ถ้าพูดถึง POP หลายคนอาจจะขมวดคิ้ว แต่ถ้าบอกว่าเป็นป้ายบน shelf คงจะนึกภาพกันออกใช่ไหมคะ ป้ายพวกนี้เรียกว่า POP หรือ Point of Purchase เป็นสื่อส่งเสริมการขาย ณ จุดขายนั่นเอง ตัวอย่างก็คือป้ายสี ๆ ที่เรามักจะเห็นเวลาไปเดินซุเปอร์มาเก็ตค่ะ แต่หากไปญี่ปุ่นเราจะเจอป้าย POP แทบจะทุกร้านค้าเลย ไม่ว่าจะเป็นซุเปอร์มาเก็ต ร้านขายยา ร้านเครื่องสำอาง ร้านหนังสือ โดยเฉพาะร้านดองกี้ โฮเต้ค่ะ เรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรของป้าย POP เลยทีเดียว555555
นอกจากนี้ POP ของประเทศญี่ปุ่นยังมีความโดดเด่นก็คือ ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายทำมือค่ะ ตัวอักษรเป็นลายมือ กระดาษสี ปากกาสี รูปภาพตัดแปะ ละลานตาสุด ๆ ไปเลย
พอเห็นวัฒนธรรมการเขียนป้ายเยอะ ๆ เข้าเราก็ชักจะสนใจขึ้นมา พอดีกับที่ได้ไปเจอหนังสือวิธีทำ Handmade POP ที่ญี่ปุ่นเลยลองซื้อมาอ่านเล่น แล้วก็พบว่ามันลึกซึ้งกว่าที่คิดมาก ๆ !! การจะทำ POP สักป้ายนึงไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะ นอกจากสีสันและรูปวาดประกอบสวย ๆ แล้ว เทคนิคการเขียนจูงใจลูกค้าก็สำคัญไม่แพ้กัน
วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าเทคนิคการเขียน POP ที่มีประสิทธิภาพควรจะเป็นยังไง
ทุกคนเป็นใช่ไหมคะ เวลาเห็นสินค้าที่ไม่คุ้นเคยหรือสินค้าออกใหม่แล้วจะเกิดคำถามในใจว่า ‘มันคืออะไรกันนะ?’ ? ป้าย POP จึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการตอบคำถามเหล่านั้นของลูกค้าค่ะ พอลูกค้ารู้ก็อาจจะเกิดความสนใจ พอสนใจก็จะหยิบใส่ตะกร้าในที่สุด รวมถึงคำถามประเภท
นอกจากจะเป็นการตอบคำถามที่คาใจของลูกค้าแล้ว ยังเป็นการไกด์ให้ซื้ออีกด้วย
บางครั้งเห็นแค่สินค้าแล้วเราก็นึกภาพไม่ออกว่าเราจะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เพราะงั้นจึงต้องเสนอสถานการณ์ตัวอย่างในการนำไปใช้ค่ะ โดยเฉพาะโซนวัตถุดิบต่าง ๆ อย่างเนื้อสัตว์ ผัก หรือเครื่องปรุงรส ถ้าเขียนป้าย POP บอกตัวอย่างเมนูที่สามารถเอาไปทำได้จริง ลูกค้าก็จะเกิดไอเดียจนทำให้เลือกซื้อก็เป็นได้ค่ะ หรือถ้ายังไม่น่าสนใจพอ อาจจะเสนอวิธีใช้ใหม่ ๆ ในหนังสือยกตัวอย่างเลมอน? ถ้าบอกว่าเอาไปใช้ปรุงอาหารก็จะดูธรรมดาไป แต่ถ้าบอกว่าทำให้เครื่องแก้วเงาวับได้ แบบนี้ก็น่าซื้อขึ้นเยอะเลย
ลองนึกภาพว่าคำโฆษณาที่เป็นการโฆษณามากกกกกมาก กับ คำโฆษณาที่เหมือนคำแนะนำบอกต่อ เป็นคุณจะเลือกซื้อสินค้าชนิดไหนดี? ก็คงเป็นอย่างหลังใช่ไหมคะ? เพราะงั้นแทนที่จะใช้คำเท่ ๆ ยาก ๆ หรือรูปยกย่องถ่อมตัวเป็นทางการ ลองหันมาใช้คำเรียบง่ายให้ความรู้สึกว่า いい商品だから友達に教えたい (เพราะเป็นของดีเลยอยากบอกเพื่อน) จะเวิร์คกว่าเยอะเลย
ข้อนี้น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ ผู้เขียนเสนอว่าลองเปรียบเทียบว่า เราเดินเข้าไปในเมืองแล้วมีคนตะโกน แบบไหนที่จะดึงดูดความสนใจได้มากกว่ากัน ระหว่าง ‘ทุกท่านคะ’ กับ ‘คุณผู้หญิงที่ใส่เสื้อสีเหลืองคนนั้นคะ’ ก็ต้องเป็นแบบที่เจาะจงกว่าใช่ไหมคะ? การกำหนด target ก็เช่นกัน แทนที่จะกำหนดกว้าง ๆ แค่เพศหรืออายุ ถ้าเพิ่มไปอีกถึงลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมก็จะเรียกลูกค้าได้อีกหลายเท่า!
เช่น 男性 (ผู้ชาย) → 結婚している男性 (ผู้ชายที่แต่งงานแล้ว) → 最近奥様に贈り物をしていない男性 (ผู้ชายที่ช่วงนี้ไม่ได้ให้ของขวัญภรรยา) แบบนี้นั่นเอง
ใคร ๆ ก็ไม่ชอบการบังคับ :( ร้านค้าหลายแห่งต่างก็มีกฎที่ให้ลูกค้าทำตาม ไม่ว่าจะเป็นห้ามสูบบุหรี่ ห้ามใส่รองเท้า ปิดโทรศัพท์ แต่กฎพวกนี้พลอยจะทำให้ลูกค้ารู้สึก めんどうくさい (น่ารำคาญ) ได้ง่าย ถ้าอย่างนั้น เราก็มาเปลี่ยนกฎข้อห้ามให้กลายเป็นประโยคที่ positive กันดีกว่า อย่าง 禁煙 (ห้ามสูบบุหรี่) ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น いい環境をつくりましょう (มาสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีกันเถอะ) ก็จะได้ความหมายเชิงบวก ฟังดูนุ่มนวลน่าทำตามกว่าเยอะเลยใช่ไหมล่ะ :D
สมัยนี้ใคร ๆ ก็ต้องการข้อมูลที่กระชับและย่อยง่าย เพราะอย่างนั้น การสรุปจบใน 3 ข้อจึงเป็นวิธีที่น่าสนใจและได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งค่ะ ผู้เขียนให้เหตุผลว่าทำให้เข้าใจง่าย ไม่เสียเวลา แถมยังรู้ขอบเขตเมื่อเทียบกับการเขียนไปเรื่อย ๆ แบบไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดตรงไหน การสรุป 3 ข้อสำหรับป้าย POP มีได้หลายรูปแบบเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
แค่ฟังก็ชักอย่างจะซื้อขึ้นมาแล้ว
ถ้าสินค้าวางอยู่บนชั้นเฉย ๆ อาจจะไม่จูงใจพอ ลองมาทำให้ลูกค้าเห็นภาพกันดีกว่าว่าถ้าซื้อไปแล้วชีวิตเขาจะเปลี่ยนไปยังไง!? อย่างจานน่ารัก ๆ พอมีรูปเวลาใช้งานจริงติดให้เห็นภาพ พร้อมกับคำบรรยายว่า ‘ทำให้เวลาอาหารว่างของคุณสนุกกว่าที่เคย’ หรือว่า ‘น่ารักแบบนี้อยากจะเรียกเพื่อนมาปาร์ตี้น้ำชาเลย’ เป็นใครก็อยากจะซื้อขึ้นมาแน่นอนเลยค่ะ
ถ้าในร้านของเรามีสินค้ามากมายหลายสิ่ง ถ้าเอามาจัดอันดับก็ทำให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น แล้วพอเห็นคำว่าอันดับ 1 เนี่ยยังเป็นวิธีที่ทำให้ดูดเงินในกระเป๋าออกไปอย่างไม่รู้ตัวด้วย555555 เราสามารถจัดได้หลายหัวข้อเลยค่ะ ที่เจอบ่อย ๆ ก็จะเป็น
แต่ถ้าจะให้ได้ผลยิ่งขึ้นก็ต้องบีบ target ให้แคบลง แบบนี้
นอกจาก POP จะช่วยให้ข้อมูลสินค้าแล้ว ยังมีประโยชน์กับการให้บริการลูกค้าอีกด้วยค่ะ ข้อนี้หลายคนอาจจะคิดไม่ถึง แต่ถ้าหากเราประสบปัญหาระหว่างซื้อแล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เพียงแค่มีป้ายมหัศจรรย์อย่าง
ก็จะทำให้ลูกค้าไม่หนีกลับบ้านแบบมือเปล่าไปซะก่อน รวมถึงป้ายประเภทชักชวนให้ทดลอง หรือ 体験 อย่าง 触ってみてください (ลองจับดูได้ค่ะ) ก็เช่นกันค่ะ
ข้อนี้คงจะเอามาใช้กับประเทศเราได้ยากหน่อยเพราะฤดูกาลไม่ชัดเจนเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นจะเห็นว่าการขายสินค้าของเขาจะเชื่อมโยงกับฤดูกาลต่าง ๆ เป็นประจำเลยค่ะ อิมเมจและสินค้าประจำแต่ละฤดูกาลก็จะต่างกันไป แต่วิธีการเขียนแบบนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสินค้าที่ทำขึ้นเฉพาะฤดูกาลนั้น ๆ นะคะ ถึงจะสินค้าชนิดเดิม แต่ถ้าเราจับ keyword หรือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการในแต่ละฤดูกาลได้ถูกต้อง สินค้าก็จะขายได้เหมือนกันค่ะ ผู้เขียนยกตัวอย่างน้ำชา? เช่น ถ้าเป็นฤดูร้อนก็ใช้วิธีสร้างความสดชื่นคลายร้อน แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็โฆษณาถึงความอบอุ่น จิบชาใต้โต๊ะอุ่นขา
keyword ของแต่ละฤดูกาลที่เจอบ่อย ๆ ก็จะประมาณนี้ค่ะ
ตอนเราอยู่ญี่ปุ่นเองก็โดนการตลาดแนวนี้ดูดเงินไปบ่อยมากเลยค่ะ เพราะรู้สึกว่าของมันต้องมีจริง ๆ ไม่งั้นจะทำตัวไม่เข้ากับฤดูกาล55555
และนี่ก็คือเทคนิค 10 ข้อที่น่าสนใจในการเขียน POP ฉบับญี่ปุ่นค่ะ เป็นวิธีที่น่าสนใจและดึงดูดใจได้ดีแบบที่เราไม่สังเกตมาก่อนเลย ถ้าใครมีโอกาสได้ลองทำการตลาดให้ร้านค้า สามารถเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เลย นอกจากแนวการใช้คำในเล่มยังมีไอเดียทำ POP ที่น่าสนใจอีกหลายอย่างเลย อย่างการทำให้สะดุดตา การวาดรูปประกอบ รูปแบบตัวหนังสือ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์จริง ๆ ค่ะ
ถึงจะรู้ว่าเป็นการตลาด แต่สุดท้ายก็ต้านทานไม่ได้
pleech.
?
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก:
หนังสือ「手書きPOP」のつくり方 โดย 増澤 美沙緒
https://www.smile-siam.com/popandposm/
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in