26 ตุลาคม 2560
วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระผู้เป็นที่รักยิ่งของชาวไทย พระผู้ซึ่งสถิตในใจชนทุกหมู่เหล่าพระผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก คุณความดีของพระองค์มีมากล้นเกินบรรยาย พระองค์มิใช่เพียงกษัตริย์ที่เปรียบดั่งความเชื่อตามคติเทวราชาที่สั่งสมมานับพันปี หากแต่ องค์ภูมิพล คือ พลังแผ่นดินกษัตริย์ที่ทำให้ฟ้าเข้าใกล้ดิน ราษฎรทุกคนรับรู้ได้ ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์กว่า 7 ทศวรรษพระองค์ไม่เคยคิดที่จะหยุดทำความดีเพื่อประโยชน์ของราษฎรดั่งพระปณิธานที่ทรงตั้งมั่นว่า
คำว่า ธรรม นี้ หมายถึง สิ่งที่ดีงามดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ผู้ชายเพียงคนเดียวที่ทำให้คนทั้งประเทศศรัทธาในพระองค์ ยึดมั่นพระองค์เป็นศูนย์รวมจิตใจ รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านโบราณคดี-มานุษวิทยา กล่าวว่า สิ่งที่พระองค์ทำชนะใจประชาชนจึงได้เกิดการร่ำไห้มากมาย นี่คือการชนะที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่ชนะเป็นราชาธิราช หากแต่เป็นการครองใจคนโดยโน้มพระองค์ลงมา
กษัตริย์ผู้เปรียบดั่งหัวใจแผ่นดิน การสวรรคตของพระองค์จึงเปรียบดั่งการบีบหัวใจที่บรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ เมื่อเทวดาเดินดินต้องกลับสวรรค์ ดังนั้นงานพระเมรุมาศจึงต้องสมพระเกียรติและเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดให้สมกับความดีของพระองค์และสถิตในใจชนตราบนิจนิรันดร์
ไฟฟ้า คงหมายถึงการทำให้เกิดไฟจากฟ้าซึ่งมีแสงจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ การพระราชทานเพลิงที่มาจากแสงอาทิตย์ยังเป็นวิธีการสืบทอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริว่า สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ไม่ใคร่เสด็จไปงานฌาปนกิจ ยกเว้นพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดเป็นพิเศษหรือข้าราชการที่ประกอบคุณงามความดีความชอบควรได้รับพระราชทานเป็นเกียรติแก่ผู้ล่วงลับและวงศ์ตระกูล
ส่วนใหญ่จะโปรดเกล้าฯให้สำนักพระราชวังอัญเชิญ ไฟหลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานหากเป็นผู้มีความดีความชอบจะทรงพระกรุณาจุดไฟหลวงด้วยพระหัตถ์โดยการใช้แว่นแก้วสูรยกานต์ส่องกับแดดจนเกิดไฟแล้วเจ้าพนักงานรับพระราชทานโคมแก้วสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นไฟหลวงมาพระราชทานเพลิงศพผู้นั้นต่อไป
ในคราวถวายพระเพลิงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงส่องพลังงานความร้อนจากแสงดวงอาทิตย์ด้วยพระแว่นสูรยกานต์ ไว้ก่อนถึงวันกำหนดถวายพระเพลิงแล้วเลี้ยงเพลิงไว้ซึ่งเจ้าพนักงานได้ตั้งแต่งมณฑปสำหรับเลี้ยงเพลิงไว้ 1 องค์แล้วอัญเชิญมายังพระเมรุมาศ
เอกสารอ้างอิง
นนทพร อยู่มั่งมี. ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: มติชน,2559.
สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต.https://www.khaosod.co.th/the-royal-cremetion/news_577535.ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560
ติดตามผ่าน Facebook Page ตำนานเก่าเจ้านายสยาม
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in