สวัสดีค่า วันนี้มาพับกบ เอ้ยพบกับโซดากันอีกแล้วนะคะ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ได้เชิญรุ่นพี่ที่เคยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho) ในระดับปริญญาโทโดยไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นในฐานะนักศึกษาวิจัย
(Research Students) มาพอได้ฟังรุ่นพีี่เล่าถึงทริค เทคนิคต่าง ๆ วิธีการเขียนก็เห็นว่าน่าสนใจ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ และทุกคนที่อาจจะเล็งทุนนี้อยู่ จึงอยากจะสรุปและเขียนให้ทุกคนได้อ่านกันในวันนี้ค่า มาเริ่มกันเลยยย การที่เราจะสร้างงานวิจัยออกมา สิ่งสำคัญที่สุดเลยคือ…
ลำดับขั้นตอนการทำวิจัย ซึ่งลำดับขั้นตอนการทำวิจัยมีดังนี้ค่ะ
1. กำหนดหัวข้อ
2. กำหนดปัญหา (問題) ที่เราสงสัย
3. กำหนดวิธีวิจัยที่ตอบโจทย์เรา
4. ลงมือวิจัย ( รวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์)
5.เขียนออกมาเป็น 修論
*ทริค #สามารถศึกษาแนวทางในการกำหนดหัวข้อ ปัญหา วิธีวิจัยได้โดยอ้างอิงจากงานวิจัยทีี่มีคนทำมาแล้ว แต่ไม่ควร Copy เด็ดขาด!
วิธีกำหนดหัวข้องานวิจัย
วิธีกำหนดหัวข้องานวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญมากเลยค่ะ เพราะต้องทำหัวข้อที่เราชอบ หรือเรื่องที่เราสนใจ ถ้าเลือกเรื่องที่ไม่ชอบมาทำ จะต้องทนทุกข์ทรมานทำวิจัยที่ไม่ชอบไปตลอด 2 ปี ! ดังนั้นก่อนคิดจะวิจัยอะไร ควรถามตัวเองว่า จากที่เราเคยเรียนมา มีวิชาไหนที่ชอบเป็นพิเศษบ้าง หรือมีหัวข้อไหนที่เราอยากทำบ้าง ถ้ายังคิดไม่ออกก็คิดว่าในอนาคตเราอยากเป็นอะไรหรือปกติเราใช้ภาษาญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง เช่น ดูอนิเมะ ติ่งไอดอล ก็จะทำให้มีไอเดียและคิดหัวข้อออกมาได้
*หัวข้อที่เขียนส่งไปตอนขอทุน เป็นคนละหัวข้อกับหัวข้อที่ทำหลังจากได้ทุนมาแล้วได้ แต่ขอให้อยู่ในเรื่อง แนวๆ เดียวกัน หรือสาขาที่เรียน
เมื่อเรากำหนดหัวข้อได้แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ การกำหนดปัญหา ค่ะ
การกำหนดปัญหา 問題
เราสามารถกำหนดปัญหาได้โดยการ Scope หัวข้อให้แคบลงมา เช่น สมมติว่าเราอยากทำเรื่อง
役割語(yakuwarigo) ก็ต้องคิดว่าอยากจะทำภาษาของคาแรกเตอร์ประเภทไหน อยากศึกษาจากสื่อไหน (ex.นิยาย อนิเมะ มังงะ) อยากเปรียบเทียบระหว่างภาษาไหนกับภาษาไหน สมมติเราอยากศึกษาจากสื่อไลท์โนเวล เราก็ต้องมีเหตุผลมาซัพพอร์ตว่าทำไมเราถึงเลือกไลท์โนเวล เพื่อที่จะตอบคำถามกรรมการได้ดี นอกจากนี้ ต้องมีเหตุผลไปบอกกรรมการให้ชัดเจน เป็นรูปธรรมด้วยว่าทำไมเราถึงอยากทำวิจัยเรื่องที่เราสนใจ เช่น เนื่องจากมีแต่งานวิจัยเปรียบเทียบ 役割語 ในมังงะแต่ไม่เคยมีใครทำไลท์โนเวลเลย ไลท์โนเวลเป็นตัวอักษรทั้งหมด ไม่มีภาพที่ทำให้เข้าใจอิมเมจของตัวละครมากขึ้นเหมือนมังงะ จึงคิดว่า 役割語 ในไลท์โนเวลมีความสำคัญมากกว่ามังงะนะ อะไรแบบนี้ (แม้ว่าจริงๆ แล้วเหตุผลคืออยากได้ทุนเฉยๆก็ตาม )
* ต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนมาซัพพอร์ตสิ่งที่เราทำเสมอ
กำหนดวิธีวิจัยที่ตอบโจทย์เรา
มีวิธีการวิจัยหลายวิธีมาก เช่น การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือ การศึกษาเปรียบเทียบหาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร ดังนั้นเราต้องเลือกวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสิ่งที่เราอยากจะวิจัยมากที่สุด
จากที่ได้ฟังบรรยายมา รุ่นพี่เลือกวิจัยโดยเปรียบเทียบไลท์โนเวลภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น 10 เรื่องซึ่งเป็นการเปรียบเทียบหาข้อมูลจากไลท์โนเวล (文献調査)
*ในการเลือกเรื่อง 10 เรื่องก็ต้องมีเหตุผลมาซัพพอร์ตว่าทำไมถึงเลือก เช่น มีเกณฑ์การเลือกเรื่องคือ
- เลือกเรื่องที่มีความนิยม (อ้างอิงจากยอดขายของฝั่งญี่ปุ่นเพราะฝั่งไทยไม่มีข้อมูล)
- เลือกเรื่องที่นักแปลไม่ซ้ำกัน
- เลือกให้หลากหลายสำนักพิมพ์เท่าที่จะเป็นไปได้
เมื่อเปรียบเทียบกันไลท์โนเวลภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นแล้วรู้อะไรบ้าง ก็บอกไป เช่น
- สมมติว่าจะบอกว่า ความเป็นจริงแล้ว ผู้ชายไทยไม่ค่อยใช้คำว่า “ฉัน” ในชีวิตประจำวัน แต่พระเอกไลท์โนเวลใช้ “ฉัน” กันแทบทุกคน
* ต้องอะไรมาซัพพอร์ตข้อสรุปให้มีความน่าเชื่อถือ เช่น มีแบบสอบถามซัพพอร์ตข้อสรุปที่ว่าผู้ชายไทยไม่ค่อยใช้คำว่า “ฉัน“ จะกล่าวลอย ๆ โดยไม่มีมูลไม่ได้
ต่อมาก็ลงมือ วิจัย วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลแล้วเขียนออกมาเป็นเล่มค่ะ
ต่อไปมาพูดถึง ข้อแนะนำจากรุ่นพี่ในการทำวิจัยปริญญาโทค่ะ
- อ่าน 先行研究 หรือหนังสือท่ี่เกี่ยวข้องเยอะ ๆ (หาได้ง่ายๆ ใน CiNii)
- ทุกอย่างต้องชัดเจน มีคําอธิบาย และเหตุผลสนับสนุนหนักแน่น
- มีอะไรก็ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่าไปกลัว
- ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากทำอะไร ทําไปเพ่ื่ออะไร จะได้ไม่หลงทาง
- ไม่ควรดองวิจัยไว้ทำตอนช่วงท้าย ๆ ป.โทมีเวลาสองปีก็ควรจัดสรรเวลา ทำไปเรื่อย ๆ
สิ่งสำคัญเลยคือการเรียนไม่ใช่ทุกอย่าง ดังนั้นไม่ควรหักโหมหรือกดดันตัวเองมากเกินไป การเรียนไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิตค่ะ วันนี้ขอลาไปก่อนเพียงเท่านี้ค่า 🫶🏻✨
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in