นิสัยแย่ๆของตัวเองในการดูหนังคือจะหลีกเลี่ยงหนังจากปี 19xx อยู่เสมอด้วยเหตุผลแค่ว่า ภาพมันเก่า ดูไม่สวย เอฟเฟคแย่ มีน้อยเรื่องนักที่จะหลุดผ่านเกณฑ์เหล่านั้นมาได้
จนกระทั่งวันหนึ่งเราตั้งโจทย์กับตัวเองว่า "อยากดูหนังที่ชวนให้ขบคิด" ซึ่งเป็นที่มาให้เราได้พบกับหนังเรื่องนี้
12 angry men คือเรื่องราวของคณะลูกขุน 12 คนที่ต้องร่วมกันพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีที่เด็กอายุ 18 ฆ่าพ่อของตัวเองว่าเด็กนั้น "guilty" จริงหรือไม่ โดยมีหลักฐานที่น้อยนิดเพียงแค่มีดที่ใช้ก่อเหตุกับพยานแค่ 2 คนเท่านั้น
เราค่อยๆได้เห็นความคิดและมุมมองของชายทั้ง 12 คนที่แตกต่างกัน ทั้งๆที่พิจารณาจากหลักฐานชุดเดียวกัน จนนำไปสู่กระบวนการค้นหาว่าเราควรเชื่ออะไร
แน่นอนว่าสิ่งสำคัญในการพิจารณาคดีคือการตัดสินที่ปราศจาก "อคติ" แล้วจะรู้ได้อย่างไรคำตัดสินนั้นมาจากการไตร่ตรองหลักฐาน หรือมาจากการตัดสินไปตั้งแต่แรกแล้วเอาหลักฐานมาร้อยเรียงให้สอดคล้องตาม
หลักฐาน->ไตร่ตรอง->สรุป
หรือ
สรุป->หลักฐาน->สรุป
ยากนะที่จะสลัดอคติออกไปได้ บางทีมันก็แฝงอยู่ลึกๆโดยที่เราไม่รู้ตัว
สิ่งที่หนังทำให้เห็นคือวิธีนำ "ความจริง" หรือหลักฐานแต่ละอย่างนั้นมาพิสูจน์ว่าจริงแค่ไหน
แน่นอนว่าถ้าเราเรียกหลักฐานนั้นว่าเป็น fact ไปแล้วมันก็เท่ากับเราปิดโอกาสที่จะคำถามตั้งแต่แรก แต่ถ้าเราลองชั่งน้ำหนักดูว่า fact อันนึงมีโอกาส เป็นจริง กับ ไม่เป็นจริง อย่างไหนมากน้อยมากกว่ากัน จะเป็นวิธีในการกำจัด fact ที่ไม่จริงออกไปได้ (พร้อมๆกับอคติด้วย)
พูดไปก็นึกถึงความรู้วิชาสถิติอันน้อยนิดที่มี มันก็เหมือนกับเรามี Ho แล้วต้องพิสูจน์ว่าเราจะ reject Ho หรือ Accept Ho เลย
พึ่งรู้ว่ามันเอามา adapt กับชีวิตจริงได้ขนาดนี้
บางความจริงอาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป เมื่อลองตั้งคำถามกับความจริงนั้นอาจพบว่ามันผิดหรือถูกก็ได้ เป็นไปได้ทั้งคู่
นี่แหละ! แค่นี้มันก็ไม่เป็นความจริงแล้วเพราะเราทำให้เกิด Reasonable doubt ขึ้นมา
หลังจากได้พิสูจน์แล้วว่าหนังปี 19xx ก็มีเนื้อเรื่องที่เข้มข้นจนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภาพสวยๆ ก็คงทำให้ "อคติ" ต่อหนังกลุ่มนี้ลดลงไปด้วยเช่นกัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in