เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย By อานนท์ นำพา
  • รีวิวเว้ย (616) ระบอบประชาธิปไตยที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์และใช้ระบบรัฐสภา มีหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “กษัตริย์ไม่ทรงต้องรับผิด” หรือ “The king can do no wrong” ที่ว่า “no wrong” นั้น หมายความว่า “The king” ไม่ทำอะไรเลยจึง “no wrong” กล่าวคือ กษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ คณะรัฐมนตรี สภา ศาล องค์กรของรัฐอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้ใช้อำนาจอย่างแท้จริงในนามของกษัตริย์ และเป็นผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นนั่นเองที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำของตน สมดังคำกล่าวที่ว่า “กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง” (ปิยบุตร แสงกนกกุล, ใน พระราชอำนาจ การลงพระปรมาภิไธย และการสนองพระบรมราชโองการ) เราจะเห็นได้ว่าหลักการที่ว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์หรือประมุขของรัฐไม่อาจจะถูกฟ้องร้องใด ๆ ได้นั้นเป็นผลมาจากการที่ประมุขของรัฐไม่ทรงลงมือกระทำการใด ๆ ด้วยพระองค์เอง และในทุกการกระทำของพระองค์จำเป็นจะต้องมี "ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ" เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการฟ้องร้องกล่าวโทษจะไม่สามารถฟ้องร้องกล่าวโทษต่อองค์พระมหากษัตริย์ได้ เพราะพระองค์มิได้ลงมือกระทำการใด ๆ ด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะแตกต่างกับเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 ที่มีความพยายามของ "ถวัติ ฤทธิเดช" ที่รู้จักกันในฐานะผู้นำกรรมกรรถราง (เขาก่อตั้งสมาคมรถราง) จะยื่นฟ้องพระปกเกล้าต่อสภาผู้แทนราษฎร อ้างว่าพระปกเกล้าหมิ่นประมาทตน เพราะในบันทึก “พระบรมราชวินิจฉัยเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรม” ที่มีการแจกจ่ายระหว่างเกิดวิกฤตการณ์เรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจเมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน 2475 (ปฏิทินเก่า เทียบปัจจุบันคือ 2476 คือปีเดียวกับที่เรากำลังพูดถึง) มีข้อความตอนหนึ่งพาดพิงถึงผู้นำกรรมกรรถรางว่า “การที่กรรมกรรถรางหยุดงานนั้น หาใช่เกิดการหยุดเพราะความเดือดร้อนจริงจังอันใดไม่ ที่เกิดเป็นดังนี้นั้นก็เพราะมีคนยุให้เกิดการหยุดงานขึ้น เพื่อจะได้เป็นโอกาสให้ตั้งสมาคมคนงาน และตนจะได้เป็นหัวหน้า และได้รับเงินเดือนกินสบายไปเท่านั้น” ซึ่งกรณีดังกล่าวได้สร้างความปั่นป่วนและแตกตื่นขึ้นอย่างมากในสังคมสยามในช่วงเวลานั้น และเราคิดว่ากรณีดังกล่าวได้กลายมาเป็นการกำหนดรูปแบบของการนำเอาหลักการ “The king can do no wrong” มาใช้ในประเทศไทยในระยะต่อ ๆ มากระทั่งปัจจุบัน
    หนังสือ : สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
    โดย : อานนท์ นำพา
    จำนวน : 30 หน้า
    ราคา : แจกฟรี บาท

    "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" ไม่ใช่หนังสือที่ถูกเขียนในลักษณะของหนังสือวิชาการที่พูดถึงเรื่องของบทบาท ที่มาและความสัมพันธ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทยแต่ประการใด หากแต่ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" เกิดขึ้นมาจากการถอดบทปราศัยของ "อานนท์ นำพา" ที่พูดในกิจกรรม " เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย" เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563

    ที่บทปราศัยของเขาตั้งคำถามถึงเรื่องของ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" ถายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ว่าบทบาทของ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" เป็นเช่นไรในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในบทปราศัยในเล่ม "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" ได้มีการตั้งข้อสังเกตุหลายประการในเรื่องของสถาบันฯ และกลุ่มผู้ที่แอบอ้างเพื่อใช้สถาบันฯ ในการบ่อนทำลายคู่ตรงข้ามของตนเอง อาจจะด้วยการป้ายสี หรือการสร้างสภาวะของความ "แตกต่าง" เพื่อก่อให้เกิดความแตกแยกผ่ายการใช้สถาบันให้กลายเป็นเครื่องมือของการดำเนินการดังกล่าว

    ใน "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" ได้มีการพูดถึงข้อเรียกร้องประการสำคัญในเรื่องของการปรับแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างกลไกของความสมมาตรทางอำนาจ เพื่อให้อำนาจในรัฐธรรมนูญกลับเข้ามาอยู่ในรูปในรอยของระบอบประชาธิปไตย ที่มีความเป็นประชาธิปไตยแบบมิใช่ประชาธิปไตย 99.99% ตามความเข้าใจของประยุทธ์ และพรรคพวก

    • สามารถอ่านบทความเรื่อง "พระราชอำนาจ การลงพระปรมาภิไธย และการสนองพระบรมราชโองการ" ได้ที่ http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1019

    • สามารถอ่านบทความเรื่อง "ถวัติ ฤทธิ์เดชกับคดีพระปกเกล้า" ได้ที่ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4_%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in