ภาษาถิ่นเหนือ อีสาน ใต้ เสียง ญ ขึ้นจมูกกันด้วยนะ ภาษาเป็นภาษาลาวจะมีพยัญชนะแยกไว้เลย ຍ ย ไม่มีหาง เช่น คำว่า ย้าน แปลว่า กลัว คำว่า ใหญ่ เสียงขึ้นจมูก ຢ ย มีหาง ไม่ขึ้นจมูก
ไวยากรณ์หนึ่งที่เรายังคงใช้แบบอีสานเลยคือ กริยา+อยู่+สถานที่ เช่น ซื้อข้าวอยู่ไหน ส่งการบ้านอยู่ไหน ภาษาเวียดนามก็ใช้ กริยา + ở + สถานที่เหมือนกัน เราเลยคิดว่ามีแค่ถิ่นกลางแหละ ที่ต้องเติม อยู่+ที่+สถานที่ ดูซ้ำซ้อนว่ามะ
นอกจากนี้ พวกคำกริยาวิธีการทำอาหารจะสลับที่กัน ต้มไก่=ไก่ต้ม จื่นปา=ปลาทอด จื่น แปลว่า ทอด
ส่วนภาษาถิ่นใต้เนี่ยเก่งเรื่องการออกเสียงควบกล้ำมาก ฟ้าแมลบ ออก /มล/ ในขณะที่เหนือ อีสาน ใช้ ฟ้าแมบ, กลาง ใช้ ฟ้าแลบ
ในภาษาใต้ยังพบคำยืมเขมรอีกด้วย เข้ากับการชอบออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำสุด ๆ
หมลัก
ไหมล
หมลึง
แถมเพลงนี้ที่กำลังฮิตใน TikTok เลย นกกรงหัวจุกเป็นการแข่งกันมานานของคนใต้แล้ว
ลองมาฟังแผ่นเสียงสำเนียงเก่ากัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in