เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ไม่มีลิมิตชีวิตติดแอ๊บแจ๊บSodasado
自己PR คืออะไร?
  • สวัสดีค่ะทุกคน หลังจากที่เราได้ฟังวิทยากรมาพูดให้ความรู้เรื่อง 自己PR ไปก็รู้สึกว่ามีประเด็นที่เราไม่รู้แล้วก็ไม่คิดมาก่อนหลายประเด็นเลย แล้วก็รู้สึกว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ เลยจะมาแบ่งปันให้ทุกคนได้รู้กันในบล็อกนี้ค่ะ

    自己PR คืออะไร ?
     自己PR ก็คือ การที่เรา “ขายตัวเอง” นั่นแหละค่ะ ทุกคนอาจจะงง ๆ ใช่มั้ยคะ ว่าขายตัวเองเนี่ยมันขายแบบไหน ไม่ได้เป็นการขายแบบแลกเงินนะคะ 555 แต่เป็นการนำเสนอจุดแข็งของตัวเองว่าเรามีดีอะไรบ้าง ให้ทางบริษัทที่เราอยากเข้าทำงานรับเราเข้านั่นเองค่ะ ถือว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งถ้าเราเขียนได้ดี ก็จะทำให้ทางบริษัทอยากได้ตัวเราและรับเราเข้าค่ะ 

    กลยุทธ์ “รู้เขา รู้เรา”
         พออ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนก็เริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยคะ ว่าแล้วเราจะเขียนยังไงให้ทางบริษัทรับเราเข้าทำงาน  สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องพรีเซ็นต์ตัวเองว่าจุดแข็งเราคืออะไร แต่ไม่ใช่ว่าเราจะพรีเซนต์แบบมั่นใจเกินร้อย ว่าเรามีดีอะไรเฉย ๆ นะคะ เราต้องพรีเซ็นต์ว่าสิ่งที่เรามีดีเนี่ยมีประโยชน์ต่อบริษัทและตรงกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่เราอยากจะเข้าทำงานหรือเปล่า เราจึงต้องงัด กลยุทธ์ “รู้เขา รู้เรา” มาใช้ค่ะ สิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือเข้าเว็บของบริษัทท่ี่เราอยากเข้า แล้วดูว่าบริษัทนั้น ๆ มีวิสัยทัศน์ นโยบายอะไร และต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร ถือเป็นการทำความรู้จักกันมากขึ้นนั่นเองค่ะ เมื่อเรารู้แล้วเราก็จะเขียนได้ต้องตาต้องใจ HR ก็เหมือนการโปรยเสน่ห์คนที่เราชอบนั่นแหละค่ะ ทำยังไงให้เขาสนใจเรา เราก็ต้องรู้ก่อนว่าคนที่เราชอบชอบอะไรใช่มั้ยคะ กลยุทธ์ “รู้เขา รู้เรา” จึงสำคัญที่สุด !

    เทคนิคการเขียน
         ควรเขียนให้เห็นภาพชัดเจน เช่น สมมติเราจะบอกว่า
     “เราเป็นคนที่รักษาเวลามากนะ จัดสรรเวลาเก่งเว่อ ๆ อาจารย์ให้แปลหนังสือ ตอนแรกคิดว่าจะอ่านไม่ทันแน่ ๆ เพราะเยอะมาก แต่เราก็ฮึบสู้ ใช้เวลาไม่กี่วันก็แปลจบ” ถ้าเราบอกไปแค่นี้ คนอ่านก็จะไม่เห็นภาพชัดเจนว่าไอการที่เราฮึบสู้ ใช้เวลาไม่กี่วันก็จบ ก็จะทำให้คนอ่านสงสัยได้ว่า ไอไม่กี่วันของเรานี่มันกี่วันกันนะ เราจึงควรบอกไปเลยว่าเราจัดสรรเวลาอ่านอย่างไร เช่น “หนังสือที่ต้องแปลเหลืออีก 50 หน้า เราก็แบ่งเวลาแปลทุกวันวันละ 5 หน้า 10 วันเราก็แปลวรรณกรรมได้จบทันเวลาพอดี” ทำให้คนอ่านเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะชอบแบบนี้มากกว่าการพูดสรุปไปเลย

    เรื่อง “ การตรงต่อเวลา” ไม่จำเป็นก็ไม่ควรเขียน 
    "การตรงต่อเวลา" เป็นพื้นฐานนิสัยที่ทุกคนควรมี มันเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใส่จะดีกว่า ถ้าจะบอกแนว ๆ ว่าเราเป็นคนตรงต่อเวลา เราก็ไม่ควรพูดแค่ว่าเราเป็นคนตรงต่อเวลาอย่างเดียว ควรบอกประมาณว่าเราตรงต่อเวลาอย่างไร ก็คือการเขียนให้เห็นภาพมากขึ้นตามที่ได้พูดไปนั่นเองค่ะ อาจจะเขียนไปว่า เป็นคนวางแผนล่วงหน้าก่อนจะทำอะไร เช่นต้องส่งการบ้าน วันที่ 20 แต่วันที่ 10 เราก็เริ่มทำจนแล้วเสร็จในวันที่ 13 ก็จะทำให้คนอ่านเห็นภาพมากขึ้นค่ะ

    เขียนเรื่องในชีวิตประจำวันให้เก๋ไก๋ 
    เวลาที่เราจะเขียน 自己PR เราก็จะเขียนเกี่ยวกับ งานหรืองานพิเศษที่ได้ทำ, ชมรม, การไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ แต่จริง ๆ เราสามารถเขียนเรื่องนิสัยหรือชีวิตประจำวันของเราก็ได้ เช่น ตั้งแต่สมัยประถมเวลาอาจารย์สั่งการบ้าน เราก็จดลงในสมุดโน้ตเล็ก ๆ ตลอดว่าอาจารย์สั่งอะไร หรือเรามีนิสัยชอบทำรายรับรายจ่ายตลอดเราก็นำมาเขียนได้ค่ะ หรือจะเอาข้อเสียของเรามาเปลี่ยนให้เป็นข้อดีก็ได้เหมือนกันค่ะ ว่าข้อเสียของเราก็มีดีได้นะ ซึ่งเป็นการคิดแบบ (Cognitive reframing リフレーミング) ค่ะ 
    เช่น เราเป็นคนที่ปฏิเสธคนไม่เป็น ซึ่งการที่ปฏิเสธคนไม่เป็นก็มีข้อดีเลยทำให้ลดการโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาได้ ประมาณนี้ค่ะ


    ความผิดพลาดในอดีตทำให้ประสบความสำเร็จ
    เราสามารถเล่าอดีตของเราที่ผิดพลาดไปมาเชื่อมกับตัวตนที่ดีขึ้นในปัจจุบันของเราค่ะ อาจจะพูดไปว่า เราเคยผิดพลาดอะไรไป ตอนนั้นเกิดปัญหาอะไร แล้วเราทำอย่างไรให้แก้ไขเรื่องนั้นสำเร็จ ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้นก็จะทำให้คนอ่านประทับใจมากยิ่งขึ้นค่ะ 

    จากที่เราได้เขียนมาทั้งหมดนี้ เป็นความรู้ที่ได้การฟังวิทยากรในวิชา app jp ling ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ 🫶🏻⭐️


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
k.l.k (@k.l.k)
การคิดแบบ cognitive reframing น่าสนใจนะคะ