เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ไฮเวยาธิปไตย By ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
  • รีวิวเว้ย (1637) ประเทศนี้จดจำคนตายในฐานะของสถิติตัวเลขและจำแบบประเดี๋ยวประด๋าว เพราะในรอบหลาย 10ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกับกรณีทัศนศึกษาของน้อง ๆ นักเรียนเยอะมากและมีผู้จากไปมากกว่า 151 ชีวิต แต่สังคมนี้ก็ไม่เคยแก้ปัญหาแบบจริงจังสักทีนอกจากหยิบคนตายมาเป็นกระแส (และถอดบทเรียนพอเป็นพิธี)พอมีกระแสใหม่มาคนที่ตายไปก็เป็นแค่รูปบนฝาบ้านของญาติผู้ตาย ก็เท่านั้น

    .

    มีนาคม 2550 - รถทัวร์สระบุรีไฟไหม้ 35ชีวิต

    มกราคม 2560 - รถตู้ชลบุรีไฟไหม้ 25ชีวิต

    มีนาคม 2560 - รถทัวร์ไฟไหม้ อ.แม่สอด 20ชีวิต

    มีนาคม 2560 -รถทัวร์ไฟไหมพลิกคว่ำสระบุรี 30 ชีวิต

    เมษายน 2564 - รถทัวร์ขอนแก่นไฟไหม้ 5ชีวิต

    มกราคม 2566 - รถตู้โคราชไฟไหม้ 11 ชีวิต

    ตุลาคม 2567 - รถทัวร์ไฟปทุมธานีไหม้ 25ชีวิต

    - เหตุรถโดยสารไฟไหม้ (เท่าที่หาได้แบบไวๆ ในโลกออนไลน์) -


    เวลาที่เรามองถนนเส้นหนึ่งเรามักจะคิดถึงอะไร(?)หลายคนอาจจะให้ภาพของถนนเป็นภาพแทนของการเดินทาง การจากลาหรือการกลับมาในสถานที่ที่เราคุ้นเคยหลายคนอาจจะใช้ภาพของถนนแทนภาพของบาดแผลในความทรงจำและหลายคนก็อาจจะมองภาพของถนนในฐานะภาพสะท้อนของการพัฒนาความเจริญโดยเฉพาะรัฐไทยในช่วงสงครามเย็นที่ถนนถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือต่อต้านการขยายตัวของกลุ่มคอมมิวนิสต์หน้าที่ของถนนจึงแตกต่างกันออกไปทั้งจากความคิดของบุคคลและจากความคิดของรัฐช่วงเวลาหนึ่งถนนจึงเคยถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ (indicator) ของการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าและเมื่อไม่นานมานี้ตัวบ่งชี้ที่ว่าด้วยเรื่องของถนนลูกรังและถนนราดยางก็ยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ถูกหยิบใช้ในเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในสังคมการเมืองไทยแต่นอกเหนือไปจากเรื่องของการเป็นตัวบ่งชี้ความเจริญแล้ว ถนนยังมีเบื้องลึกเบื้องหลัง ที่เราคาดไม่ถึงอีกมาก อาทิเรื่องของการสั่งสมทุนทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น อาจเรียกได้ว่าถนนเป็นโรงละครแห่งชีวิตอีกโรงหนึ่งที่สำหรับบางคนมันเป็นจุดเริ่มต้นและสำหรับใครอีกหลายคนถนนคือจุดจบของละครชีวิตที่ดำเนินไป

    .

    หนังสือ : ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย

    โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

    จำนวน : 384 หน้า

    .

    "ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ประการคือ (1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลวัตและบทบาทของระบบทางหลวงต่อสังคมไทยนับแต่ครั้งอดีตในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 กระทั่งปัจจุบัน และ (2)เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ระบบทางหลวงส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมไทยซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอภาพของทางหลวงผ่านสิ่งที่เรียกว่า "ไฮเวยยาธิปไตย"อันเป็นที่มาของชื่อหนังสือ "ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย"

    .

    โดยผู้เขียนได้ให้นิยามของ"ไฮเวยาธิปไตย " เอาไว้ว่า "เป็นคำที่ผู้เขียนสร้างขึ้นมาจาก 2 คำนั่นคือ ไฮเวย์ ที่แปลตามตัวอักษรว่าทางหลวง และคำว่าอธิปไตย ที่แม้จะมีความหมายในเชิงอำนาจทางการเมืองว่าอำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตนยังมีความหมายว่าความเป็นใหญ่ที่ถูกใช้ร่วมกับคำอื่นอย่างประชาธิปไตยไฮเวยาธิปไตยจึงมุ่งหวังที่จะชี้ให้เห็นถึง 'อำนาจอันมหาศาลของการสร้างทางหลวงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัต'การเปลี่ยนแปลงของการสัญจรระดับประเทศ-ท้องถิ่นซึ่งได้รับผลกระทบต่อมิติทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นผังเมืองหรือการตั้งถิ่นฐานอื่น ๆเช่นเดียวกับมิติสังคมและวัฒนธรรม มิติเศรษฐกิจและมิติสิ่งแวดล้อม" (น.3)

    .

    สำหรับเนื้อหาของ "ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย"บอกเล่าเรื่องราวของทางหลวงหรือไฮเวย์ของไทยตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2455 - 2563โดยบอกเล่าผ่านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของก่รพัฒนาระบบการขนส่งทางถนนของสยาม-ไทยจากครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบันรวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวของพัฒนาการทางถนนที่ผูกโยงอยู่กับเรื่องของสงครามการเมือง และการครอบงำด้วยชุดวิธีคิดของการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบรวมไปถึงการบอกเล่าเรื่องราวของการสูญเสียที่เกิดขึ้นบนท้องถนนผ่านสถิติ ตัวเลขและการตั้งคำถามถึงรากฐานที่มาของอุบัติเหตุที่อุบัติขึ้นในแต่ละเหตุได้อ่านน่าสนใจสำหรับเนื้อหาของ "ไฮเวยาธิปไตย อำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย"แบ่งออกเป็น 5 บทดังต่อไปนี้

    .

    บทที่ 1 บทนำ

    .

    บทที่ 2พัฒนาการของไฮเวยาธิปไตยภายใต้อุดมการณ์ระบบราชการและการเมืองไทย

    .

    บทที่ 3 เทพบุตรทางหลวงอำนาจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมืองและชนบทอันเนื่องมาจากไฮเวยาธิปไตย

    .

    บทที่ 4 มัจจุราชทางหลวงว่าด้วยการเดินทางอุบัติเหตุ และการสูญเสียอันเนื่องมาจากไฮเวยาธิปไตย

    .

    บทที่ 5 บทสรุป

    .

    "ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย"ทำให้เราได้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วถนนเป็นมากกว่าถนนที่ผู้คนสัญจรไปมาเพราะแท้จริงแล้วเมื่อเรามองถนนเส้นหนึ่งเราอาจจะเห็นอะไรหลายอย่างอยู่ก่อนระหว่าง หลัง ถนนเส้นนั้น ๆ อาทิ การเมืองของการสร้างถนนเป้าหมายของการสร้างถนนหนทางขึ้นมากลุ่มทุนกลุ่มการเมืองที่เติบโตและได้โอกาสในการสั่งสมความมั่งคั่งจากการพัฒนาของถนนและรวมไปถึงการสูญเสียที่ไม่ใช่แต่เพียงตัวเลขที่ภาครัฐเก็บในฐานะสถิติตัวเลขหากแต่ตัวเลขการสูญเสียที่ถูกบันทึกไว้ เป็นพ่อ แม่ พี่ น้องและครอบครัวของใครสักคนเสมอ ซึ่ง "ไฮเวยาธิปไตยอำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย"ย้ำเตือนกับเราว่าในหลายครั้งการสูญเสียที่เกิดก็มิใช่เรื่องของบาปกรรมหรือความบังเอิญหากแต่ในหลายๆหนถนนเองเสียอีกที่เป็นต้นทางของการสูญเสียที่อาจป้องกันได้ด้วยการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in