เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ธรรมศาสตร์-ทำไม-สาดChaitawat Marc Seephongsai
วิชาคณะ อยากบอกเธอ "Dog" ครั้งแรก
  •           ในชีวิตนี้เคยได้หมากันมั้ยครับ เออเดี๋ยวอย่าเพิ่งคิดอะไรมากไปกว่า หมาที่เป็นสัญลักษณ์แทนเกรดสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษานะครับ (ที่ต้องดักไว้แบบนี้ เพราะเพื่อนผู้เขียนเคยตีความว่าการ "ได้หมา" หมายถึงการ "ได้กับหมา" แค่คิดก็ทุเรจสมองแล้ว ครับ ดังนั้นต้องขอดักเอาไว้ก่อน) การได้หมา หรือ Dog ในระดับอุดมศึกษานั้นหลายคนอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สำหรับอีกหลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องใหญ่มากของชีวิต ถึงขนาดตั้งคำถามกลับมาเลยก็มีว่า "เรียนยังไงให้ได้ Dog" ตอบนากนะครับ สำหรับคำถามแบบนี้ แต่จะทำไงได้ว่ะ ก็ทำดีที่สุดแล้ว แต่อาจารย์ก็เป็นองค์อธิปัตย์ของห้องนี่หว่า ก็คิดซะว่าได้ "D" ก็ยังดีกว่า "F" ละเนอะ

              การได้หมาครั้งแรกของผมนั้นมันเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนปี 1 เทอมที่ 2 ตอนปี 54 ครับ จำได้ดีว่าตอนนั้นเป็นภาคการศึกษาที่บรรดานักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จะได้เริ่มเรียนวิชาคณะเป็นครั้งแรก และคณะรัฐศาสตร์ภาคปกติที่เรียนที่ศูนย์รังสิต มีด้วยกัน 3 สาขา คือ (1) การเมืองการปกครอง (2) การระหว่างประเทศ (3) บริหารรัฐกิจ และทั้ง 3 สาขานี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า (1) วิชาแกน (2) วิชาบังคับสาขา (3) วิชาเลือกสาขา เอาเป็นว่าเราค่อย ๆ มาทำความเขาใจพวกมันไปทีละอันก็แล้วกันนะครับ 

              (1) วิชาแกน : สำหรับวิชาแกนนั้น เป็นวิชาที่ทางคณะจะบัคับให้นักศึกษาทั้ง 3 สาขาต้องเรียน ซึ่งวิชาต่าง ๆ ก็จะประกอบไปด้วยวิชาของจากทั้ง 3 สาขาที่เป็นพื้นฐานที่คนจะเป็นนักรัฐศาสตร์ในอนาคตจำเป็นต้องมีความรู้ ไม่ว่าจะเป็น PO211 รัฐศาสตร์พื้นฐาน ,PO271 การระหว่างประเทศเบื้อต้น ,PO241 บริหารรัฐกิจเบื้องต้น ,PO210 ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น ,PO380 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ,PO321 การเมืองไทย ,PO320 การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ ฯลฯ นี่คือตัวอย่างของวิชาบังคับที่นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ทั้ง 3 สาขาต้องพบเจอ

              (2) วิชาบังคับสาขา : สำหรับวิชาบังคับสาขาชื่อก็บอกตรง ๆ อยู่แล้วว่าเป็นวิชาลังคับสำหรับสาขานั้น ๆ ต้องเรียน เช่น PO222 การเมืองการปกครองท้องถิ่น ,PO311 การเมืองภาคประชาชน ,PO322 สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญ ,PO425 กฎหมายปกครองสำหรับนักรัฐศาสตร์ นี่คือตัวอย่างของวิชาบังคับสาขาการเมืองการปกครอง ส่วนของการระหว่างประเทศและรัฐกิจนั้นก็จะมีวิชาบังคับสาขาของตัวเองแยกออกไปอีกมากมาย 

              (3) วิชาเลือกสาขา : วิชาเลือกสาขานั้น จะเป็นวิชาที่มีเอาไว้ให้นักศึกษาในแต่ละสาขาทำการเลือก คือ เลือกเพิ่มเติมจากวิชาบังคับสาขา แต่มีข้อกำหนดที่ว่าจะต้องเลือกเอาเฉพาะวิชาที่อยู่ในสาขาของตนเท่านั้น อย่างเช่น ถ้าอยู่สาขาการเมืองการปกครองก็จะเลือกได้แต่งิชาของสาขาการเมืองการปกครองเท่านั้น หรือบางครั้งเราอาจจะเปรี้ยวออกไปเลือกวิชานอกสาขาก็ได้ แต่ต้องดูข้อกำหนดของแต่ละวิชาอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง 

              หลังจากทำความรู้จักกลุ่มวิชาของคณะรัฐศาสตร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็กลับมาเข้าเรื่องของเราสักที

              สำหรับวิชาที่ผู้เขียนได้หมามาเป็นครั้งแรกนั้น เป็นวิชาแกนของสาขาการเมืองการปกครอง นั่นคือวิชา PO2... ซึ่งเป็นวิชาแกนสาขาของผู้เขียนอีกทีหนึ่งด้วย เพราะผู้เขียนเรียนสาขาการเมืองการปกครอง สำหรับวิชา PO2... นั้นผู้เขียนยังคงจำบรรยากาศการเรียนการสอนได้อย่างดี โดยเนื้อหาของวิชาจะว่าด้วยเรื่องของแนวคงามคิดพื้นฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการรัฐศาสตร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย หลังคิดเรื่องของปรัชญา นักคิดที่ส่งผลต่อการก่อรูปทางการเมือง หรือนักคิดที่ส่งผลต่อปรัชญาการเมือง แรงจูงใจของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง อะไรที่เรียกว่าการเมือง อะไรคือองค์ประกอบของการเมือง อะไรคือประชาธิปไตย อะไรคือคณาธิปไตย และอะไรคือเผด็จการ เรียกได้ว่าเนื้อหาที่ต้องเรียนในวิชานี้เยอะแยะยุบยับไปหมด ยังเท่านั้นยังไม่พอ วิธีการเก็บคะแนนของวิชานี้ ยังใช้วิธีเก็บคะแนนแบบสอบครั้งเดียว 100 คณะแนนกันไปเลย เรียกได้ว่าถ้ารอดก็รอดถัาไม่รอดก็ร่วง 

              จำได้ว่าตลอดระยะเวลาของการเรียนการสอน เนื่องจากวิชาที่เรียนเป็นวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคนในคณะต้องเรียน ทำให้พวกเราต้องเรียนรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ในห้องเรียนที่มีขนาดโคตรใหญ่ และเมื่อห้องเรียนโคตรใหญ่ นักศึกษาด้านหลัง ๆ ก็จะนั่งโคตรไกลจากอาจารย์ และเมื่อมันนั่งโคตรไกล มันก็จะเริ่มโคตรคุย และเมื่อมันเริ่มโคตรคุย พวกมันก็จะคุยกันโคตรดัง เมื่อมันคุยกันโคตรดัง อาจารย์ผู้สอนก็จะเริ่มด่า พอด่าไปสักพักมันยังไม่หยุดอาจารย์ก็จะเบาเสียงลง เมื่อเบาเสียงลงแล้วยังไม่หยุด อาจารย์ก็เก็บของแล้วเดอนออกจากห้อง จำได้ว่าตอนนั้นทั้งห้องอึ้งแดก !!! เมื่ออาจารย์เก็บของแล้วเดินออกจากห้อง ความบรรลัยมันอยู่ตรงนี้ครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่มีคลาสล่ม เมื่อนั้นการตรวจข้อสอบของอาจารย์จะยากฉิบหาย เรียกได้ว่าฆ่าเพราะความแค้นเลยทีเดียว และหลังจากที่อาจารย์เดินออกจากห้อง อาจารย์ก็จัดแจงอัพเฟส อัพทวิส ด่าเป็นที่เรียบร้อย และจะมีอาจารย์อีกท่านเข้ามาปั่นว่าไม่เคารพกันแบบนี้ตัดเกรดมันโหด ๆ ไปเลยครับอาจารย์ (สบายละกู) 

              เมื่อมาถึงวันสอบความหายนะก็บังเกิด เมื่ออาจารย์กำหนดว่าจ้อสอบจะมีจำนวนช่องให้ตอบคำถามที่จำกัด อย่าตอบเกินตอบเกินหักคะแนน และอาจารย์จะให้คะแนนแยกออกเป็นกลุ่มคือ (1) กลุ่มนอกคณะ (2) กลุ่มในคณะ และกลุ่มในคณะก็ย้งแยกเป็น (2.1) สาขาปกครอง (2.2) สาขาการระหว่างประเทศ (2.3) สาขาบริหารรัฐกิจ แน่นอนสาขาปกครองต้องถูกตรวจข้อสอบแบบโหดหอนที่สุด 

              จำได้ว่าก่อนสอบผู้เขียนทำหน้าที่ติวเนื้อหาทั้งหมดที่เรีบนมาใหักับเพื่อน ๆ เกือบ 10 คน และเมื่อวันสอบมาถึงผู้เขียนก็ได้นั้งทำข้อสอบอย่างสบายใจ เพราะเราเองเป็นคนติวให้เพื่อนแบบนี้ก็สบาย ๆ แต่ตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าจะเกิดเรื่องบ้าบ่อคอหอยพอกกับตัวเอง เมื่อปากกาน้ำเงินที่เตรียมมาหมึกหมด ทำให้ต้องหยิบเอาปากกากำขึ้นมาเขียนคำตอบแทนปากกาน้ำเงิน หละงจากสอบเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ผ่านไปอีกประมาณ 3 เดือนเกรดก็ออก (ธรรมศาสตร์เป็นมหาลัยที่ออกเกรดช้าในระดับเต่าถูกจับให้นอนหงายแล้วค่อย ๆ ไถลกระดองไปยังไวกว่าการออกเกรดของสำนักทะเบียน) เมื่อเกรดออกผู้เขียนก็ได้เข้าไปทำการตรวเช็คเกรดของวิชา PO2... แล้วเมื่อเข้าไปดูก็ต้องขยี้ตาอยู่ 2-3 รอบว่ามันใช่หรอว่ะ กูได้ D+ จริง ๆ หรอวะ เมื่อรู้เกรดเป็นที่เรียบร้อยผู้เขียนก็ทักไปหาบรรดาเพื่อน ๆ ที่ผู้เขียนติวข้อสอบวิชานี้ให้ ทุกคนก็บอกว่าได้ B B+ กันแทบทั้งนั้น เดี๋ยวนะแล้วทำไมกูได้ D+ เนี่ย หรือเพราะกูใช้ปากกาดำเขียนข้อสอบวะ (ทุกวันนี้ก็ยังไม่กล้าถาม อ. เรื่องนี้ เอาจริง ๆ ก็รู้นะว่าเราพลาดเองที่เขียนอะไรที่มันดูไม่มีความรู้รัฐศาสตร์ลงไปในข้อสอบ) 

              เอาเป็นว่าการได้หมาครั้งแรกในชีวิตครั้งนั้น มันได้เปลี่ยนผู้เขียนไปตลอดกาล จากคนที่เคยวาดฝันว่าจะต้องได้เกียรตินิยม กลับกลายเป็ยว่าเมื่อได้ D แล้วโอกาสก็จะยากมากที่จะได้เกียรตินิยม ด้วยเหตุนี้ตลอด 4 ปีหลังจากนั้นผู้เขียนก็เรียนแบบเพลิน ๆ ไม่เครียกอีกเลย และจบปริญญาตรีด้วยเกรดเฉลี่ย 3.16 หลังจากเรียนจบก็คิดนะ ว่าได้เท่านี้ก็ดีแค่ไหนแล้ววะ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้จากการได้หมาในครั้งนั้น คือบทเรียนที่ว่า ชีวิตคนเรามันก็ต้องเจอเรื่องผิดหวังบ้าง ถึงจะแข็งแกร่ง และอยู่รอดบนโลกใบนี้ที่มันโคตรจะโหดร้าย

    หมายเหตุ : งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนที่มีอคติของผู้เขียนอยู่เต็ม ๆ และเป็นความรู้สึกของผู้เขียนหลังจากเกรดวิชา PO2... ออกมาจริง ๆ แต่ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกที่คิดอยู่บนฐานที่ว่า "ตัวเราเองถูกเสมอ" 

    แต่เมื่อได้เรียนวิชา PO... กับอาจารย์ท่านเดิมอีกครั้ง มันก็ทำให้ผู้เขียนเห็นว่า D+ ที่ได้มาตอนนั้นนะมันถูกต้องแล้ว เพราะตอนนั้นเราไม่ได้เข้าใจ concept ของสิ่งที่อาจานย์สอนเลยแม้แต่น้อย 

    อย่างไรก็ดี งานชิ้นนี้ผู้เขียน ต้องการให้รุ่นน้อง หรือใคร ๆ ก็แล้วแต่ ที่มีอคติกับตัววิชา หรือครูผู้สอน ลองหันกลับมามองตัวเองสักครั้งว่ามันผิดที่ใคร ที่เราได้ D+ มันเป็นเพราะอะไร 

    เพราะเอาเข้าจริง ตอนนั้นเราไม่เคยโทษตัวเองเลยว่า "เออก็กูเนี่ยแหละที่พลาดเอง" งานชิ้นนี้จึงต้องการเตือนสติทุกคน ว่าลางครั้งความผิดมันก็ไม่ใช่ของใครเลยนอกจาก "ตัวเรา" 

    และเนื่องจากงานชิ้นนี้ มีการพาดพิงถึง อาจารย์ผู้สอนวิชาดังกล่าว ผู้เขียนต้องกราบขออภัยอาจารย์ เป็นอย่างสูง มา ณ ที่นี้ 

    และต้องกราบขออภัย ที่ตอนเกรดวิชานั้นออก ผู้เขียนไม่เคยย้อนมองดูตัวเองด้วยซ้ำ ว่าเราพลาดอะไรตรงไหน

    ปล. (1) งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียน ที่เขียนออกมาจากความรู้สึก ณ ตอนที่เกรดออกจริง ๆ 

    ปล. (2) ถ้าคุณอ่านแล้ว และกำลังมีอคติกับครูผู้สอน ผู้เขียนแนะนำ ให้ไปลงวิชาที่ ครูท่านนั้นสอนอีกสักครั้ง และอคติที่คุณเคยมีมันจะเปลี่ยนไป

    ต้องขออภัยอาจารย์เป็นอย่างสูง 
    ด้วยความเคารพ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in