ถ้ายังจำกันได้เมื่อตอนปี 2554 หรือเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ดี ๆ ก็กลายร่าวเป็นอ่างเลี้ยงปลา เรียกได้ว่าปลาแวะเวียนว่ายวนเข้าไปหาคนไทยหลาย ๆ คนถึงในห้องนอน (ชั้น 2) ที่สำคัญกว่าที่กองทัพปลา และน้องน้ำจะแวะไปทักทายญาติสนิทมิตรสหาย ตามรายทางไล่ตั้งแต่จังหวัดทางภาคเหนือลงมาจนถึงกรุงเทพฯ
แต่ก่อนที่น้ำจะเข้ากรุงเทพฯ ในระหว่างที่มวลน้องน้ำ และกองทัพน้องปลา แวะยั้งทัพอยู่ ณ ค่ายโพ 3 ต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนตัวเอง จากมหาวิทยาลัย กลายเป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และในท้ายที่สุดธรรมศาสตร์ก็กลายเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง
เมื่อตอนน้ำท่วมปี 54 ผู้เขียนเข้าเรียนปี 1 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พอดิบพอดี (รหัส 54) และในปีนั้นเอง ที่ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนวิชา TU100 วิชา "พลเมือง" ซึ่งสอนความเป็นพลเมืองให้กับนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เข้าใหม่ทุกคน (หลายคนเรียกมันว่าวิชาสร้างภาพ) และตัวผู้เขียนได้เรียน sec ของชายผู้เป็นต้นคิดของวิชานี้ ถือได้ว่าเป็น "บิดา" แห่งวิชาพลเมืองนั่นก็คือ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ณ ช่วงเวลาดังกล่าว
หลังจากเริ่มเรียนวิชา TU100 และเรียนจนจบภาคเรียน กลุ่มเพื่อนของผู้เขียน ก็ได้มีโอกาสร่วมงานกับอาจารย์ปริญญา อีกในหลายโอกาส แต่โอกาสที่ดูจะเปลืองตัว และเสียสุขภาพมากที่สุด นั่นคือตอนที่ธรรมศาสตร์เปลี่ยนตัวเองให้เป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จำได้ว่างันเปิดศูนย์ ผู้เขียนกับเพื่อนได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ปริญญา ให้มาช่วยจัดการเรื่องสถานที่พักให้กับประชาชนที่ประสบภัยฯ เรียกได้ว่าวันนั้น คน 3 คนที่เริ่มเปิดศูนย์ฯ ก็คือตัวของผู้เขียน เพื่อนและอาจารย์ปริญญา โดยตอนนั้นได้เลือกใช้ยิม 2 ซึ่งอยูาภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ สำหรับเป็นที่พักของผู้ประสบภัย และเมื่อได้สถานที่เป็นที่เรียบร้อย นักศึกษาธรรมศาสตร์หลาย ๆ คนได้รวมตัวกัน เพื่อเข้ามาช่วยเหลือในการจัดสถานที่ รวมไปถึงการจัดเตรียมอาหาร ที่นอน และจัดการล้างห้องน้ำ เตรียมสถานที่อาบน้ำ รวมไปถึงการเตรียมกระสอบทรายเพื่อส่งไปให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่
ทีมของผู้เขียนและเพื่อน ในเวลานั้นได้รับหน้าที่จากอาจารย์ปริญญา ให้เป็นผู้ดูแลเรื่องของการจัดสถานที่ ให้กับผู้ประสบภัย ที่เพิ่มจำนวนจากเดิมที่อยู่ยิม 2 แต่ไม่เพียงพอต่อปริมาณของผู้ประสบภัย จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ยิม 1 หรือหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย ที่วามารถจุคนได้หลายหมื่นคน โดยมีทีมของผู้เขียนและเพื่อน ทั้งสิ้น 7 คนถ้วน ในการรับหน้าที่ดูแลเรื่องของที่หลับที่นอนของผู้ประสบภัย
เรียกได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่หายนะที่สุดในชีวิต นับตั้งแต่เกิดมา เพราะกว่าจะจัดที่นอน ขัดห้องน้ำ เปลี่ยนหลอดไฟ ซ่อมก๊อกน้ำ ฯลฯ ด้วยคนเพียง 7 คน เพราะตอนนั้นยังไม่มีการเปิดรับจิตรอาสาจากภายนอกให้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย จำได้ว่าช่วงวันแรก ๆ ของการก่อตั้งศูนย์ ผู้เขียนและเพื่อนทั้ง 6 ได้เข้านอนตอนตี 2 พร้อมกับส้วมกระดาษที่ต้องช่วยกันประกอบให้เสร็จหลายร้อยตัว และตื่นขึ้นมาอีกทีตอนตี 5 เพื่อจัดการเรื่องสถานที่ต่อ
จังหวะนรกแบบนี้ดำเนินไปต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ถึงมีการเปิดรับจิตอาสาเข้ามาช่วยวานเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ตอนนั้นฝ่ายสถานที่ก็ยังมีคนอยู่เพียงแค่ " 7 คนถ้วน" ดังเดิม ด้วยการให้เห็นผลของฝ่ายควบคุมและแบ่งงานจิตอาสาว่สฝ่ายสถานที่จะเอาคนเยอะแยะไปทำไม ทำแค่หาที่หลับที่นอนและดูแลสถานที่ พูดตามตรงตอนนั้นอยากโดดถีบปากคนพูดเรื่องนี้มาก จนหวิดวางมวยกันอยู่หลายรอบ แต่แล้วก็ไม่มีมวยเพราะทุกคนล้วนเก่งแต่ปากเท่านั้น เราจะไม่ลงมือกันเพราะกลัวเจ็บ
หลังจากตบตีกับฝ่ายจัดกำลังพล เป็นที่เรียกร้อย ก็ต้องมาตบตีกับ อมธ. (องค์การนักศึกษา) ในเวลานั้น ที่อยู่ดี ๆ ก็ออกกฎว่า ผู้ที่ไม่มีบัตรห้ามเข้าพื้นที่ของผู้ประสบภัย เพราะจะเป็นการรบกวนผู้ประสบภัย และความซวยดัฃกล่าวมาตกอยู่ที่ "ฝ่ายสถานที่" เพราะต้องไปทุกที่ แต่ดันมีที่ที่เขาไม่ให้เข้า ซึ่งก็หวิดวางมวยกับ อมธ. อีกเช่นเคย สุดท้ายก็แก้ปัญหาได้ด้วยป้ายอนุญาตจากอาจารย์ปริญญา ที่ให้ฝ่ายสถานที่เข้าไปได้ทุกพื้นที่ เมื่อเป็นเช่นนั้นพงกเราฝ่ายสถานที่จึงทำป้าย "ฝ่ายสถานที่พ่อทุกสถานบัน" ขึ้นมา แขวนล่อตา และล่อตีนจากเหล่าผู้ที่ไม่ชอบขี้หน้สพวกเรา
เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างปกติสุขเป็นเวลาพอสมควร ระหว่างนั้นงานของฝ่ายสถานที่เริ่มลดลง แต่มีผู้ประสบภัยเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องขยายที่พักของผู้ประสบภัย ออกไปอีกตึกหนึ่งชื่อว่าตึก "วิทยบริการ" ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นตึกเรียนของคณะ "เกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา" (แต่ดันจำชื่อคณะไม่ได้) ซึ่งตึกนี้เอง ที่สร้างความฉิบหายในเรื่องของการถูกผีหลอกยกแก๊งของผู้เขียนและผองเพื่อน (ดังที่เล่าไว้ใน ถูกผีหลอกครั้งแรก)
หลังจากจัดการเรื่องตึกผีได้ไม่นานนั้น ช่วงเวลานั้นมวลน้ำและฝูงปลา เริ่มขยับเข้าใกล้ธรรมศาสตร์ขึ้นมาทุกขณะและแล้วไม่นานน้ำก็แตก เออเดี๋ยวน้ำก็เข้าท่วมหาลัย ทำให้ช่วงนั้นจากศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กลับกลายเป็นว่าศูนย์ดันประสบภัยเสียเอง ทำให้ต้องเร่งดำเนินการขนย้ายผู้ประสบภัยกันเสียยกใหญ่ ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่านี้
จำได้ว่าหลังจากน้ำเข้าท่วมมหาลัยได้พักหนึ่ง การขนย้ายผู้อพยพเป็นได้อย่างเรียบร้อย จะเหงือก็เพียงฝ่ายสถานที่กับเจ้าหน้าที่อีกบางส่วนที่ต้องจัดการเรื่องของรับบริจาคที่จะขนไปยังฐานบัญชาการแห่งใหม่
การเข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์ช่วงปี 54 มันทำให้เราได้เห็นว่าข้อความที่ว่า "เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" เป็นข้อความที่ยังคงมีพลังเสมอ และมันยังเป็นการตอกย้ำว่านักศึกษาหรือสังคมมหาลัย ยังไม่ได้ตัดขาดกับสังคมโดยรวมดังที่เราเคยเข้าใจ และมักเข้าใจว่าบทบาทของนักศึกษามีแค่เรียน ก็ต้องทำการเรียนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ยังสอนให้เรารู้ว่า เพื่อนคือหน่วยที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นกำลังใจของกันและกัน และเพื่อนแท้ไม่ว่าวันที่เราลำบากแค่ไหน เราก็จะหันไปเจอพวกมันยืนอยู่ข้าง ๆ กันเสมอ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in