เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์การทูต By บรรพต กำเนิดศิริ
  • รีวิวเว้ย (1640) ประวัติศาสตร์การทูตคืออะไร ? เราเรียนประวัติศาสตร์การทูตไปทำไม ? และในโลกยุคปัจจุบันการเรียนวิชาประวัติศาสตร์การทูตยังสำคัญอยู่อีกไหม ? และเส้นแบ่งของเหตุการณ์ที่เราจะเรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์การทูตสมัยใหม่อยู่ที่ตรงไหน ? คำถามเหล่านี้เป็นหนึ่งในคำถามสำคัญของการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ทุกวันนี้องค์ความรู้ของสาขาดังกล่าวมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ความน่าสนใจประการหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์การทูต (PO272) ของคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นอกจากการเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาสาขาการระหว่างประเทศต้องเรียนแล้ว วิชานี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพของความสืบเนื่องเกี่ยวโยงของเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ว่าสิ่งหนึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของอีกสิ่งหนึ่งได้อย่างไรโดยเฉพาะในทางประวัติศาสตร์ของ "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ที่ประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์นับเป็นมรดกตกทอดของหายเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคต
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947
    โดย : บรรพต กำเนิดศิริ
    จำนวน : 368 หน้า
    .
    "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า "ประวัติศาสตร์การทูตเล่มน้ำเงิน" เป็นหนังสือที่ใช้ในการผระกอบการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์การทูต (272) ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะของหนังสทอประกอบการเรียนการสอนเล่มสำคัญ เพราะถ้าไปเปิด ๆ ดูหนังสือเล่มนี้ของหลายคนที่ลงเรียน เราจะพบว่าการเน้นข้อความคัญ การจดประเด็นเพิ่มเติม และอีกสารพัดวิธีที่จะช่วยจดย่อและขับเน้นข้อความในแต่ละช่วงตอนของหนังสือให้กับผู้เรียน
    .
    ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" เป็นหนังสือเล่มสำคัญเล่มหนึ่งสำหรับการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์การทูต และเป็นหนึ่งในหนังสือในกลุ่มวิชานี้ที่ผู้เรียนทุกคนจำเป็นต้องอ่าน เพื่อทำความเข้าใจ การเกิดขึ้น พัฒนาการ และแนวทางความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์โลกในช่วงยุคหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นเป็นการวางรากฐานบางประการให้กับสังคมโลกในยุคปัจจุบัน
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา (สมัย) และแต่ละสมัยยังถูกแยกย่อยออกเป็นบทต่าง ๆ รวมทั้งทั้งสิ้น 18 บท และอีก 1 บทสรุป โดยเนื้อหาของ "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" แบ่งออกเป็นดังนี้
    .
    [สมัยที่ 1 ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1]
    .
    บทที่ 1 การจัดตั้งระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในยุโรปตั้งแต่ยุคกลางตอนปลายจนถึงปี ค.ศ. 1815
    .
    บทที่ 2 ลักษณะการดำเนินการทางการทูตของยุโรป
    .
    บทที่ 3 การประชุมที่กรุงเวียนนา (Congress of Vienna)
    .
    บทที่ 4 สงครามไครเมีย (Crimean War) และปัญหาตะวันออกใกล้ (Eastern Questions)
    .
    บทที่ 5 การรวมประเทศอิตาลี
    .
    บทที่ 6 การรวมเยอรมนี
    .
    บทที่ 7 ยุโรปภายใต้ระบบของบีสมาร์ค (ค.ศ. 1871-1890)
    .
    บทที่ 8 ยุโรปภายใต้ลักษณะดุลแห่งอำนาจ 2 ค่าย (Bi-polar System)
    .
    [สมัยที่ 2 ตั้งแต่การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น]
    .
    บทที่ 9 ลักษณะสำคัญของการทูตช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1919) จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945)
    .
    บทที่ 10 ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
    .
    บทที่ 11 ความพยายามที่จะยุติปัญหาตะวันออก (The Eastern Settlement)
    .
    บทที่ 12 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของยุโรปหลังการทำสนธิสัญญาสันติภาพ
    .
    บทที่ 13 ความมั่นคงปลอดภัยของยุโรปและความพยายามที่จะแก้ปัญหานี้
    .
    บทที่ 14 เยอรมนีภายใต้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ และปัญหาค่าปฏิกรรมสงคราม
    .
    บทที่ 15 อิตาลีและการก้าวเข้ามามีอำนาจทางการเมืองของมุโสลินีและพรรคฟาสซิสต์
    .
    บทที่ 16 ยุโรประหว่างช่วงปี ค.ศ. 1930 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2
    .
    บทที่ 17 สงครามโลกครั้งที่ 2 และการทูตในระหว่างสงคราม
    .
    บทที่ 18 การดำเนินการจัดการกับยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น
    .
    บทสรุป
    .
    เมื่ออ่าน "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" จบลง หลังจากที่เคยอ่านมันมาครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว (ช่วงเรียน ป.ตรี) เราพบว่าความสำคัญประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือการวาง "รากฐาน" ของความรู้ในมิติประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ในช่วงของการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเหตุการณ์หลาย ๆ เรื่องที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้มันคือรากฐานของประวัติศาสตร์โลกช่วงยาว ที่ผลักให้โลกเดินมาถึงยุคปัจจุบัน และปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ใน "ประวัติศาสตร์การทูต ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศ. 1947" มันคือตัวกำหนดโลกในทุกวันนี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in