ตระกูลภาษาก็คือกลุ่มของภาษาที่มีความสัมพันธ์กันทางเชื้อสาย ซึ่งเชื่อว่ามี proto language คือภาษาแม่ภาษาเดียวกัน แต่ในความเห็นเราอาจไม่ต้องมาจากภาษาเดียวแต่เป็นภาษาที่อยู่ใกล้เคียงกันมากกว่า ซึ่งสืบทราบได้จากคำร่วมเชื้อสาย (cognate word) เปรียบเทียบคำศัพท์พื้นฐานในหมวดต่าง ๆ โดยเฉพาะอวัยวะและคำเรียกญาติ ออกเสียงคล้ายคลึงกันไหม ในด้านเสียง ดูลักษณะปฏิภาคของเสียง (sound correspondence) ว่าคล้ายคลึงอย่างเป็นระบบ เช่น ภาษาไทยกลางเป็นภาษาถิ่นอีสาน ฉัน-สัน เฉย-เสย เฉลียวฉลาด-เสียวสวาด ขวา-ขัว สว่าง-ส่วง ถวาย-ถวย
ตระกูลภาษาที่พบในประเทศไทย และภาษาที่ควรรู้ไว้ ภาษาถิ่นมักเรียกตามชาติพันธุ์ ขอเอาแค่ชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนครเลย ลาว ผู้ไท กะเลิง ญ้อ โย้ย
1.ตระกูลไท-กะได(Tai-Kadai) ภาษาไทย ภาษาไทนอกประเทศและในประเทศ เหนือ กลาง อีสาน ใต้
2. ตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ภาษาพม่า ภาษาจีน กะเหรี่ยง กะฉิ่น มูเซอ ลีซอ
3. ตระกูลแม้ว-เย้า (Meo-Yao) แม้ว ม้ง เย้า
4. ตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) เราตกใจมากตอนแรก ๆ ที่รู้ว่าเวียดนามกับเขมรเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน! เรารู้ว่ามอญกับเขมรเป็นตระกูลเดียวกันนะ แต่เวียดนามเนี่ยได้อิทธิพลภาษาจีนไปจนห่างไกลมาก ๆ กลายเป็นมีวรรณยุกต์ไปเลย
5. ตระกูลออสโตรนีเชียน(Austronesian) มลาโยโพลีนีเชียน มาเล์ โมเคน
ป.ล. อัปเดตแล้วเทอมนี้เราเรียนภาษาเวียดนาม 1 ด้วย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in