เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My OpinionHaisy_WM
เหตุผลที่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงมีตรรกะมองโลกอย่างขาวดำ (False Dilemma Fallacy)
  • Cover Photo by Wesley Tingey



    ตรรกระวิบัติมองโลกอย่างขาวดำหรือ False Dilemma Fallacy คือการที่มองโลกอย่างขาวดำ มีแค่ถูกหรือผิดเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นมุมมองอื่นๆหรือเฉดสีอื่นๆได้เลยเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นมา มันยังหมายถึงมีแค่สองตัวเลือกให้เลือกถึงแม้ว่าความเป็นจริงมันจะมีหลายตัวเลือกมากกว่านั้น กล่าวโดยรวมแล้วการมองโลกอย่างขาวดำมันทำให้มนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นความหลากหลายของมนุษย์ด้วยกันหรือแม้กระทั่งจากสื่อเอง เพราะฉะนั้นเหตุผลหลักที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มองโลกอย่างขาวดำจะถูกกล่าวถึงในบทความนี้

    ระบบการศึกษาไทยเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงมองโลกขาวดำ วรรณคดีไทยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่จะอธิบายว่าทำไมระบบการศึกษาไทยถึงเป็นปัญหาเพราะว่ามันมีวรรณคดีที่มีเรื่องราวมากมายที่เกี่ยวกับแค่ตัวละครที่แสนดีและตัวละครที่แสนร้าย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนช้างขุนแผนเป็นหนึ่งในวรรณคดีที่ถูกใช้สอนในโรงเรียน คุณครูส่วนใหญ่ไม่ได้อธิบายว่าทำไมวันทอง (ตัวเอกหญิงของเรื่องนี้) ถึงต้องถูกประหารและพวกเขาไม่ได้สอนให้เด็กนักเรียนได้มองหลายมุมมองจากเรื่องนี้ พวกเขาก็แค่สอนว่าวันทองเป็นหญิงเจ้าชู้ที่ไม่สามารถเลือกผู้ชายที่จะอยู่ด้วยได้ในตอนจบ สุดท้ายนางจึงต้องถูกประหารเนื่องจากนางดูหลายใจ (ซึ่งความเป็นจริงแล้วนางไม่อยากจะอยู่กับใครแล้วต่างหากในเรื่อง) 

    คุณครูภาษาไทยหรือคุณครูวรรณคดีส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมในการสอนวรรณคดีก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน พวกเขาไม่ได้ใช้คำอย่าง ตัวเอก (protagonist) หรือ ผู้เป็นปรปักษ์หรืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอก (antagonist) พวกเขาใช้แต่คำ “พระเอก” “นางเอก” และ “ตัวร้าย” (ที่หลายๆตัวละครไม่ได้เป็นตัวร้ายแต่เป็นแค่ผู้เป็นปรปักษ์หรืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอกเท่านั้นเอง) ภาษาและการใช้เลือกคำนั้นสำคัญ มันมีพลังมากกว่าที่ทุกคนคิด การใช้คำเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อชุดความคิดของคนไทยที่จะมองโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นมันถึงส่งต่อแง่คิดและการมองโลกของคนไทยส่วนใหญ่ ไม่หนำซ้ำมันยังทำให้คนไทยส่วนใหญ่กลายเป็นคนมองโลกอย่างแคบๆและมองโลกแค่ขาวกับดำก็เพียงแต่เท่านั้น

    สื่อของไทยก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มองโลกอย่างขาวดำ สื่อไทยไม่ต่างอะไรจากวรรณกรรมและวรรณคดีของไทยเลยที่แสดงให้คนรับสารได้เห็นแต่ด้านดีและด้านไม่ดี มันไม่ได้สื่อให้เห็นเลยว่ามนุษย์มีความหลากหลายและมีหลายมุมมอง ส่วนใหญ่สื่อไทยมักจะแสดงให้เห็นว่าตัวละครดีมักจะได้รับแต่สิ่งดีๆเป็นการตอบแทน ส่วนตัวละครที่ไม่ดีมักจะถูกบทลงโทษ ยกตัวอย่างเช่น ฟ้ามีตา ละครเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเพราะส่วนใหญ่เรื่องราวของละครเรื่องนี้มักจะแสดงให้เห็นแค่เรื่องดีกับเรื่องชั่วร้ายเท่านั้น ไม่หนำซ้ำบางครั้งละครเรื่องนี้มักจะโทษเหยื่อด้วยเมื่อมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น จากตัวอย่างที่อธิบายมาก็ทำให้เห็นว่าสื่อไทยก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้คนไทยมองโลกอย่างขาวดำ

    ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังมองโลกแบบขาวดำอย่างนี้อยู่มันจะทำให้สังคมและความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นพิษและถดถอยลง และมันยังจะทำให้คนไทยมีแนวโน้มที่จะสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรมมากขึ้นและสังคมก็จะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ระบบการศึกษาไทยและสื่อไทยจะต้องพัฒนาให้ดีกว่านี้และเปลี่ยนแปลงให้เร็วมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อที่จะเปิดมุมมองการมองโลกของคนไทยให้มากกว่านี้


    References:

    Moore, B. N., & Parker, R. (1989). Critical thinking: evaluating claims and arguments in everyday life. Mayfield Pub. Co.


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in