Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน By วิทย์ สิทธิเวคิน
รีวิวเว้ย (1636) ยากจะปฏิเสธว่ารายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ร้อนแรงและมีผู้ติดตามจำนวนมากในปัจจุบัน (2567) มีอยู่ด้วยกันหลายช่อง และแต่ละช่องทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองและเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป จนอาจจะเรียกได้ว่ายุคสมัยนี้เป็นสมัยของ "นักสื่อสารประวัติศาสตร์" คล้ายกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ที่ทั้งสองต่างมีหน้าที่หยิบเอาเรื่องราวต่าง ๆ มาย่อยให้ง่ายและสื่อสารออกมาให้ผู้ฟังเข้าใจได้โดยไม่ต้องพยายาม แน่นอนว่ามีหลายคนตั้งคำถามถึงความถูกต้องของข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ หลายคนถามหาแหล่งอ้างอิงตามหลักทางวิชาการ แต่เอาเข้าจริงแล้วหน้าที่ของ "นักสื่อสารประวัติศาสตร์" และ "นักสื่อสารวิทยาศาสตร์" มีหน้าที่คือการทำให้คนสนใจในประเด็นและเข้าใจในเบื้องแรกของเนื้อหา เพื่อที่หลังจากนั้นผู้สนใจจะสามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมหรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยตัวเองอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะในยุคสมัยที่การเข้าถึงข้อมูลไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดแต่เพียงอย่างเดียว อย่างในยุคปัจจุบันที่เราสามารถหาข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา หากแต่ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายขึ้นย่อมส่งผลต่อโอกาสในการผิดพลาดของข้อมูลด้วยเช่นกัน ดังนั้นการฟังเรื่องเล่าจากเหล่า
"นักสื่อสารประวัติศาสตร์" และ "นักสื่อสารวิทยาศาสตร์" นับเป็นจุดเริ่มต้นแรกของการกลั่นกรองข้อมูลผ่านช่องทางและชุดข้อมูลที่อาจจะเชื่อถือ แต่ก็จำเป็นที่เราอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
หนังสือ : THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน
โดย : วิทย์ สิทธิเวคิน
จำนวน : 296 หน้า
.
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" หนังสือ (สื่อสาร) ประวัติศาสตร์ ของนักสื่อสารประวัติศาสตร์คนสำคัญอีกคนหนึ่งของยุคปัจจุบัน (2567) อย่าง "เฮียวิทย์" จากรายการ "8 Minute Histoty" รายการ Podcast ประวัติศาสตร์ที่มุ่งมั่นจะนำเสนอเรื่องราวของประวัติศาสตร์ให้ทุกคนรับรู้ รับราบและทำความเข้าใจให้ได้ใน 8 นาที (มีกี่ตอนกันนะที่อยู่ในเวลา 8 นาที) โดยรายการมุ่งนำเสนอเนื้อหาในมิติต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ยุโรป ประวัติศาสตร์เอเชีย ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการพัฒนา และอีกหลายเรื่องราวและเรื่องเล่าของประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในรายการ
.
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" นับเป็นส่วนต่อขยาย หรืออาจจะต้องบอกว่าเป็นส่วนแรกก่อนที่จะนำพาผู้ฟังเข้าสู่เนื้อหาของรายการ Podcast ในแต่ละ EP. เพราะ
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" คล้ายกับบทของ Podcast ของเฮียวิทย์ ที่ต้องมีการศึกษาหาข้อมูล เรียบเรียงให้เรียบร้อยก่อนเริ่มต้นการบอกเล่าในรายการในแต่ละครั้ง หากแต่ในครั้งนี้
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" ฉบับหนังสือ มีการร้อยเรียงและจัดวางเนื้อหาของหนังสือเอาไว้ภายใต้เส้นเรื่องหลักอย่าง "การแข่งขัน" เพื่อขึ้นสู่ความเป็น "อารยะ" ของหลายภูมิภาคและหลายชาติที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ หรือบางชาติก็จากลาความเป็นอารยะไปเสียดื้อ ๆ
.
หากใครสักคนเคยบอกว่า "สงครามคือเครื่องมือพัฒนาโลกให้ทันสมัย" หนังสือ
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" ก็กำลังบอกทุกคนไปในทิศทางคล้าย ๆ กันว่า ความทันสมัยและความเป็นอารยะตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์มีลักษณะของการพัฒนาที่ไม่ต่างจากสงคราม หากแต่เป็นสงครามที่ขับเขี้ยวกันด้วยเครื่องไม้เครื่องมืออื่น ๆ ก่อนจะใช้เหล็กกล้า ถ่านหินและดินปืน
.
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" อาศัยการบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ผ่านวิธีบอกเล่าด้วย "
การจำลองประวัติศาสตร์ (Historical Reenactment)" ที่ให้ผู้อ่านลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาและลองใช้สายตาในการมองประวัติศาสตร์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ในฐานะของผู้ร่วมเหตุการณ์ โดยเนื้อหาของ
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" แบ่งออกเป็น 8 บทที่จะบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลา และอีก 2 บทที่เป็นชนวนแรกก่อนเข้าสู่เนื้อหาอย่างบทปฐม และขมวดปมในตอนท้ายด้วยปัจฉิมบท สำหรับเนื้อหาของ
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" แบ่งเป็นดังนี้
ปฐมบท
.
บทที่ 1 Gutenberg Press ถ้าโลกนี้ไม่มีหนังสือ
.
บทที่ 2 The Age of Discovery ออกเดินทางเพื่อรู้จักโลกของตัวเอง
.
บทที่ 3 Scientific Revolution ยุคแห่งการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
.
บทที่ 4 Age of Enlightenment ยุคเรืองปัญญา
.
บทที่ 5 Industrial Revolution การปฏิวัติอุตสาหกรรม
.
บทที่ 6 The Fall of The Empire จีนถดถอย ญี่ปุ่นทะเยอทะยาน
.
บทที่ 7 The Greatest Loss of Ottoman จากเกรียงไกรสู่ล่มสลาย
.
บทที่ 8 New World Order ระเบียบโลกใหม่
.
ปัจฉิมบท
.
ในฐานะของคนอ่าน ที่ฟังรายการ Podcast ของเฮียวิทย์ อยู่เป็นประจำ รวมถึงยังมีโอการได้ฟังเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากช่องประวัติศาสตร์อีกหลากช่องหลายผู้คน และรวมไปถึงจากการอ่านหนังสือตำราทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์-รัฐศาสตร์ อยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความรู้สึก 2 ประการหลังอ่าน
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" จบลง
.
ประการแรก คือ ความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือประวัติศาสตร์ตามขนบหนังสือ-ตำราทางวิชาการ หากแต่
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" คือหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวภาพรวมของประวัติศาสตร์ช่วงยาวของ "คนรักประวัติศาสตร์" ที่ได้รวมเอาเหตุการณ์สำคัญมาเชื่อมโยงกันภายใต้จุดยึดโยงเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพร่างแผ่นที่ของประวัติศาสตร์โลกผ่านการแข่งขั้นในด้านต่าง ๆ
.
ประการต่อมมา คือ
"THE RACE OF CIVILIZATIONS อารยะแข่งขัน" ช่วยให้ผู้อ่านเห็นความเชื่อมโยงของบริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลเชื่อมโยงต่อกันทั้งโลก ผ่านการเทียบเหตุการณ์และบริบทของเหตุการณ์สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในโลกที่เกิดขึ้นร่วมช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์สากล เพราะเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ในประวัติศาสตร์ ณ สถานที่หนึ่ง ๆ มิได้เกิดขึ้นเองโดยปราศจากปัจจัยหนุมเสริมของช่วงเวลา เรื่องนี้นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของระบบการศึกษาไทยที่มุ่งใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ในการศึกษาในระบบ ทำให้หลายหนผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงบริบทของสังคมโลกมาสู่สังคมสยาม-ไทย ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งกลายเป็นการตัดขาดการเชื่อมโยงสังคมสยาม-ไทย เข้ากับช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โลก
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in