เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองเหนือในมุมมองใหม่ By พิริยะ ไกรฤกษ์
  • รีวิวเว้ย (351) วิชาประวัติศาสตร์ ศิลปะ พุทธศาสนา ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เราเชื่อว่า "อาณาจักรสุโขทัย" เป็น "ต้นธาร" แห่งศิลปะวิทยาทั้งปวง รวมไปถึงวัฒนธรรม ประเพณีและการปกครอง ระบบการศึกษาทำให้เราเชื่อ (แบบไม่ให้ตั้งคำถาม) ว่าอาณาจักรสุโขทัยของเหล่าพ่อขุนทั้งหลายนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของความดี ความงาม คสามล้ำค่าของสยามประเทศ (ไทย) ยิ่งกับเรื่องของศิลปะที่ถ่ายทอดผ่านวัด วัง พระเครื่อง เจดีย์ เรามักจะพบว่าคำอธิบายทั้งหลายขอวหลักสูตรกระทรวงศึกษา จะยังคงตอกย้ำความเชื่อที่ว่า History of SIAM begins at Sukhothai ในสมัยหลังคสามเชื่อดังกล่าวถูกท้าทายจากวงของการศึกษาและเหล่านักประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง 
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองเหนือในมุมมองใหม่
    โดย : พิริยะ ไกรฤกษ์
    จำนวน : 62 หน้า
    ราคา : 120 บาท

    อย่างกรณีของศิลปะเกี่ยวข้องกับศาสนาสถานในสุโจทัยเอง ก็ถูกท้าทายและตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้ว อาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นธารของสิ่งเหล่านี้แท้จริงหรือไม่ "ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองเหนือในมุมมองใหม่" ของ อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ได้แสดงหลักฐานและชวนให้เราได้ตั้งคำถามกลับไป ว่าแท้จริงแล้วศิลปะของอาณาจักรสุโขทัยนั้น มีรากฐานของความเป็นมาที่สามารถเรียกได้ว่า "เป็นรากร่วมทางศิลปะ" ของหัวเมืองทางเหนือทั้งหมดได้หรือไม่

    "ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองเหนือในมุมมองใหม่" ทำหน้าที่เป็นหลักฐานในการขยายกรอบคิดในเรื่องของศิลปะของอาณาจักรสุโขทัย ที่กระทรวงศึกษาเชื่อว่าเป็นต้นธารของศิลปะหลายยุคของไทย (สยาม) นั้น แท้จริงแล้ว มีการประยุกต์เอาศิลปะวัฒนธรรมของแหล่งอื่น ๆ มารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน และแหล่งศิลปะในพื้นที่เมืองเก่าของอาณาจักรสุโขทัยนั้น หลายชิ้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กัน หากแต่หลายชิ้นถูกทยอยสร้างขึ้นมาตลอด นับตั้งแต่เป็นอาณาจักรสุโขทัย กระทั่งสมัยของการเป็นเมืองขึ้นและเมืองลูกหลวงในช่วงต้นอาณาจักรอยุธยา

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ใน "ประวัติศาสตร์ศิลปะเมืองเหนือในมุมมองใหม่" ได้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสุโขทัยเองมีการปรับตัวในเรื่องของศิลปะอยู่หลายครั้ง จากต่างวัฒนธรรมและต่างพื้นที่อยู่เสมอ ซึ่งอาจจะตีคสามได้ว่า ขนบวัฒนธรรม ประเพณี ของอาณาจักรสุโขทัยเองนั้น ก็อาจจะมีการรับและปรับใช้ให้มีคสามเป็นสุโขทัย และกลายมาเป็นฐานทางวัฒนธรรมให้กับสยามในเวลาต่อมาก็อาจจะเป็นได้

    ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์เอง ล้วนแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์บางแบบอยู่เสมอ ๆ จะมีก็แต่ผู้ฉวยใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมนั้นแหละ ที่ชอบตัดเอาประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งช่วงใดออก และเพิ่มความคิด ความเห็นของตัวเองเข้าไป เพื่อฉวยใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือของตย เพื่อจุดมุ่งหมายบางประการ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in