รีวิวเว้ย (1298) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
"อุดมการณ์ทางการเมืองมีมากกว่าแค่ซ้ายกับขวา" เมื่อเราพูดถึงเรื่องของอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านวิธีการมองแบบ สเปกตรัมการเมือง (Political spectrum) เราจะพบว่าอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ได้ถูกจำกัดกรอบอยู่แค่ในลักษณะของการเคลื่อนที่แบบ 2 มิติ (ในทางฟิสิกส์) ที่แบ่งเป็นฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาเท่านั้น หากแต่อุดมการณ์ทางการเมืองในยุคปัจจุบันสามารถผสมรวมหรือหยิบยืมเอาชุดอุดมการณ์ทางการเมืองในรูปแบบอื่น ๆ เข้ามาผสมกันได้ (เว้นแต่ในกรณ๊ที่อุดมการณ์ทางการเมืองขัดแย้งกันอย่างชัดเจนก็ยากที่จะสร้างความสมเหตุผลของอุดมการณ์ในรูปแบบนั้นได้ อาทิ เผด็จการประชาธิปไตย) ซึ่งความหลากหลายและความลื่นไหนของชุดอุดมการณ์ในลักษณะนี้ทำให้เราจะพบว่าในปัจจุบันพรรคการเมืองที่สมาทานอุดมการร์ทางการเมืองจึงมีการแตกย่อยออกไปเป็นหลากหลายกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองดังที่ปรากฎอยู่ในหลายพรรคการเมืองในยุโรปที่แต่ละพรรคการเมืองมีรูปแบบของอุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละพรรคการเมืองที่ชัดเจน
หนังสือ : การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย
โดย : อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง และภูริภัทร์ เครือนพรัตน์
จำนวน : 84 หน้า
.
"การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" งานวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาไปที่เรื่องของ "ประชานิยมฝ่ายซ้าย" อันหมายถึง "ประชานิยมของความหวัง บนฐานของการให้สัญญากับความต้องการของประชาชน" (คำของผู้เขียน) ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตและการรับรู้ของใครหลายคนว่าแท้จริงแล้วความหมายของคำว่า "ประชานิยม" มีความไหลลื่นมิได้เฉพาสะเจาะจงอยู่แค่กับชุดอุดมการทางการเมืองเพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น โดย "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" ได้ตั้งคำถามของงานศึกษาชิ้นนี้เอาไว้ด้วยกัน 3 ข้อได้แก่
.
(1) อะไรคือปัญหาสำคัญในทฤษฎีประชานิยมฝ่ายซ้าย
.
(2) ทฤษฎีดังกล่าวมีพัฒนาการอย่างไร เมื่อถูกนำมาปีะยุกต์ใช้ผ่านพรรคการเมืองในประเทศต่าง ๆ ทฤษฎีประชานิยมฝ่ายซ้ายนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างไร
.
(3) อะไรคือขีดจำกัดทางทฤษฎีเมื่อเผชิญหน้ากับบริบทเฉพาะทางการเมืองของแต่ละประเทศ พรรคการเมืองที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้มีแนวทางการปรับตัว/รับมือกับข้อจำกัดดังกล่าวอย่างไร
.
สำหรับเนื้อหาของ "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" แบ่งออกเป็น 6 บทที่จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องของ "ทฤษฎีประชานิยมฝ่ายซ้าย" ทั้งในมิติของข้อถกเถียงและพัฒนาการของทฤษฎีดังกล่าว และขยายขอบเขตไปถึงตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีประชานิยมฝ่ายซ้ายของ 3 พรรคการเมืองจาก 3 ประเทศ ที่มีประสบการณ์ของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในแต่ละมุมมองที่แตกต่างกันออกไป กระทั่งรวมไปถึงการศึกษาในเรื่องของปัญหา อุปสรรคและข้อติดขัดที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองของพรรคการเมืองในประเทศที่ยกมาทำการศึกษา โดยเนื้อหาของ "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
.
บทที่ 1 บทนำ
.
บทที่ 2 จากการเคลื่อนไหวเพื่อชนชั้นกรรมาชีพสู่การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างประชาชน: เออร์เนสโต ลาคลาว, ชองตาล มูฟ และการรื้อสร้างลัทธิมาร์กซ์เพื่อประชานิยมฝ่ายซ้าย
.
บทที่ 3 กรณีพรรคโปเดมอส (Podemos) ในประเทศสเปน
.
บทที่ 4 กรณีพรรคซิริซ่า (Syriza) ในประเทศกรีซ
.
บทที่ 5 สร้างประชาชนโค่นล้มเผด็จการ: พรรคอนาคตใหม่กับทฤษฎีประชานิยมฝ่ายซ้ายและการสถาปนาประชาธิปไตยอันตั้งมั่นในสังคมไทย
.
บทที่ 6 บทสรุป บทเรียน และอนาคตของการเมืองของฝ่ายซ้าย
.
เมื่ออ่าน "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" จบลง เราจะพบว่าความน่าสวนใจประการหนึ่งของอุดมการทางการเมืองกลายมาเป็นสิ่งที่คนให้ความสำคัญและยึดมั่น อย่างในกรณีของไทยเองเคยมีงานศึกษาที่บอกว่านโยบายยของพรรคการเมืองหรืออุดมการณ์ของพรรคการเมืองไม่ใช่สิ่งที่ "ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสนใจ" หากแต่ในหลายปีมานี้เราจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในการเมืองไทยที่น่าสนใจในหลายด้านโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของอุดมการณ์ของพรรคการเมือและนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่ง "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" ได้ชี้ชวนให้เรามองดูพลวัตของอุดมการณ์ทางการเมืองชุดหนึ่งทืี่ชื่อว่า "อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง"
.
สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านฉบับเต็มของ "การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย" ได้ที่ https://bit.ly/41AB2Kd
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in