำปลากันไปแล้ว มีแต่กลิ่นมาดามหอมชื่นจาย >< 

    ซึ่งในกรณีนี้ก็มีให้เห็นบ่อย ทั้งแบบชาย-หญิง หรือชาย-ชาย บางทีลูกค้าโต๊ะข้างๆ ทนความอิจฉาไม่ไหวเดินหนีไปเช็คบิลก่อน โต๊ะข้างๆ ก็จะว่าง พี่แกก็จะเอาโต๊ะมาต่อกันเป็นโต๊ะแบบ 4 คน แต่นั่งหนักไปทางเดียวกัน เรียกได้ว่าถ้าเป็นเรือ เรือก็ล่มอ่ะค่ะถ้าพี่จะเล่นนั่งกันแบบนี้ 

    ต้องบอกเลยว่าเรื่องการไปทำสวีทกันนอกสถานที่ นั้นก็มีคนทำกันบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่าบ่อย หรือว่าประเจิดประเจ้ออะไร การที่ลูกค้ามาทำแบบนี้ในร้านอาหารนั้น ก็อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องแปลกอยู่นิดๆ สำหรับคนเอเชียแบบเรา หรือบางทีก็แปลกๆ สำหรับฝรั่งด้วยกันอยู่บ้าง ซึ่งนอกจากเด็กเสิร์ฟจะอิจฉาเองเป็นการส่วนตัวแล้ว บางทีการทำแบบนี้โต๊ะข้างๆ ก็จะแอบเหล่ แบบงงๆ บ้าง เหล่แบบ มึงเบียดกูทำไม ที่ตรงข้ามมีทำไมไม่ไปนั่งบ้าง แล้วก็บางทีก็จะมีสายตาของลูกค้าส่งมาที่เด็กเสิร์ฟประมาณว่า "อิเด็กเสิร์ฟ ทำไมพวกแกไม่ทำอะไรบ้าง ให้มันมานั่งเบียดชั้นอยู่ได้นิ" แต่กรณีนี้เป็นกรณีเดียวที่ไม่สามารถทำอะไรได้เป็นสิทธิส่วนบุคคลของพี่ท่านจริงๆ ค่ะ



    เอาล่ะ ตัดฉอทกลับมาที่ห้องส่ง!!

    หลังจากที่ลูกค้าได้ที่นั่งแล้ว เราก็จะปล่อยให้ลูกค้านั่งอ่านเมนู เมื่อปล่อยให้ลูกค้านั่งอ่านเมนูไปสักพัก เราก็จะเข้าไปสอบถามลูกค้าว่าพร้อมที่จะออเดอร์อาหารแล้วหรือยัง หลังจากรับออเดอร์มาแล้ว เราก็จะคีย์รายการอาหารเข้าไปในครัว จากนั้นก็จะเสิร์ฟน้ำดื่ม


    Step 2: การรับออเดอร์

    ในกรณีที่ลูกค้าเป็นลูกค้าประจำ หรือศึกษาเมนูมาดี นางจะสามารถสั่งได้เลย แบบไม่ติดขัดไม่มีคำถาม

    เรา: Hi, Are you ready to order?
    ลูกค้า: Yes please.
    เรา: What would you like for today?
    ลูกค้า: Could I please have... บลาๆๆ.
    เรา: *ทวนรายการอาหาร* And would you like to get some drinks?
    ลูกค้า: Just water please.


    ในบางกรณีลูกค้าไม่เคยรับทานอาหารไทยมาก่อนก็จะมีการให้แนะนำอาหาร
    เรา: Hi, Are you ready to order?
    ลูกค้า: What are you recommend?
    เรา: What thing do you feel like curry, stir fried or soup?

    จากนั้นเราก็จะแนะนำเมนูที่เหมาะสมกับลูกค้า เพราะบางคนกินเผ็ดไม่ได้ บางคนแพ้กุ้ง บางคนก็แพ้กระเทียม บางคนไม่ชอบกินหัวหอม ซึ่งแบบคนที่นี่เค้ามีของที่แพ้ หรือว่าของที่ไม่ชอบกินกันเยอะมากกกกกกกกกกก ในส่วนนี้ก็ต้องดูแลกันอย่างละเอียดมาก 



    ขอยกตัวอย่าง หัวหอม ที่เป็นส่วนผสมอยู่ในแทบทุกจานของอาหารไทย 

    ลูกค้า: Could I please get Panang Curry with no onion. เรา: Are you allergic with the onion or you just don't like? (คุณแพ้หัวหอมหรือว่าคุณแค่ไม่ชอบหัวหอมคะ?)ลูกค้า: I'm allergic with the onion. เรา: So you can't have that curry because the onion already mixed in the plate sauce (คุณทานอาหารจานนี้ไม่ได้หรอกค่ะ เพราะอาหารที่คุณสั่งมีหัวหอมผสมอยู่ในน้ำพริกเครื่องแกงอยู่แล้ว) 


    แต่ถ้าลูกค้าอยากกินจริงๆ นางก็จะบอกมาเองว่าไม่เป็นไร ทำมาเถอะชั้นกินได้ ซึ่งสิ่งนี้ก็จะเป็นการเผยเป็นนัยๆ ว่าลูกค้าแค่ไม่ชอบกิน และก็แค่ทำเป็นเรื่องมากไปอย่างนั้น แต่เพราะอยากกินจริงๆ ก็เลยต้องยอมเผยหางออกมาเท่านั้น


    อีกตัวอย่างที่โคตรจะเป็นปัญหาเลย นั่นก็คือ พริก ที่เป็นส่วนประกอบหลักในแกง หรือว่าพวกต้มยำ ต้มแซบ โดยจะมีคำถาม Hot hit จากลูกค้าว่า 

    "ยูทำต้มยำกุ้งแบบไม่ใส่พริกเลยได้มั้ย"

    ขอตอบจากใจเลยว่าไม่ได้ เพราะเวลาทำน้ำแกงทีเค้าจะผสมน้ำแกงกันเป็นถังใหญ่ๆ เวลาขายจริงจะได้เอาไปใช้ได้เลย ไม่ได้มาทำกันทีละถ้วยๆ แบบนั้นจะนานมาก ไม่ทันขายกันพอดี ดังนั้นการที่เราจะไปกรองแยกพริกให้ลูกค้านั้นเป็นเรื่องเสียเวลา และเป็นไปไม่ได้อย่างแรงฮ่ะ ดังนั้นพอเจอคำถามนี้เราก็จะตอบแบ่งรับแบ่งสู้ไปว่า


    เรา: The Tom yum Soup suppose to be spicy sir. The chili already mixed in the plate sauce. We can't do that without chili. But we can make it mild for you if you like. (ต้มยำเป็นอาหารที่ควรจะต้องเผ็นนะคะ แล้วพริกก็ผสมอยู่ในน้ำพริกเครื่องแกงอยู่แล้ว เราเลยไม่สามารถปรุงแบบไม่มีพริกเลยได้ แต่ถ้าคุณจะสั่ง เราสามารถทำให้รสชาดอ่อนลงได้ค่ะ)


    ในกรณีแบบนี้ก็จะมีลูกค้าบางคนที่ทานเผ็ดไม่ได้เลย เราก็จะแนะนำเป็นต้มจืด หรือไม่ก็ผัดผักไป ซึ่งก็จะถือเป็นการไกล่เกลี่ยที่ดี แต่ถ้าใครที่อยากสู้ หรือว่าพอไหว ก็จะสั่งให้เราทำรสชาดแบบอ่อนให้
    ในส่วนของการสั่งอาหารนั้นเราสามารถเขียนแยกเป็นอีกตอนหนึ่งได้เลย เพราะว่านอกจากพวกของที่ไม่ชอบกิน ยังมีของที่แพ้มากๆ พวกเราเด็กเสิร์ฟ บางทีก็จำชื่อลูกค้าได้จากรายการอาหารที่ชอบ และไม่ชอบนี่แหละ


    หลังจากรับออเดอร์แล้ว คีย์ออเดอร์เข้าไปในครัว ในครัวจะทำอาหารตามที่สั่งออกมา เราก็จะนำอาหารไปเสิร์ฟกับลูกค้าได้รับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อย ลูกค้ากินเสร็จก็จ่ายเงินกลับบ้านเป็นอันจบพิธี


    อันนี้เป็นรูปที่เราว่าเล่นๆ สำหรับคุณลูกค้าที่น่ารักค่ะ


    เจอกันตอนหน้านะคะ ^^
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in