เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด By Fareed Zakarai แปล วิภัชภาค
  • รีวิวเว้ย (838) การบริหารจัดการการระบาดโควิด-19 ของรัฐบาลไทย (พ.ศ. 2564) เรียกได้ว่า "สุดจัด" อันประกอบจาก 2 คำคือ "สุด" ที่มาจาก "เหี้ยสุด" และคำว่า "จัด" ที่มาจากคำว่า "จัดว่าฉิบหาย" เพราะถ้าดูจางวงรอบการรับมือการระบาดของโรครัฐบาลมีเวลาร่วมปีในการจัดหาวัคซีนเพื่อรับมือกับการระบาด ซึ่งแน่นอนว่สตัวเลขผู้ติดเชื้อ ตัวเลขผู้เสียชีวิต และตัวเลขของความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการยืนยันให้เห็นว่าการทำงานของรัฐบาลล้มเหลวไม่มีชิ้นดี (จะมีดีอยู่อย่างเดียวก็แค่ปาก) นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมาหากใครติดตามข่าวก็จะเห็นเรื่องของความไม่ชอบมาพากลไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน การสั่งซื้อวัคซีน การเข้าถึงและการบริหารวัคซีน และล่าสุดคือเรื่องของการจัดซื้อ ATK ของบริษัทหนึ่งที่มีข้อกังวลเรื่องของมาตรฐาน และจำนวนการจัดซื้อ ซึ่งหลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่ามันอาจจะซ้ำรอยของการทุ่มซื้อวัคซีน Sinovac แบบครั้งก่อน และหลายคนกังวลว่ารัฐบาลกำลัง "เล่นการเมืองบนเลือดเนื้อ ชีวิต และลมหายใจของประชาชน" โดยที่รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้มีเป้าหมายในการปกป้องประชาชนอย่างที่รัฐบาลในสากลโลกพึงกระทำ 
    หนังสือ : บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด 
    โดย : Fareed Zakarai แปล วิภัชภาค
    จำนวน : 343 หน้า
    ราคา : 320 บาท 

    "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" หนังสือที่แปลจาก "Ten Lessons for a Post-Pandemic World" ซึ่งเนื้อหาใน "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" ประกอบได้ด้วยเรื่องราว 10 บทเรียนที่ผ่านการวิเคราะห์ของผู้เขียน ในฐานะของนักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์การเมืองที่เขียนงานศึกษา และอยู่บนสนามข่าวมาอย่างเนิ่นนานและมีหนังสือสารคดีเชิงวิเคราะห์ออกมาแล้วหลายเล่ม ทำให้ "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ผ่านการวิเคระห์ถึงโลกหลังการระบาดได้อย่างน่าสนใจ 

    โดยบทเรียนทั้ง 10 ที่ปรากฎใน "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" ประกอบด้วยเรื่องของ บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของการคาดเข็มขัด บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของสิ่งสำคัญคือคุณภาพของรัฐบาลไม่ใช่ขนาด บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของแค่ตลาดไม่เพียงพอ บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของประชาชนควรฟังผู้เชี่ยวชาญและผู้เชี่ยวชาญก็ควรฟังประชาชน บทที่ 5 ว่าด้วยเรื่องของชีวิตดิจิทัล บทที่ 6 ว่าด้วยเรื่องของถูกของอลิสโตเติลเราเป็นสัตว์สังคม บทที่ 7 ว่าด้วยเรื่องของความไม่เท่าเทียมจะยิ่งแย่ลง บทที่ 8 ว่าด้วยเรื่องของโลกาภิวัตน์ยังไม่ตาย บทที่ 9 ว่าด้วยเรื่องของโลกกำลังกลายเป็นสองขั้ว และบทที่ 10 ว่าด้วยเรื่องของบางครั้งนักนิยมความจริงที่ยิ่งใหญ่ก็เป็นนักอุดมคติ และเนื้อหาในเล่มยังประกอบด้วยอีก 2 บทนั่นคือส่วนของบทนำที่พาเราไปทบทวนถึงที่มาของการระบาดของโควิด-19 และมีการกล่าวถึงโรคระบาดที่เปลี่ยนโลกกลม ๆ ใบนี้มาบ้างแล้วก่อนหน้าการปรากฎตัวของโควิด-19 และบทสรุปที่ฉายให้เราเห็นสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็าความหวังบางประการภายใต้ชื่อบทว่า "ไม่มีอะไรถูกลิขิตไว้" ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดของ "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" คือการพาเราไปสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงก่อน ระหว่างและหลังการระบาดของโควิด-19 ที่ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 กระทั่งปัจจุบัน (2021) ซึ่งมีทีท่าว่ามันจะอยู่กับโลกกลม ๆ ใบนี้ไปอีกหลายปี 

    อาจจะเรียกได้ว่าเนื้อหาในบทต่าง ๆ ที่ปรากฎใน "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" คือการชักชวนให้เราตั้งคำถาม และมีบทสนทนากับความเปลี่ยนแปลงของโลกนับตั้งแต่พวกเราเผชิญกับการระบาดไปทั่วโลกของโควิด-19 รวมทั้ง "บทเรียนเพื่อโลกหลังการระบาด" ยังชวนให้เราลองมองให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งใบที่เปลี่ยนไปแบบกระทันหันภายใต้การระบาดของไวรัสเปลี่ยนโลก และไม่แน่ว่าภายหลังจากสภาวะการระบาดอย่างรุนแรงจบลงโลกอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มันอาจจะเปลี่ยนโลกไปในทางที่ดีขึ้น หรือบางทีมันอาจจะพาโลกเราเดินไปในทางที่แย่ลง ความตอนหนึ่งในหนังสทอเสนอมุมมองให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับโลกในวันต่อ ๆ ไป ภายใต้การหยอกล้อว่า แท้จริงแล้วธรรมชาติอาจจะไม่ได้น่ารักในแบบที่ใครหลายคนคิด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in