เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
แผนที่สร้างชาติ By เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
  • รีวิวเว้ย (760) ท่อนหนึ่งในเพลงชาติไทย (2482) ฉบับพระเจนดุรียางค์ กับหลวงสารานุประพันธ์ เขียนเอาไว้ว่า "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" หลายปีผ่านมาที่แหกปากและยืนตากแดดเพื่อร้องเพลงชาติก่อนเข้าเรียน มันทำมห้เราลืมนึกไปว่า "รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" ที่อยู่ในท่อนแรกของเพลงชาติไทย มันนับใครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ชาติเชื้อไทย" บ้าง ? เพราะถ้าลองพิจารณาให้ดี ๆ นับจากวันที่เพลงชาติฉบับ 2482 เริ่มใช้ กระทั่งถึงปัจจุบัน (2563) เราจะยังพบว่าในคสามรู้สึกของคนไทยหลายกลุ่มคนบางคนยังไม่ไดถูกนับรวมในฐานะของ "คนไทย" ให้เหมือนในท่อนเปิดของเพลงชาติเลยแม้แต่น้อย หลายคนยังคงมีความสุข ความสะใจ และคสามดีใจเมื่อเห็นคนที่อยู่ในชาติเดียวกันตามความในท่อนเปิดของเพลงชาติถูกทำร้าย บางคนดีใจและเรียกร้องให้มีการใช้กำลังและความรุนแรงต่อเพื่อร่วมชาติตามท่อนเปิดของเพลงชาติ หลายปีมานี้ที่ไม่ได้หยุดยืนตรง และหลายปีมานี้ที่ไม่ค่อยได้ยินเพลงชาติไทยสักเท่าไหร่ (เพราะเลิกดูทีวี) พอได้มีเวลามานั่งเปิดเพลงชาติฟัง เรากลับรู้สึกว่า "เพลงชาติไทย" ก็คงไม่ต่างอะไรกับความพยายามทั้งหลายของรัฐไทยที่จะหาอะไรมาเป็นเครื่องมือในการ "รวมไทยสร้างชาติ" แต่ปัญหาสำคัญคือคนทุกกลุ่มกลับไม่ได้ถูกนับรวมเข้ามาเป็นคนในชาติอย่างเท่าเทียมกัน เหมือนในท่อนเปิดของเพลงชาติไทย
    หนังสือ : แผนที่สร้างชาติ
    โดย : เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
    จำนวน : 160 หน้า
    ราคา : 250 บาท

    หนังสือ "แผนที่สร้างชาติ" หรือในชื่อเต็ม ๆ คือ "แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น" เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ชักชวนให้เราลองตั้งคำถามกับสิ่งที่ถูกเรียกกว่า "การสร้างชาติไทย" โดยเฉพาะการมองปรากฏการณ์ของการสร้างชาติไทยผ่าน "แผนที่" แต่แผนที่และรูปแบบของแผนที่ที่ถูกพูดถึงใน "แผนที่สร้างชาติ" คือแผนที่คนละรูปแบบกับที่ถูกเขียนเอาไว้ใน Siam Map ของ ธงชัย เพราะแผนที่ใน "แผนที่สร้างชาติ" คือการพูดถึงแผนที่ของรัฐไทยที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง "สงครามเย็น"

    โดยที่เนื้อหาใน "แผนที่สร้างชาติ" คือการกางแผนที่ของรัฐไทยที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็นโดยความร่วมมือของรัฐบาลเผด็จการกับกองทัพสหรัฐ และสถาบันวิชาการที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยร่วมในการจัดทำแผนที่ โดยเฉพาะแผนที่ที่มีการกำหนดรายละเอียดของหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ภาตเหนือและภาคอีสาน ซึ่งแน่นอนว่าช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากช่วงเวลาของสงครามเย็นแล้ว ภัยคอมมิวนิสต์ก็กำลังกลายเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนการทำแผนที่ของรัฐไทย ซึ่งในท้ายที่สุดมันส่งผลต่อการขับเคลื่อนโครงการหลาย ๆ อย่างในช่วงเวลานั้นเพื่อเป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์

    และการทำแผนที่ของรัฐไทย โดยความร่วมมือกัลสหรัฐอเมริกานี้เอง ก็นับเป็นหนึ่งในความร่วมมือกับในการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ โดยที่เนื้อหาใน "แผนที่สร้างชาติ" แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการจัดทำแผนที่ของรัฐไทย ที่ผูกโยงอยู่กับช่วงเวลาของสงครามเย็น และรวมไปถึงการทำแผนที่โดยละเอียดในระดับของการระบุหมู่บ้านและข้อมูลพื้นฐานผ่านการจัดทำแผนที่ก็นับเป็นหนึ่งในกลไกของการปกป้องภัยคอมมิวนิสต์ผ่านกลไกของการรวมชาติสร้างไทยผ่านแผนที่ในช่วงเวลาดังกล่าว 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in