เราแอบคิดว่าที่มาของชื่อร้านอุ่น คงเกี่ยวข้องกับอาหารหรือไม่ก็งานเซรามิก จน
พี่ง้วน —พลเสฎฐ์ โลหะชาละธนกุล เจ้าของร้าน เฉลยว่าที่มาของชื่อเกิดจากความอยากได้ร้านที่มีชื่อภาษาไทยพยางค์เดียว ซึ่งคำว่า ‘อุ่น’ ก็ดูกระชับ และยังให้ความรู้สึกไม่ร้อนไม่เย็น เพราะความอุ่นมันคือพอดี
บรรยากาศในร้านก็อุ่นสมชื่อ จากการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ ที่เข้ากับของตกแต่งเซรามิกได้อย่างดี แถมยังมีต้นไม้ที่พี่ง้วนปลูกไว้ตามมุมต่างๆ
“เราทำเซรามิกมาห้าปีแล้ว ก็ยังไม่มีความรู้สึกแบบนั้นเลย และมันก็เป็นเหตุผลที่เราเลือกมาทำ
แต่แรก เพราะคิดว่ามันจะไม่อิ่มตัว หนักสุดคงเป็นจุดที่รู้สึกเหนื่อยทางกายมากกว่า เอาจริงๆ ก่อนจะตัดสินใจมาทำเราก็คิดเยอะ คือเราอยากได้งานที่เราอยากทำไปจนตาย แล้วงานเซรามิกมันมีหลายแขนงมาก ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี กว่าจะเข้าใจเรื่องพวกนี้ ตั้งแต่เรื่องอุณหภูมิ เรื่องเคลือบ เรื่องดิน และอีกหลายเรื่องมากที่ยังต้องเรียนรู้ ซึ่งมันทำให้เราสนุกทุกครั้งที่ได้ทำงาน”
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in