เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม By วิจิตรา วิเชียรชม
  • รีวิวเว้ย (943) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ" ในทางทฤษฎีคำพูดดังกล่าวดูจะเป็นจริงแต่ในบางประเทศก็ไม่แน่ใจว่าระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายอื่น ๆ หรือระเบียบ ข้อบังคับ และกลไกอื่นจะมีสภานะสูงกว่ารัฐธรรมนูญหรือไม่ในทางปฏิบัติ กลับมาที่เรื่องของ "ความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ" ในเมื่อรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ การบังคับใช้รัฐธรรมนูญในหลายครั้งก็เกิดปัญหาในเรื่องของ "การจัดกัน" ระหว่างกฎหมายอื่นกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งแน่นอนว่าในทางทฤษฎีเรามักจะได้ยินคำต่อท้ายประโยค "รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ ... กฎหมายอื่นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมิได้" แล้วถ้าในทางปฏิบัติเกิดมีกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนั้นจะต้องดำเนินการเช่นไร (?)
    หนังสือ : การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม
    โดย : วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม
    จำนวน : 170 หน้า

    หนังสือ "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม" จัดอยู่ในหมวดของเอกสารชุดความรู้ว่าด้วยสถาบันการเมืองลำดับที่ 4 ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยที่เนื้อหาของ "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม" ว่าด้วยเรื่องของการควบคุมกฎหมาย และองค์กรที่มีหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายมิให้ "ขัดต่อรัฐธรรมนูญ"

    เนื้อหาของ "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม" จะพาเราไปย้อนดูแนวคิดและทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของ "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ" และพาเราไปทำความเข้าใจกลไกในภาพรวมของทั้งแนวทางใยการควบคุมกฎหมายและองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายเพื่อมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งแนวทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และข้อดี-ข้อเสีย ของการควบคุมกฎหมายและองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายดังกล่าว

    เนื้อหาภายในหนังสือ "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 แนวความคิดพื้นฐานหรือทฤษฎีและที่มาของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ - แนวความคิดพื้นฐานหรือทฤษฎีของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ, ที่มาของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ

    บทที่ 3 ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ - ประเภทของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ, องค์กรที่มีอำนาจควบคุม, กระบวนการพิจารณาวินิจฉัย, ผลของการควบคุม

    บทที่ 4 ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในประเทศไทย - ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญของไทยในอดีต, ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน

    บทที่ 5 ปัญหาของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ - การไม่มีกำหนดหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน, การขาดบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับกระบวนการพิจารณาคดีเป็นคดีเร่งด่วน, การกำหนดให้ผลของคำวินิจฉัยเป็นเด็ดขาดโดยปราศจากการควบคุม, การขาดความเป็นเอกภาพของคำวินิจฉัย

    บทที่ 6 บทสรุป

    เมื่ออ่าน "การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญกับองค์กรควบคุม" ผู้อ่านจะพบว่าในกระบวนการของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งในมิติของกลไก กระบวนการ และองค์กรที่ทำหน้าที่หากทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเป็นการดี แต่หากองค์กร ระบบ หรือกฎไกเหล่านั้นใช้อำนาจหน้าที่อย่างล้นเกิน ในหลายครั้งมันอาจจะก่อปัญหาที่ไม่อาจจินตนาการได้ติดตามมาในภายหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in