เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
คลังข้อมูลบรรณานุกรมนักเขียน-กวีในสายธารวรรณกรรมไทยอ่าน-คิด-เขียน
คลังข้อมูลบรรณานุกรมจิตร ภูมิศักดิ์

    • แสงดาวแห่งศรัทธา คําร้อง/ทํานอง : จิตร ภูมิศักดิ์ , เรียบเรียง : สุริยัน รามสูด ฟังเพลงได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=QVbTzDlwVHw 


             เนื่องในโอกาสครบรอบ 91 ปีชาตกาล จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน 2564) อ่าน-คิด-เขียน ขอร่วมรำลึกถึงคุณูปการของนักคิด นักเขียน นักกิจกรรม จิตร ภูมิศักดิ์ ด้วยการเผยแพร่คลังข้อมูลบรรณานุกรมในรูปแบบออนไลน์

             เนื่องจากคลังข้อมูลนี้รวบรวมไว้กว่า 3 ปีแล้ว จึงมิได้ครอบคลุมงานว่าด้วยจิตรศึกษาเช่น บทความสรุปการเสวนาจิตรศึกษาเรื่อง "เขาตายที่ชายป่า ความคิดแหวกแนวของ จิตร ภูมิศักดิ์" (2561) โดย นิธิ นิธิวีรกุล เผยแพร่ทาง way magazine เป็นต้น ประกอบกับเงื่อนไขเรื่องลิงก์เข้าถึงข้อมูลที่เคยรวบรวมไว้ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้คณะทำงานต้องตัดข้อมูลบางส่วนที่รวบรวมไว้ออกไป

           การจัดทำคลังข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชา 2201252 วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงบรรณานุกรมใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่เกี่ยวข้องกับ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้ใดนำไปใช้ในการค้าหรือเพื่อแสวงหาผลกำไรใดๆ ทั้งสิ้น 

            ** ลิขสิทธิ์ของผลงานใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่ได้รวบรวมไว้ในรูปแบบบรรณานุกรมนี้เป็นของผู้สร้างผลงาน**

            จัดทำโดย...กาญจนา เทพรักษา, เกสรี  สินธุพิจารณ์, ปิยภัทร จำปาทอง, พรนภสร ปุณณะเวส และสิริกรกช กิ่งแก้ว เมื่อปีการศึกษา 2559

            เผยแพร่ครั้งแรก เพจ "อ่าน-คิด-เขียน" เมื่อกันยายน 2563

             ** เนื่องจากมีบรรณานุกรมเป็นจำนวนมาก ข้อมูลที่ปรากฏนี้อยู่ในการจัดทำระยะแรกเท่านั้น

             ** ผู้เข้าชมสามารถส่งข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและผลงานเพื่อร่วมจัดทำคลังข้อมูลบรรณานุกรมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ทางอีเมล arts.readthinkwrite@gmail.com **


    ภาพวาด: นน ศุภสาร
    ลิขสิทธิ์เป็นของผู้วาดภาพประกอบและเพจ "อ่าน-คิด-เขียน" (สงวนลิขสิทธิ์)


    สังเขปชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ 


    สังเขปชีวิตไล่เรียงตามปี

            - 2473 (25 กันยายน)  เกิดที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

            - ย้ายตามบิดาที่ไปทำงานอยู่จังหวัดพระตะบองจึงเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัด
    พระตะบอง

            - เปลี่ยนชื่อจาก สมจิตต์” เป็น จิตรตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ใช้ชื่อที่ระบุเพศชัดเจน

            - เข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์

            - 2490 เขียน “กำเนิดลายสือไทย” ลงในหนังสือเยาวศัพท์

            - 2493 เข้าศึกษาต่อคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            - 2494 เริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานทางประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์โบราณคดี วรรณคดี

            - 2496  หนังสือมหาวิทยาลัย 23 ตุลา ฉบับปี 2496 ซึ่งมีจิตร ภูมิศักดิ์เป็นบรรณาธิการ ถูกระงับการพิมพ์เพราะเนื้อหาบทความมีเนื้อหาขัดกับนโยบายรัฐบาล

            -  2496 (28 ตุลาคม) จิตรถูกจับโยนบกขณะกำลังชี้แจงเหตุผลเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย 23 ตุลา ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            - 2496 (พฤศจิกายน)  สภามหาวิทยาลัยสั่งพักการเรียน 1 ปี

            - เริ่มต้นอาชีพนักหนังสือพิมพ์เขียนงานวิจารณ์ลงในหนังสือพิมพ์; นามปากกาว่า บุ๊คแมน,
    มูฟวี่แมน

            - 2498 กลับมาเรียนต่อเริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองและวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัย

            - 2500  จบการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิตแต่ไม่เข้าร่วมพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร

            - นำเสนอแนวคิดศิลปะเพื่อชีวิตลงในหนังสือรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยใช้นามปากกาว่า“ทีปกร”

            - 2501 (21 ตุลาคม) ถูกจับเข้าคุกและถูกพักราชการด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

            - ระหว่างถูกคุมขังได้ผลิตงานเขียนออกมาเป็นจำนวนมาก

            - 2507 ศาลพิพากษายกฟ้อง

            - 2508 เดินทางเข้ากองทัพปฏิวัติที่ดงพระเจ้า

            - 2509 (5 พฤษภาคม)  จิตร (สหายปรีชา) ถูกล้อมยิงเสียชีวิตที่ชายป่านอกหมู่บ้านหนองกุง
    ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร


    นายผี: นักเขียนที่เป็นแรงบันดาลใจของ จิตร ภูมิศักดิ์ 

           นายผี หรือ อัศนี พลจันทร
    •         เขียนบทความโต้ทัศนะของส.ธรรมยศ เกี่ยวกับเรื่องนิราศลำน้ำน้อย ของพระยาตรัง โดยในขณะนั้นนายผีใช้นามปากกาว่า “นางสาว อัศนี”
    •        เขียนงานเขียนที่มีท่วงทำนองรุนแรง มีเนื้อหาวิจารณ์การเมือง ความไม่ยุติธรรมในสังคม เขียนโจมตีบุคคลทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา
    •        เขียนงานปลุกเร้าชนชั้นกรรมาชีพหลายชิ้น ชิ้นที่สำคัญคือ บทกวีเรื่อง “อีศาน”
    •        จิตรเขียนยกย่องว่าบทกวีเรื่อง "อีศาน" นี้ว่าสามารถ “ตีแผ่ความยากเข็ญของชีวิตและปลุกเร้าวิญญาณการต่อสู้ของประชาชนได้อย่างเพียบพร้อมมีพลัง”
    •        มีการเชิดชูนายผีเป็น "มหากวีของประชาชน"
    •        จิตรมีท่วงทำนองและลีลาการเขียนที่ใกล้เคียงกับนายผี


    "นายผี" อัศนี พลจันทร์ ชีวิตและผลงานจาก channel ทาง Youtube
    "THE BACKGROUND - ความเป็นมา"- เข้าถึงได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=cpwBfU_mfm8
  • คลังข้อมูลบรรณานุกรมจิตร ภูมิศักดิ์

     

     ก. ประวัติและชีวิต 



            - “จิตร ภูมิศักดิ์.”[ม.ป.ป.]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.info.ru.ac.th/province/
    prachinburi/Goodper/jitt/jitt.html
     สืบค้น 24 มกราคม 2560.


            - ชีวิตและผลงาน จิตร ภูมิศักดิ์ [วีดิทัศน์].2012. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=Gr6QGzehqA8 สืบค้น 25 มกราคม 2560.



            - บิดาและมารดาของจิตร ภูมิศักดิ์.” 2009. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.oocities.org/thaifreeman/jit/pumisak5.html สืบค้น 24มกราคม 2560.

            - เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. 2556. “60 ปี โยนบก 6ตุลา โยนบาป.” มติชนสุดสัปดาห์
    (1 พฤศจิกายน): 76.

            - รายการแรงคิดทีวี. 2009. ประวัติจิตร ภูมิศักดิ์ [วีดิทัศน์]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.youtube.com/watch?v=FwYXm9nX3zs สืบค้น 25 มกราคม2560.




    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


     ข. ผลงานการประพันธ์ 

    • หนังสือ


    กวี ศรีสยาม. เสียงแผ่นดินและอ้อยในปากช้าง.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: นกฮูก,2540.


    กอร์กี้, แมกซิม. แม่.แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2554.


    กวีการเมือง. รวมบทกวีและงานวิจารณ์ศิลปวรรณคดีของกวีการเมือง.พิมพ์ครั้งที่
    1. [ม.ป.ท.]:
    กลุ่มแนวร่วมนักศึกษาเชียงใหม่,2517.


    กุหลาบ สายประดิษฐ์ และจิตร ภูมิศักดิ์. ประวัติศาสตร์สตรีไทย.กรุงเทพมหานคร: ชมรมหนังสือแสงดาว, 2519.


    จิตร ภูมิศักดิ์, ผู้แปล. ด้วยเลือดและชีวิต: รวมเรื่องสั้นเวียตนาม. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย,2537.


    จิตร ภูมิศักดิ์. กรณีโยนบก๒๓ ตุลา. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นกฮูก, 2539.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มติชน,2547.


    จิตร ภูมิศักดิ์. คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2552.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์ เพิ่มเติมข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศยาม, 2544.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ความใฝ่ฝันแสนงาม (รวมงานกวีนิพนธ์ชุดสมบูรณ์2489-2509). กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2524. 


    จิตร ภูมิศักดิ์. ความอบอุ่นอันอ่อนหวาน.กรุงเทพมหานคร: ไม้งาม, 2525.


    จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2550.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ขีวิตและศิลป. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แมงสาบ, 2523.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ด้นดั้นดุ่มเดี่ยวคนเดียวแด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน,2550.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน. กรุงเทพมหานคร: ปุยฝ้าย, 2523.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ตำนานแห่งนครวัด. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แม่คำผาง,2557.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสง.. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน,2551.





    จิตร ภูมิศักดิ์. บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย พร้อมภาคผนวกชีวิตและผลงานของปิกัสโส. พิมพ์ครั้งที่ 3.
    นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2561.



    จิตร ภูมิศักดิ์. บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม, 2537.


    จิตร ภูมิศักดิ์. บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา ทีปกร ศิลปินนักรบประชาชน.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
    ชมรมหนังสือแสงตะวัน.
    2519.
     


    จิตร ภูมิศักดิ์. บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2521.


    จิตร ภูมิศักดิ์. พระเจ้ากำเนิดข้ามาเสรี.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:ชมรมหนังสือต้นกล้า, 2521.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ภาษาละหุหรือมูเซอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไม้งาม, 2526.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ภาษาและนิรุกติศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล, 2522.


    จิตร ภูมิศักดิ์. รวมบทความทางภาษาและนิรุกติศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2529.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัยพิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน,2548.


    จิตร ภูมิศักดิ์. ศิลปะเพื่อชีวิตศิลปะเพื่อประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2531.


    จิตร ภูมิศักดิ์. สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ไม้งาม, 2526.


    จิตร ภูมิศักดิ์. โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา.พิมพ์ครั้งที่ 3.
    กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน,2547.


    โจหยาง. ว่าด้วยงานศิลปวรรณคดี.แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มลำธาร, 2523.


    ทอมสัน,ยอร์จ. ความเรียงว่าด้วยศาสนา. แปลโดยจิตร ภูมิศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองศิลป์การพิมพ์, 2523.


    เปรมจันท์. โคทาน (ภาคสมบูรณ์).แปลโดย ศริติ ภูริปัญญา และศรีนาคร. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า,2524.


    ภัฏฏาจารย์,ภวานี. คนขี่เสือ. แปลโดย จิตรภูมิศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง, 2558.


    ศรีนาคร. เสียงเพลงแห่งการต่อต้าน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วังหน้า. 2521.


    สตีฟาโนวา,อี. คาร์ล มากซ์ ประวัติย่อ. แปลโดยจิตร ภูมิศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: มหาราษฎร์การพิมพ์, [ม.ป.ป.].


    สิทธิ ศรีสยาม (นามปากกา). นิราศหนองคายวรรณคดีที่ถูกสั่งเผา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:ส่อศยาม. 2533.
    • บทความในหนังสือ


    จิตร ภูมิศักดิ์.
    นี่ เสียมกุก.ในสุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. เสียมกุกกองทัพสยามที่ปราสาทนครวัด เป็นใคร? มาจากไหน?,
    3-52. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2545.


    จิตร ภูมิศักดิ์.โสมส่องแสง.ในสุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมกรุงเทพฯจากเพลงดนตรี
    ลาวดวงเดือน วังท่าเตียน, 109-118. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2547.


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


    ค. งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจิตร ภูมิศักดิ์  

    • งานเขียน


    แคน สาริกา. วาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตรภูมิศักดิ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สาริกา, 2539.

    ทวีป วรดิลก. “วิจารณ์งานกวีของจิตร ภูมิศักดิ์.” วิจารณ์งานกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และข้อเขียนอื่นๆ, 1-59.
    กรุงเทพฯ: ดอกแก้ว, 2523.

    ทวีป วรดิลก. จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ผมรู้จัก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546.

    ธีรภาพ โลหิตกุล. “72ปี จิตร ภูมิศักดิ์.” คนเลี้ยงม้า, 96-109. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.

    บุญชัย ใจเย็น.  ฟัง เขียน คิดกับชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์.กรุงเทพฯ : บุ๊คส์ ทู ยู2553.

    ประวุฒิ ศรีมันตะ. “คู่มือปฏิวัติและมรดกทางวัฒนธรรมของจิตร ภูมิศักดิ์.” คู่มือปฏิวัติและมรดกทางวัฒนธรรมของ
    จิตร ภูมิศักดิ์
    , 1-38. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2545.

    ประวุฒิ ศรีมันตะ. “มรดกทางวัฒนธรรมของจิตร ภูมิศักดิ์ ต่อขบวนการแรงงานไทย.” คู่มือปฏิวัติและมรดกทางวัฒนธรรมของ
    จิตร ภูมิศักดิ์
    , 39-59. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2545.

    ภิรมย์ ภูมิศักดิ์. คิดถึงแม่...คิดถึงน้อง"จิตร ภูมิศักดิ์". กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์, 2545.

    เมืองบ่อยาง. บทเพลงแห่งรุ่งอรุณ. กรุงเทพฯ : ชมรมหนังสือต้นกล้า, 2523.

    เรย์โนลด์ส,เคร็ก เจ.“จิตร ภูมิศักดิ์ในประวัติศาสตร์ไทย.” ความคิดแหวกแนวของไทย จิตร ภูมิศักดิ์
    และโฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน
    ,1-84. แปลโดยอัญชลี สุสายัณห์. กรุงเทพฯ : อักษรสาส์น, 2534.

    วิชัย นภารัศมี. หลายชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, 2546.

    วิลลา วิลัยทอง. "ทัณฑะกาล" ของจิตร ภูมิศักดิ์และผู้ต้องขังการเมือง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.

    วิศรุต บวงสรวง. “เมื่อจิตรวิจารณ์ศาสนาศาสนาในทรรศนะวิจารณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ (ทศวรรษ 2490-2500).” [ออนไลน์].
    เข้าถึงได้จาก : 
    http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43665.2554.

    วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. “จะเข้คู่ใจของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย.”
    เรื่องมหัศจรรย์ธรรมดาของสามัญชน122-125. นราธิวาส : บางนรา,2556.

    วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. จิตร ภูมิศักดิ์คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2549.

    ศรีศักร วัลลิโภดม. “ขอมคือใคร? ศรีศักรวัลลิโภดม วิจารณ์ จิตร ภูมิศักดิ์.” [ออนไลน์].
    เข้าถึงได้จาก: 
    https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_4469.2559.

    สมานฉันท์ พุทธจักร. “รายงาน:50ปีการจากไปของ จิตร ภูมิศักดิ์ จาก ผีใบ้หวยสู่ อาจารย์จิตร’.” [ออนไลน์].
    เข้าถึงได้จาก: 
    http://www.prachatai.com/journal/2016/05/65617.2559.

    สมานฉันท์ พุทธจักร. “สัมภาษณ์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ 'บุหรี่' ที่หายไปของ'จิตรภูมิศักดิ์'.” [ออนไลน์].
    เข้าถึงได้จาก : 
    http://www.prachatai.com/journal/2016/05/65618.2559.

    สุชีลา ตันชัยนันท์. ““ผู้หญิง” ในทัศนะของจิตร ภูมิศักดิ์.” ผู้หญิงในทัศนะ จิตร ภูมิศักดิ์และแนวคิดสตรีศึกษา, 123-149.
    นนทบุรี : ผลึก, 2540.

    สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, บรรณาธิการ.จิตร ภูมิศักดิ์ : ความทรงจำและคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : พี.เพรส, 2557.

    สุวิมล รุ่งเจริญ, บรรณาธิการ. จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนอกคอก. กรุงเทพฯ :
    ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553.

    อติภพ ภัทรเดชไพศาล. “แสงดาวแห่งศรัทธา สถานะของเพลงเพื่อชีวิต และคอมมิวนิสต์ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์.”
    เสียงเพลง / วัฒนธรรม / อำนาจ, 161-191. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556.


    • วีดิทัศน์

    Youtube Channel: คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย

    สามารถติดตาม channel  "คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย" เพื่อรับฟังคลิปบรรยายทางวิชาการต่างๆ ว่าด้วยจิตรศึกษา โดยกด subscibe ได้ที่ 



    50ปี จิตร ภูมิศักดิ์ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” 


    รำลึก 50 ปี ตามรอยจิตร ภูมิศักดิ์ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”


    ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ จิตร ภูมิศักดิ์ จบชีวิตอย่างไร้ค่าที่สกลนคร ก่อนกำเนิดอีกครั้งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ





    หมายเหตุประเพทไทย #107 จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจดจำแบบไหน



    จิตร ภูมิศักดิ์ กับบริบทการเมืองไทยและโลก : ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์


  • คณะผู้จัดทำ
    จัดทำโดย...กาญจนา เทพรักษา, เกสรี สินธุพิจารณ์, ปิยภัทร จำปาทอง, พรนภสร ปุณณะเวส และสิริกรกช กิ่งแก้ว นิสิตภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา "วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย" เมื่อปีการศึกษา 2559



    บรรณาธิกรต้นฉบับ             หัตถกาญจน์ อารีศิลป
    กองบรรณาธิการ                 ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ และ โสภิตา คงวัฒนานนท์ 
    ภาพวาดประกอบ                 นน ศุภสาร
    เผยแพร่ครั้งแรก                  เพจ "อ่าน-คิด-เขียน"   เมื่อกันยายน 2563                                                        https://www.facebook.com/arts.readthinkwrite/

    ** สามารถส่งข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและผลงานเพื่อร่วมจัดทำคลังข้อมูลบรรณานุกรมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ทางอีเมล arts.readthinkwrite@gmail.com **


    © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in