เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
WABI-SABI By Leonard Koren
  • รีวิวเว้ย (286) คำตามในหน้าเกือบสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้โดย "ปราดา หยุ่น" เขียนเอาไว้ว่า "วะบิ-ซาบิ คืออะไร ผมไม่รู้และคาดว่าจะไม่มีวันรู้ เหมือนถามว่าเซนคืออะไร เต๋าคืออะไร ชีวิตคืออะไร ความตายคืออะไร ... ใครตอบได้ก็บ้าแล้ว (ผมอยากบ้า)" การกำหนดนิยามให้สิ่งหนึ่งสิงใดหรือคำหนึ่งคำใด ดูจะเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของมนุษญ์โลก ดูได้จากการกำหนดชื่อเรียกของสิ่งต่าง ๆ นา ๆ แม้นว่าสิ่งนั้นจะกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ก่อนเราหบายร้อยล้านปีก็ตามแต่ หลายครั้งในการกำหนดนามหรือการกำหนดนิยาม ย่อมมุ่งหวังที่จะหา "ความหมายสุดท้าย" ของสิ่งที่ถูกกำหนดนิยามเอาไว้ แต่กับความหมายของคำอย่าง "วาบิ-ซาบิ" หลายผู้หลายคนอาจจะกำหนดนิยามและนามเรียกขานมันขึ้นมา แต่เชื่อเหลือเกินว่าในท้ายที่สุด "วาบิ-ซาบิ" ก็ยังคงเป็น "วาบิ-ซาบิ" อยู่วันยันค่ำ เหมือรอย่างที่ปราบดาบอกเอาไว้ "ใครตอบได้ก็บ้าแล้ว" 

    หนังสือ : WABI-SABI 

    โดย : Leonard Koren

    จำนวน : 208 หน้า

    ราคา : 295 บาท 


    หนังสือเรื่อง "WABI-SABI" ของ Leonard Koren ว่าด้วยเรื่องของความเป็น "วาบิ-ซาบิ" ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ถูกผูกโยงเข้ากับวัฒนธรรมอย่างการ "ชงชา" ที่ได้หยิบเอาวาบิ-ซาบิ มาขยายความผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ของพิธีกรรมและวัฒนธรรมการชงชา ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วนิยามที่แน่ชัดและตายตัวของวาบิ-ซาบิ ที่เกิดจากการกำหนดนามนั้น ก็ยังคงเป็นที่ฉงนและสนเท่ต่อการตีความและการกำหนดนิยามของคำดังที่ถูกสร้างขึ้น 


    หนังสือขนาดกระทัดรัดความยาว 208 หน้าอย่าง "WABI-SABI" สร้างความสนเท่นับตั้งแต่การเปิดอ่านหน้าแรกของบทนำ ที่ขึ้นต้นก็บอกเอาไว้ว่า "วาบิ-ซาบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวรและไม่เสร็จสมบูรณ์ (บทนำ)" 


    "WABI-SABI" ว่าด้วยเรื่องราวของความงามและสิ่งที่เรียกขานว่า "WABI-SABI" ผ่านรูปแบบและแนวคิดที่ถูกหยิบยกผ่านพิธีกรรมชงชา ทั้งตัวของเครื่องประกอบและเรือนที่ใช้ในพิธีชงชา ต่างสะท้อนภาพของ "WABI-SABI" ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม แต่รูปธรรมที่ถูกสะท้อนผ่านหนังสือ ก็ยังคงเป็นนามธรรมที่ยากจะหานิยามและแสดงซึ่งความเป็นวาบิ-ซาบิ ได้ 


    ดังที่หนังสือได้กล่าวเอาไว้แทบตลอดระยะทางทั้ ง 208 หน้า ว่าในท้ายที่สุดแล้วความงามอันสมบูรณ์ ความงามแบบวาบิ-ซาบิ หรือความงามในรูปแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ "ความรู้สึก" ของแต่ละบุคคล 


    หากเป็นเช่นนั้นจริง "WABI-SABI" อาจจะไม่มีค่าของความเป็นกลาง หรือแม้กระทั่งไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ความสมบูรณ์" ตามคติความเชื่อในเรื่อง "โลกของแบบ" ก็เป็นได้ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in