#kikinonikki
(บันทึกนึกขึ้นได้ของ Kiki)
ฮัลโหลวววว ห่างหายไปนานเพราะชีวิตวุ่นวายเหลือเกินค่ะพี่พี่ วันนี้น้อง Kiki กลับมาแล้วกับภาคต่อของ
二重否定:ปฏิเสธแต่ไม่ปฏิเสธนะจ๊ะพาร์ท 1 ใครยังไม่ได้อ่าน จิ้มลิงค์ไปอ่านก่อนได้เล้ยยย
ในพาร์ทที่ 1 เราได้พูดถึงความหมายและ sense ที่ได้รับของสำนวนการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธและได้ยกตัวอย่างสำนวนที่ได้เห็นบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันไปบ้างแล้ว การปฏิเสธซ้อนปฏิเสธนั้นในบางครั้งมันก็เข้าใจยากแถมชวนให้คนฟังงงได้ง่าย ๆ แล้วทำไมสำนวนแบบนี้มันถึงยังวนเวียนอยู่รอบตัวอยู่ตลอดเลยล่ะ คำตอบง่าย ๆ ก็คือเพราะว่าการใช้สำนวนปฏิเสธซ้อนปฏิเสธนั้นสามารถ express ความหมายหรือ sense (ニュアンス) ที่มัน 微妙 คลุมเครือกำกวมไม่ชัดเจนได้นั่นเอง
ในครั้งนี้เราเลยจะมาพูดถึงประเด็นนี้กันค่ะว่าสถานการณ์ไหนหรือกรณีไหนบ้างที่มักจะใช้สำนวนปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ มาลองดูตัวอย่างประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ และประโยคบอกเล่า ไปพร้อม ๆ กันนะคะ
มาค่ะเริ่มเลอ
二重否定:ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
3. 二重否定 ใช้ตอนไหนดี
3.1 ตอนที่ก็เห็นด้วย/ยอมรับนะ แต่ก็ไม่ใช่ 100%
例1)私は玉ねぎを食べられないわけではない。
ชั้นน่ะไม่ใช่ว่ากินหอมหัวใหญ่ไม่ได้หรอกนะ
≈ 私は玉ねぎを食べられる。 ชั้นสามารถกินหอมหัวใหญ่ได้
- ประโยคตัวอย่างนี้ความหมายสุดท้ายอาจจะแปลได้ว่า "ชั้นสามารถกินหอมหัวใหญ่ได้" ตามตัวอย่างประโยคบอกเล่าปกติ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่แฝงมากับความหมายนั้นด้วยก็คือ 「食べられるが、好きではない」ก็คือ "กินได้นะ แต่ไม่ค่อยชอบ (ถ้าเลือกได้ก็คงไม่กิน)" นั่นเอง
- ดังนั้น เราจึงมักจะเจอสำนวนนี้อยู่บ่อย ๆ เวลาที่คนพูดอยากจะสื่อถึงอะไรที่ sense ประมาณว่า "ก็โอเค/เห็นด้วย/ยอมรับได้นะ แต่ก็ไม่ได้เห็นด้วย/ยอมรับ 100%" เพราะฉะนั้นความหมายจริง ๆ ของตัวอย่างประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธนี้น่าจะเป็น 「私は玉ねぎを食べられるが、好きではない」 มากกว่า
3.2 ตอนที่ต้องการจะพูดแบบอ้อม ๆ ลดความรุนแรงลงเพื่อรักษามารยาท
เช่น ตอนให้คำแนะนำคนอื่น
例2)それはちょっと考え方が、甘くないとは言えない。
คงพูดไม่ได้เต็มปากหรอกว่าความคิดนั้นมันไม่ตื้น (ความคิดนั้นมันดี)
≈ 考えが甘い。 ความคิดเธอมันตื้น ๆ
例3)そういう言い方は、きつくないとは言えない。
คงพูดไม่ได้เต็มปากหรอกว่าคำพูดแบบนั้นมันไม่แรง (คำพูดแบบนั้นมันดี)
≈ そういう言い方は、きつい。 คำพูดเธอแรงนะ
เช่น ตอนแสดงความคิดเห็นที่ negative
例4)この料理は、まずくないとは言えない。
คงพูดไม่ได้เต็มปากหรอกว่าอาหารนี้มันไม่ไม่อร่อย (อาหารนี้มันอร่อย)
≈ この料理は、まずい。 อาหารนี้ไม่อร่อย/ไม่ได้เรื่อง
- ประโยคตัวอย่างที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ความหมายสุดท้ายอาจจะแปลได้ว่า "เธอคิดตื้น ๆ เกินไปนะ" และ "เธอพูดแรงไปนะ" และ "อาหารนี้รสชาติแย่"
- แต่ถ้าพูดแบบในตัวอย่างประโยคบอกเล่าปกติออกไปตรง ๆ (ตรงเกินไป) อาจทำให้อีกฝ่าย/ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้ที่ถูกพูดถึงไม่พอใจหรือโกรธได้ แล้วก็อาจจะฟังดูเหมือนคนพูดไม่ค่อยมีมารยาทด้วย ดังนั้นการใช้สำนวนปฏิเสธซ้อนปฏิเสธก็จะสามารถทำให้ความหมายของคำว่า 甘い และ きつい และ まずい มันเบาบางหรือความหมายฟังดู soft ลงไปได้
- ดังนั้นการใช้สำนวนปฏิเสธซ้อนปฏิเสธนี้ก็เหมือนกับเป็นการพูดอ้อม ๆ เพื่อลดความรุนแรงของคำพูดลงให้ฟังดู soft ลง เพื่อรักษามารยาทหรือเพื่อลดการปะทะนั่นเอง
- หรือถ้าอยากจะพูดด้วยประโยคบอกเล่าปกติก็อาจจะพูดได้ว่าว่า 「それはちょっと考え方が甘いんじゃないかな」หรือ 「そういう言い方は、少々きついのではないか」
อะเคคร่าาาาา จบแร้วววว เย้ ๆๆ จริง ๆ แล้วก็มีกรณีอื่นอีกที่มักใช้สำนวนปฏิเสธซ้อนปฏิเสธแต่ Kiki คิดว่า 2 กรณีที่ยกมานี้น่าจะเป็นกรณีที่ใกล้ตัวสุดและเห็นบ่อยสุดนะคะ เป็นยังไงกันบ้างคะพี่พี่ สำหรับ blog ทั้ง 2 พาร์ทนี้ก็ได้พูดถึงความหมายและ sense ที่ได้รับจากสำนวนการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ รวมไปถึงกรณีที่มักใช้สำนวนนี้ไปแล้ว
แต่ว่าๆๆๆ อย่างไรก็ตามเนาะ ก็ควรระวังในการใช้งานด้วยทั้งการพูดและในงานเขียน ไม่ควรใช้เยอะหรือบ่อยเกินไปในประโยคเดียวกัน หรือถ้าเป็นงานเขียนก็ไม่ควรใช้เยอะเกินไปในพารากราฟเดียวกัน เพราะอาจจะเป็นการสร้างภาระทำให้คนอ่าน/คนฟังเข้าใจยากหรืออาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้นั่นเอง
#kikinonikki
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in