เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ความขัดแย้งภายในภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ By ชนินท์ธิรา ณ ถลาง
  • รีวิวเว้ย (1037) เวลาที่พูดถึงเรื่องของ "ความขัดแย้งภายในประเทศ" นึกถึงเหตุการณ์อะไรกันบ้าง (?) ความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐกับประชาชน และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ดูจะเป็นปัญหาความขัดแย้งที่หลายคนมองว่าบางเรื่องแก้ไขได้ บางเรื่องแก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อแนวทางการแก้ไขเป็นไปในทางของการใช้ "สันติวิธี" คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มคนที่สมาทานเรื่องของความมั่นคงและบูรณภาพแห่งดินแดนดูจะยิ่งแล้วใหญ่กับการจัดการปัญหาเรื่องของความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ด้วยแนวทางสันติวิธี ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการแก้ไขปัญหาคยามขัดแย้ง เราจะพบว่าแนวทางในการจัดการปัญหามีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบและหนึ่งในนั้นคือการอาศัยกลไกขององค์การหรือตัวแสดงระหว่างประเทศ และรวมไปถึงการอาศัยการแทรกแซงจากตัวแสดงภายนอก ที่ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่ามีหลายพื้นที่ หลายประเทศที่อาศัยกลไกและเครื่องมือดังกล่าวในการจัดการปัญหาความขัดแย้งภายใน
    หนังสือ : ความขัดแย้งภายในภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
    โดย : ชนินท์ธิรา ณ ถลาง
    จำนวน : 200 หน้า

    "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษา "โครงสร้างระหว่างประเทศ" ทั้งเรื่องของ (1) บรรทัดฐานหรือที่ผู้เขียนใช้คำภาษาอังกฤษว่า Norms (2) กลไก (3) กฎหมาย และ (4) สถาบัน ที่กลายมาเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้ในการจัดการความขัดแย้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในหลายประเทศที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานในเรื่องของ "การจัดการความขัดแย้ง" 

    ซึ่ง "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ได้ชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงเรื่องของความท้าทายและความยากลำบากบางประการของการใช้เครื่องมือผ่านทางประชาคมระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐหนึ่ง ๆ ว่าในความเป็นจริงแล้วกลไกการแทรกแทรงจากต่างประเทศอาจจะไม่ได้นำพามาสู่ทางออกของปัญหาได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากแต่กลไกของการจัดการความขัดแย้งอาจจะมีรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการที่เหมาะควรต่อการใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่แตกต่างกันออกไป บ้างแตกต่างออกไปตามพื้นที่ บริบทสังคม หรือกระทั่งความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์และวัฒนธรรมของกลุ่มคน

    เมื่อเป็นเช่นนั้น "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จึงได้ทำการศึกษาในคำตอบบางประการของเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งเหล่านั้น ทั้งเรื่องของกลไกในทางปฤษฏีและกรณีศึกษาของประเทศต่าง ๆ อาทิ เรื่องของ "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองแบบภายนอก" และ ฎกรณีศึกษาติมอร์ตะวันออก ค.ศ. 1999 และการแยกประเทศอย่างสันติในกรณีของมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี ค.ศ. 1965" รวมไปถึงเรื่องของ "ความเป็นมาของหลักการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรมและหลักรับผิดชอบเพื่อป้องกัน (Responsibility to Prevent : R2P)"  โดยที่เนื้อหาของ "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" แบ่างออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้ 

    บทที่ 1 ความขัดแย้งภายในภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศและผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    บทที่ 2 สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองแบบภายนอก (External Self-Determination)

    บทีที่ 3 การแทรกแทรงเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Intervention)

    บทที่ 4 สหประชาชาติและปฏิบัติการรรักษาสันติภาพ

    บทที่ 5 สรุปปัญหา อุปสรรค ในการป้องกันและรับมือความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เมื่อเราอ่าน "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" สิ่งสุดท้ายที่ได้รับจากการอ่านอาจจะมิใช่ทางออก หรือวิธีการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในแบบที่สามารถหยิบจับเอามาใช้ได้ทันที หากแต่ "ความขัดแย้งภายใน ภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ได้ฉายให้เราได้เห็นพลวัตรของการจัดการความขัดแย้งและพลวัตรของการแก้ปัญหา ซึ่งหนังสือเล่มนี้ช่วยย้ำเตือนกับเราว่า "ความขัดแย้งอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เรื่องเก่า หรือความเคยชินเดิม ๆ" หากแต่ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่ต้อง "อาศัยความเข้าใจ" ในการใช้รับมือและจัดการกับปัญหาไม่ใช่เพื่อเอาชนะหากแต่เพื่อแสวงหาทางออกของปัญหาและการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของคนทุกกลุ่ม 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in