เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก)
  • รีวิวเว้ย (1552) อะไรที่จะช่วยทำให้ใครสักคนกลายเป็นคนสำคัญของโลก ประเทศ หรือรัฐขึ้นมาได้บ้าง ลองคิดเร็ว ๆ ความสามารถ อำนาจ เงินทอง กองทัพ คุณความดี บารมี สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นเครื่องค้ำยันให้กับใครสักคน กลายมาเป็นคนสำคัญของสถานที่หนึ่งได้ และถ้าลองย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย แล้วนับย้อนกลับไปในครั้งอดีตที่คำว่าประเทศไทย ประเทศสยาม ยังไม่เกิดขึ้น และลองถามคำถามเดียวกันว่า "สิ่งใดคือเครื่องค่ำยันให้คนหนึ่งคนกลายมาเป็นคนสำคัญของที่แห่งนั้น" หากลองใคร่ควรดูอาจพบว่า "อำนาจและพละกำลัง" น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นได้ หากย้อนกลับไปอ่านงาน "โลกที่ (คิดว่า) คุ้นเคย" เราจะพบว่าเจ้ากรมช้างอย่างพระเพทราชา มีอำนาจขึ้นมาได้ด้วยเสาค้ำอย่างอำนาจและพละกำลังเช่นกัน ซึ่งโครงสร้างของเสาค้ำดังกล่าวยังคงปรากฎอยู่บ่อยครั้งในสังคมแห่งนี่นับตั้งแต่ครั้งอดีต มากระทั่งจนถึงปัจจุบันที่ถ้าเราลองมองให้ดีเราอาจจะพบว่าการอธิบายบริบทของอำนาจการเมืองไทยในปัจจุบัน อำนาจและพละกำลังก็ยังคงใช้ได้ในการอธิบายสถานะ แต่องค์ประกอบบางประการของสิ่งที่ประกอบสร้างจนเป็น "อำนาจและพละกำลัง" อาจจะเปลี่ยนรูปแบบหรือรูปร่างไปบ้างในยุคปัจจุบัน
    หนังสือ : โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก) ความคิดทางการเมืองไทยจากพระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4
    โดย : สมเกียรติ วันทะนะ
    จำนวน : 352 หน้า
    .
    "โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก) ความคิดทางการเมืองไทยจากพระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4" หนังสือที่ศึกษา "ความคิดทางการเมืองไทย" ในช่วงเวลาของเจ้าผู้ครองแผ่นดินอยุธยา ถึงสยามจำนวนทั้งสิ้น 6 พระองค์ ดังที่ชื่อของหนังสือบอกเอาไว้ว่าศึกษาตั้งแต่สมัยของ "พระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4" โดยที่เนื้อหาของหนังสือให้ความสำคัญกับการศึกษาถึงบริบทของ "อำนาจ" ในแต่ละรัชสมัย ที่เมื่อเราไล่อ่านไปทีละบทเราจะพบจุดรวมกันในเรื่องของความคิดทางการเมืองของแต่ละช่วงเวลามีจุดโยงใยกันอยู่ที่ฐานของ อำนาจ วาสนา และบารมี ที่ถ้อยคำทั้ง 3 นี้สามารถนำมาใช้อธิบายบริบทของความคิดทางการเมืองในแต่ละช่วงรัฐสมัยได้เป็นอย่างดี
    .
    โดยที่ในเล่มของ "โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก) ความคิดทางการเมืองไทยจากพระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4" ได้แสดงสมการเชิง "อำนาจและวาสนา" เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า
    .
    "อำนาจ = ไพร่พล + ยศ + ความมั่งคั่ง" และ "วาสนา = อำนาจ + กาละ + เทศะ" (น. 39)
    .
    และเมื่อเราลองอ่านเนื้อหาในแต่ละช่วงรัชสมัยจะพบว่าสมการเชิงอำนาจและวาสนาสามารถนำมาใช้อธิบายบริบทของแต่ละช่วงเวลาในแต่รัชกาลแผ่นดินของแต่ละพระองค์ได้อย่างน่าสนใจ
    .
    "โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก) ความคิดทางการเมืองไทยจากพระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4" ได้ทำการศึกษาความคิดทางการเมืองไทยของแต่ละรัชสมัยด้วยการพาเราไปทำความเข้าใจถึงบริบทของอำนาจและวาสนาของแต่ละช่วงเวลาได้อย่างน่าสนใจ ทั้งการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ที่กลายมาเป็นฐานสำคัญของอำนาจในแต่ละช่วงเวลา และพาเราไปศึกษางานวรรณกรรม วรรณคดี และหลักฐานอื่น ๆ ที่ชี้ให้เรามองหาความสัมพันธ์ของหลังฐานเหล่านั้นกับสมการเชิงอำนาจ และอำนาจที่ทำหน้าที่เป็นเสาค้ำยันในแต่ละช่วงเวลาเอาไว้
    .
    และที่สนุกไปกว่านั้นคือถ้าเราลองเอาเนื้อหา แนวคิด วิธีการศึกษาของ "โลกที่อำนาจเป็นใหญ่ (วโส อิสริยัง โลเก) ความคิดทางการเมืองไทยจากพระเจ้าเอกทัศถึงรัชกาลที่ 4" มามองความคิดทางการเมือง ของประเทศไทยในช่วงเวลาปัจจุบันและลองเอาสมการทางอำนาจและวารสนามาปรับเข้ากับบริบทปัจจุบัน เราอาจจะพบว่ามันมีอะไรบางอย่างที่อาจจะไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยตั้งแต่หลังการเสียกรุงศรีอยุทธยาครั้งที่ 2 กระทั่งถึงปัจจุบัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in