03.30 น. ของวันที่ 22 มีนาคม 2565 ตามเวลาในประเทศไทย วัฒน์ วรรลยางกูร ได้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ แต่ผลงาน ตัวตน และอุดมการณ์อันแน่วแน่ของวัฒน์ จะคงดำรงอยู่
อ่าน-คิด-เขียน ขอร่วมรำลึกถึงคุณูปการของนักเขียน-นักกิจกรรม วัฒน์ วรรลยางกูร ด้วยการเผยแพร่คลังข้อมูลบรรณานุกรมในรูปแบบออนไลน์
การจัดทำคลังข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชา 2201252 วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงบรรณานุกรมใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่เกี่ยวข้องกับ คุณวัฒน์ วัลยางกูรเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้ใดนำไปใช้ในการค้าหรือเพื่อแสวงหาผลกำไรใดๆ ทั้งสิ้น
** ลิขสิทธิ์ของผลงานใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่ได้รวบรวมไว้ในรูปแบบบรรณานุกรมนี้เป็นของผู้สร้างผลงาน**
จัดทำโดย...โชษิตา ดอกพุฒ, ชุติภา สุวิมล, บินยากร นวลสนิท, บุญฑริกา จิตพินิจกุล เมื่อปีการศึกษา 2561 ขณะเป็นนิสิตภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ
เผยแพร่ครั้งแรก เพจ "อ่าน-คิด-เขียน" เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565
** ผู้เข้าชมสามารถส่งข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและผลงานเพื่อร่วมจัดทำคลังข้อมูลบรรณานุกรมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ทางอีเมล arts.readthinkwrite@gmail.com **
"วัฒน์ วรรลยางกูร" เดิมชื่อ วีรวัฒน์ วรรลยางกูร เกิดเมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นบุตรคนเดียวของนายวิรัตน์ และนางบุญส่ง วรรลยางกูร บิดามารดาแยกทางกันตั้งแต่ยังเล็ก ย้ายไปอยู่กับมารดาที่จังหวัดปทุมธานี เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดดาวเรืองจังหวัดปทุมธานี เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 บิดาได้ขออุปการะพากลับไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี อาศัยอยู่กับคุณย่าที่บ้านสวนริมแม่น้ำลพบุรี เรียนต่อที่โรงเรียนวินิตศึกษา จังหวัดลพบุรี เมื่อขึ้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ได้ไปเป็นเด็กวัดในเมืองลพบุรีแต่สอบตกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพราะสนใจการประพันธ์จนต้องซ้ำชั้น แต่เมื่อสอบเทียบได้จึงเลิกเรียนแล้วเข้ากรุงเทพฯ สมัครเรียนที่คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เรียนอยู่เพียง 2เดือนก็เลิกเรียนเพราะประสบปัญหาเงินทุนการศึกษา
ในด้านการประพันธ์ เนื่องจากมีโอกาสอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก (คุณตาชอบอ่านหนังสือมวยซึ่งมีนวนิยายด้วย ส่วนบิดาอ่านนิตยสารคุณหญิงที่มีคอลัมน์แวดวงกวี) เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
จึงเริ่มเขียนกลอนรักให้เพื่อนนักเรียนหญิง ต่อมาได้ออกหนังสือเขียนด้วยลายมือเพื่ออ่านกันในห้องเรียนโดยเป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ ทั้งยังได้เขียนเรื่องสั้นไปลงในหนังสือโรเนียวของโรงเรียนที่ครูมีส่วนร่วมจัดทำขึ้นใช้นามปากกา “วัฒนู บ้านทุ่ง”
วัฒน์ส่งกลอนและเรื่องสั้นไปยังนิตยสารชัยพฤกษ์ นิตยสารฟ้าเมืองไทย ฯลฯ เรื่องสั้น “คนหากิน” ได้ลงพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ยานเกราะ เมื่อ พ.ศ. 2513 (จากทั้งหมด 4 เรื่องที่ส่งไป) ในช่วงปิดภาคเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลงานกลอนที่ส่งไปประกวดได้ลงพิมพ์ในนิตยสารชัยพฤกษ์ และเรื่องสั้น “มุมหนึ่งของเมืองไทย” ของเขาได้ลงพิมพ์ใน “เขาเริ่มต้นที่นี่” ของนิตยสารฟ้าเมืองไทย ที่มีอาจินต์ ปัญจพรรค์เป็นบรรณาธิการ
หลังจากนั้น มีผลงานกลอนและเรื่องสั้นเผยแพร่ตามนิตยสารต่าง ๆมากขึ้น เช่น ฟ้าเมืองไทย
ชาวกรุง ลลนา ฯลฯ ในนาม “วัฒน์ วรรลยางกูร” (เมื่อนามปากกาเป็นที่รู้จักแพร่หลายประกอบกับ
มีปัญหาการเบิกค่าเรื่องจึงแก้ไขชื่อในบัตรประชาชน) ระหว่างที่เรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง วัฒน์ได้มีโอกาสคลุกคลีกับมิตรสหายในแผนกวรรณศิลป์ ได้รู้จักกับนักเขียนนักกิจกรรมหลายคนและได้รับคำแนะนำให้ไปทำหนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 จึงได้ฝึกฝนเขียนข่าว บทความ สารคดีเรื่องสั้นและนวนิยายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะได้เขียนคอลัมน์ประจำชื่อ “ช่อมะกอก” ใช้นามปากกา “ชื่นชอบ ชายบ่าด้าน” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเรื่องชุดในชื่อ “ตำบลช่อมะกอก” และกลายเป็นนวนิยาย “ตำบลช่อมะกอก” ในที่สุด รวมทั้งมีผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีพิมพ์ต่อเนื่องมาอีก 2 เล่มคือ “นกพิราบสีขาว” (พ.ศ. 2518) และ “กลั่นจากสายเลือด” (พ.ศ. 2519) ทำให้ชื่อเสียงของวัฒน์ วรรลยางกูรเป็นที่รู้จักของคนหนุ่มสาวที่เติบโตทางด้านความคิดในยุคสมัยดอกไม้บานร้อยดอก (14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) อย่างกว้างขวาง
เนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 วัฒน์ วรรลยางกูรต้องหนีภัยการเมืองเข้าไปอยู่ในป่า ในช่วงนั้นได้มีโอกาสเขียนเรื่องสั้น บทกวีและนวนิยายมากมาย และมีผลงานรวมเล่มออกมา 3 เล่ม ได้แก่ รวมเรื่องสั้นและบทกวี 2 เล่ม คือ “ข้าวแค้น” (พ.ศ. 2522) กับ “น้ำผึ้งไพร” (พ.ศ. 2523) และนวนิยาย “ด้วยรักแห่งอุดมการณ์” (พ.ศ. 2524)
พ.ศ. 2524 หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง วัฒน์ได้กลับมาใช้ชีวิตนักเขียน
โดยทำงานหนังสือพิมพ์ มาตุภูมิ ไฮคลาส และ ถนนหนังสือ ทำได้ประมาณ 1 ปีก็ลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระ เขียนนวนิยายเรื่อง “คือรักและหวัง” และ “จิ้งหรีดกับดวงดาว” ตีพิมพ์ในนิตยสาร ลลนา รายปักษ์ เรื่อง “บนเส้นลวด” ตีพิมพ์ในนิตยสาร สตรีสาร รายสัปดาห์ เรื่อง “มนต์รักทรานซิสเตอร์” ตีพิมพ์ใน บางกอก เรื่อง “เทวีกองขยะ” ตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์ เป็นต้น หลังจากตีพิมพ์ในนิตยสารแล้วเรื่องเหล่านั้นก็ยังได้รวมเล่มอีกหลายครั้งในโอกาสต่อมา นอกจากนี้ยังมีผลงานเรื่องสั้น สารคดี และบทสัมภาษณ์ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆอีกมากเรื่องสั้น “ความฝันวันประหาร” ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยให้เป็นเรื่องสั้นดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2525 นอกจากนี้ยังเขียนชีวประวัติ “ไขแสง สุกใส ลูกผู้ชายหัวใจไม่ผูกเชือก” และสารคดี “คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน” ด้วย
ผลงานของวัฒน์ วรรลยางกูร เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลซีไรต์ 6-7 สมัย และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากมาย เช่น "บนเส้นลวด" (ภาษาญี่ปุ่น) เรื่องสั้น “ลึกในหัวใจแม่” และ “ก่อนถึงดวงดาว” บทกวี “กล้วยหาย”(ภาษาอังกฤษ) และเรื่องสั้น “สาวน้อยตกน้ำในฤดูหนาว”(ภาษาเยอรมัน) และได้รับรางวัลศรีบูรพาเมื่อ พ.ศ. 2550
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับคุณอัศนา วรรลยางกูร มีบุตรธิดารวม 3 คน คือ วนะ วรรลยางกูร วสุ
วัฒน์ วรรลยางกูรได้ไปทำธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างกับภรรยาที่จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนกลับไปทำงานนิตยสารอีกครั้ง เป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน เป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Good Life เป็นต้น และเนื่องจากเคยแต่งเพลงให้คนอื่นร้องไว้หลายเพลง จึงทดลองแต่งและออกเทปเพลงของตนเองไว้หลายชุด เช่น แรงบันดาลใจ เป็นต้น แต่ก็ยังคงยึดงานประพันธ์เรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี สารคดีเป็นหลัก
ปัจจุบัน วัฒน์ วรรลยางกูรได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอาศัยอยู่ที่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื่องจากปฏิเสธไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2557 ต่อมาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยและลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2562
วัฒน์ วรรลยางกูร เสียชีวิตเมื่อเวลา 03.30 น. ของวันที่ 22 มีนาคม ตามเวลาในประเทศไทย ณ ประเทศฝรั่งเศส (อ่านรายละเอียดได้ที่ "สำนักข่าว BBC NEWS ประเทศไทย https://www.bbc.com/thai/thailand-60830192 )
รายชื่อ
- ความในใจของกระดูกในฟาร์มจระเข้ (
- นกพิราบสีขาว(2518)เมื่อพิมพ์ครั้งที่สอง เปลี่ยนชื่อเป็น ความหวังเมื่อเก้านาฬิกา (2522)ฃ
- กลั่นจากสายเลือด(2519)
- งูกินนา(2519)
- ข้าวแค้น(2522)
- น้ำผึ้งไพร(2523)
- ใต้เงาปืน(2522)[ไม่สามารถหาข้อมูลทางบรรณานุกรมได้]
- นครแห่งดวงดาว(2527)
- ฝุ่นรอฝน(2526)
- ลูกพ่อคนหนึ่ง(ถากไม้เหมือนหมาเลีย) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ.
- กลับมาเมื่อฟ้าค่ำ(2528)
- เรื่องเล่าอันพร่าเลือน(2532)
- รถไฟสังกะสีขบวนหนึ่ง ๒๕๑๓-๒๕๒๓ (2532)
- รถไฟสังกะสีขบวนสอง ๒๕๒๔-๒๕๒๘ (2533)
- นิยายของยาย(รวมเรื่องสั้นชุดจบในตอน 2536)
- สู่เสรี(2539)
- ปลาหมอตายเพราะไม่หายใจ(2549)
ภาพหน้าปกหนังสือบางส่วน
เพลงที่วัฒน์ วรรลยางกูรประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง
- ชุดแรงบันดาลใจ(2537)
- ชุดไม่ขาย(2539)
- ชุดดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก(2544)
- กบกับปู(2520)
- นักรบภูเขา(ต่อมา วงภูพาน 66 เปลี่ยนชื่อเป็น “นักรบจรยุทธ์”)(ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
- นอนหนาวฝนบนภูเขา(2520)
- หมอของประชาชน(ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
- ความหวังต่อสหาย(ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
- ฝันให้ไกลไปให้ถึง (2522 - 2539)
- แด่ความรักอันงดงาม(2522- 2523)
- ฝนแรก(ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
เพลงที่วัฒน์ วรรลยางกูรประพันธ์เนื้อร้อง
- ลูกภูพานต้านศัตรู(ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
- อย่าลืมการต่อสู้ทางชนชั้นหรือ ยืนให้สูง มองให้ไกล (ไม่ปรากฏปีที่แต่ง)
- คนสร้างบ้าน(2517- 2518)
- คิดถึงแม่(2523)
เพลงที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าวัฒน์วรรลยางกูร เป็นผู้ประพันธ์เพลงทั้งหมดหรือไม่
- จากแผ่นดินสู่ดวงดาว(2517- 2518)
- ปูนา(2517- 2518)
เพลงที่วัฒน์ วรรลยางกูร เป็นผู้ขับร้อง แต่ไม่ได้ประพันธ์เอง
- ดอกลา (
บรรณานุกรม
รายชื่อ
- เสียงเต้นของหัวใจ(2537)
- แรมทางกลางฝุ่น:สาระนิยายชีวิตและความผูกพันหลังพวงมาลัย (2539)
- ไพร่กวี(2554)
บรรณานุกรม
วัฒน์ วรรลยางกูร. (2539). แรมทางกลางฝุ่น:สาระนิยายชีวิตและความผูกพันหลังพวงมาลัย. กรุงเทพมหานคร: รูปจันทร์.
รายชื่อ
- นิตยสารโลกหนังสือปีที่ 4
- นิตยสารถนนหนังสือปีที่ 3
- Writermagazine ฉบับที่ 11 ประจำเดือนสิงหาคม 2536[ไม่สามารถหาข้อมูลทางบรรณานุกรมได้]
- Shortstory magazine ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
- วารสารกองทุนศรีบูรพาฉบับ “
บรรณานุกรม
วัฒน์ วรรลยางกูร. (2550). ขาหักเพราะรักเธอ. Short storymagazine, 3(6), 117- 124.
ภาพหน้าปก
รายชื่อ
- คมดาบคันไถ ไม้ เมืองเดิม (2544) ผลงานลำดับที่ 1 ในโครงการมิตรน้ำหมึก
- แรกเริดล่าเล่น๔x
- โพรงมะเดื่อ(2546)เข้ารอบสุดท้าย รางวัลซีไรต์ 2546
- สายลมเปลี่ยนทิศ แต่ดวงจิตมิได้เปลี่ยนเลย :ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย (2546)
- แผลเก่าของ ไม้เมืองเดิม (2554)
บรรณานุกรม
วัฒน์ วรรลยางกูร. (บรรณาธิการ). (2537). คมดาบ คันไถไม้ เมืองเดิม. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
วัฒน์ วรรลยางกูร. (บรรณาธิการ). คมดาบ คันไถ ไม้ เมืองเดิม.
ภาพหน้าปก
วัฒน์ วรรลยางกูร, ทองขาว ทวีปรังษีนูกูล, และคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน100 ปี ศรีบูรพา
(กุหลาบ สายประดิษฐ์). (2548). ร้อยชีวิต ร้อยข้อคิด 100ปี "ศรีบูรพา"
วัฒน์ วรรลยางกูร. (2546). ดาวประดับใจ.ใน ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร. (บรรณาธิการ). คิดถึงบ้านเกิด, 15-21. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วัฒน์ วรรลยางกูร. (
วัฒน์ วรรลยางกูร. (2548). เมากับชายหนุ่ม. ใน สัญญา พานิชยเวช (บรรณาธิการ). เธอปลูกดอกรักไว้ในใจฉัน, 271-274.
ชนิตตา โชติช่วง. (
เนตรทราย คงอนุวัฒน์. (
(
ปราโมทย์ ระวิน และดารา พรศรีม่วง. (2559). เรือนร่างกวีนิพนธ์การเมือง 4 เหตุการณ์.
ปรียาภรณ์ หนูสนั่น. (
พรทิพย์ รอดพันธ์,
(2548). สุนทรียภาพแห่งชีวิต คุณค่าทางวิจิตรศิลป์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 30(1), 270.
ไพโรจน์ บุญประกอบ. (2526). วิเคราะห์เรื่องสั้นแนวการเมืองและสังคมในช่วง14 ตุลาคม 2516- 6 ตุลาคม 2519. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
ไพลิน รุ้งรัตน์ และรื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2541). 25 ปี 14
ภาพโดยรวมของกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต(ยุคที่สอง)
คณะกรรมการโครงการ 25 ปี 14 ตุลา.
ภาคย์ จินตนมัย. โลดแล่นรวดเร็วเหนือรวงคลื่น : สนามแข่งแห่งชีวิตจากสังคมสู่ธรรมะ.
(2546). ในบทวิจารณ์รางวัลกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (1, หน้า 10-18). กรุงเทพฯ:
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภิญโญ กองทอง. (
มอง
มาโนช ดินลานสกูล. (
มาริสา สำลี. (
รุ่งอรุณ ทีฑชุณหเถียร. (
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์. (2548). ความเปลี่ยนแปลงของชนบทในสังคมไทยภาคกลาง ใน วรรณกรรมของ วัฒน์ วรรลยางกูร
วิเศษ คนหาญ. (
(
อารียา หุตินทะ. (
เรื่องสั้นไทย พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,7(3).
บทความจากสื่อสิ่งพิมพ์
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (4 พฤศจิกายน2528). นวนิยายเข้ารอบซีไรต์ คือรักและหวัง.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2536).
แม่ดอกโสน, “20
ยูร กมลเสรีรัตน์. (2547).
วิมล ไทรนิ่มนวล. (2528).
บทความจากหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
แกะรอย'วงไฟเย็น' กับขบวนการ'
คงกฤช ไตรยวงค์. (6 ตุลาคม2561). จาก วัฒน์ วรรลยางกูร ถึง วิภาส ศรีทอง: นวนิยายกับห่วงโซ่ความทรงจำสีเลือด. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/10/79011
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และ นริศรา สื่อไพศาล. (22 กรกฎาคม 2558).วจนา วรรลยาง กูร: “
https://prachatai.com/journal/2015/07/60491
ธีร์ อันมัย. (31 มีนาคม2561). 'ด้วยรักแห่งอุดมการณ์' ชะตากรรมที่ซ้อนทับกัน
นาฬิกา อิสรสารถี. (21 กรกฎาคม2558). เสียงจากลูก-มิตรสหาย ถึง "
10 บทกวีเข้ารอบสุดท้าย รางวัล FREE Writeกวีประชาชน. (12 ตุลาคม 2553).
ศิลป์สโมสร - คีตกวีลูกทุ่ง 1/2
ศิลป์สโมสร - คีตกวีลูกทุ่ง 2/2
J
Prachatai Interview with Wat Wunlayangkul.
© สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in