เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้ By Chiara Marletto แปล สุวิชชา จันทร
  • รีวิวเว้ย (1641) เราต้องรู้เรื่องของกฎการอนุรักษ์พลังงาน กฎแรงดึงดูด กฎของความเร่ง และอีกหลาย ๆ กฎในทางฟิสิกส์ไปทำไม ? โดยเฉพาะสำหรับคนที่เรียนมาในสายวิทยาศาสตร์ของระบบการศึกษาแบบไทยด้วยแล้ว การเรียนรู้ว่า F = ma หรือ E = mc² ไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเราต้องเรียนรู้เรื่องนี้ไปทำไมนอกจาก "สอบ" และต้องทำคะแนนสอบให้ดี ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นแค่กับวิชาฟิสิกส์เท่านั้น หากแต่วิชาในสายวิทยาศาสตร์และสายสังคมศาสตร์อื่น ๆ ในระบบการศึกษาแบบไทยต่างเผชิญกับข้อคำถามแบบเดียวกัน เพราะผู้เรียนก็ไม่รู้จะเรียนไปทำไม ซึ่งผู้สอนเองก็อาจจะคิดแบบเดียวกันว่าสอนให้จบ ๆ ไป โดยหลายหนผู้เรียนไม่สามารถตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของความสำคัญ ความจำเป็น ความจริงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความท้าทายทางปัญญา ให้มากไปกว่านั่งท่องจำไปวัน ๆ แบบทุกวันนี้
    หนังสือ : The SCIENCE of CAN and CAN'T ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้
    โดย : Chiara Marletto แปล สุวิชชา จันทร
    จำนวน : 256 หน้า
    .
    "The SCIENCE of CAN and CAN'T" ในชื่อภาษาไทยว่า "ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้" ที่ท้าทายวิธีคิดของโลกวิทยาศาสตร์และโลกวิชาการอย่างการตั้งคำถามถึงการ "ผูกขาด" ความจริงและความถูกต้องขององค์ความรู้โดยเฉพาะในวิชาฟิสิกส์ดังที่ปรากฏในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ผ่านการท้าทายภายใต้การตั้งคำถามว่า หากทฤษฎีฟิสิกส์ที่เคยเป็นจริงและถูกต้องในปัจจุบัน จะไม่เป็นจริงอีกต่อไปในอนาคตจะเป็นเช่นไร แล้วเพราะเหตุใดเราควรเชื่อว่า "ความจริงของความรู้เปลี่ยนแปลงได้เสมอ" แม้แต่องค์ความรู้ของวิชาฟิสิกส์ที่มีการพิสูจทฤษฎีมาอย่างยาวนานแล้วก็ตามที
    .
    "ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้" ชักชวนให้เราลองมองและตั้งคำถามท้าทายความจริงและความเป็นไปได้ขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ว่าการจัดวางความรู้ในฐานะของ "ความจริง" ที่ไม่อาจถูกท้าทายแบบในปัจจุบันดูจะเป็นเรื่องผิดแปลกไปจากธรรมชาติของความรู้ในทฤษฎีฟิสิกส์ และการเชื่อว่าความรู้ทางทฤษฎีคือความจริงที่ถูกต้องถาวร ส่งผลให้งานทางทฤษฎีฟิสิกส์ในปัจจุบันหลายชิ้นเป็นงานที่ต่อยอดจากทฤษฎีฟิสิกส์ของเดิมและขาดไร้ซึ่งความท้าทายต่อความถูกต้องของทฤษฎีดั้งเดิม สำหรับเนื้อหาของ "ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้" แบ่งการบองเล่าออกเป็น 7 บท โดยที่ในตอนท้ายของแต่ละบทประกอบด้วยเรื่องเล่าในท้ายบทที่จะช่วยขยายความเนื้อหาในแต่ละบทให้ชัดเจนขึ้น
    .
    บทที่ 1 สิ่งเช่นนั้นช่างเหมือนฝันที่เสกสรร
    .
    บทที่ 2 พ้นจากการเคลื่อนที่มีอะไร
    .
    บทที่ 3 สารสนเทศ
    .
    บทที่ 4 สารสนเทศเชิงควอนตัม
    .
    บทที่ 5 ความรู้ 
    .
    บทที่ 6 งานและความร้อน
    .
    บทที่ 7 การเดินทางไปเยือนและย้อนคืนถิ่น
    .
    "ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้" นับเป็นหนึ่งในหนังสือที่ท้าทายให้ผู้อ่านตั้งคำถามต่อความจริงและความถูกต้องของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ก็คล้ายกับการชักชวนให้ผู้อ่านลองตั้งคำถามกับความเคยชิ้นเดิมในทุกรูปแบบ ไม่เฉพาะแต่เพียงทฤษฎีฟิสิกส์ดังที่ปรากฏอยู่ใน "ศาสตร์แห่งการทำได้และทำไม่ได้" แต่เพียงเท่านั้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in