ชีวิตของฉันหลังจากทุกอย่างเข้าที่เข้าทางเมื่อปีที่แล้ว (เกริ่นซะ) จำได้ว่าช่วงนั้นที่มาถึงในอินเดีย เอาเป็นว่าต่อจากนี้จะเรียกว่า
บ้านและแถวบ้านก็แล้วกัน ขออนุมานตนแบบอวดดีถือสิทธิ์
แถวบ้านช่วงเมื่อต้นตุลาปีก่อน ช่วงนั้นเป็นเทศกาลที่เรียกกันว่า นว ราตรี หรือ เก้า ค่ำคืน แน่นอนว่าเทศกาลนี้ก็ต้องข้องเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่ออยู่แล้ว แต่ช้าก่อน มุมปากอย่างพึ่งดิ่งลง และตาอย่าพึ่งกลอก เทศกาลที่ว่านี้ไม่ได้มีแต่ความน่าเบื่อหรอกนะคุณ
อยากให้มองว่า ทุกความเชื่อของเขา มันแฝงไปด้วยปรัชญาการใช้ชีวิต หรือว่ากันง่ายๆว่าความเชื่อ ศาสนา และปรัชญาของชาวอินเดีย ไม่ใช่มีไว้แค่งมงายอย่างที่ใครๆว่ากัน แต่มันคือชีวิต และแนวทางการใช้ชีวิตของเขา ซึ่งหากไม่ได้ทำให้คุณ หรือใครๆ เดือดร้อนก็ไม่เห็นต้องไปร้อนรุ่มแทนเลย ถูกไหมคะ มาค่ะลองเปิดใจ มามองมุมใหม่ๆของอินเดียกันเถอะ
โห กว่าจะได้เข้าเรื่อง นว ราตรี ก็ปาเข้าไปครึ่งหน้าแล้ว (ลูกอิออกทะเลเสียจริงฉันเนี่ย)
อ่ะมาสาระๆ นวราตรี ที่ฉันเห็นก็คือชาวบ้านแถวบ้านเขาจะปั้นรูปปั้นพระแม่ ทุรคา หรือ ดุรกา ขึ้นมา แล้วบูชากันตลอดเก้าวันพร้อมตกแต่ง ซุ้มเอย ชุดเอย ต่างๆเยอะแยะมากมายมากเว่อร์ คือเทศกาลนี้จะอิงเกี่ยวกับ รามจริตมานัส เป็นมหากาพย์ของราม อารมณ์แบบอีกฉบับหนึ่งของรามายะณะ หรือ รามเกียรติ์ ที่บ้านเรานำไปแปลและดัดแปลงนั่นแหละค่ะ (ใช่ค่ะที่นี่ พระราม เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งนะ)
ซึ่ง ณ ที่นี้ เจ้าแม่ทุรคาเนี่ยเขาได้ช่วยรามในการรบกับราวัณ หรือ ทศกัณฑ์ ตลอดทั้งเก้าวัน ช่วยเนี่ยไม่ได้หมายความว่าลงไปรบด้วยหรืออะไรทำนองนั้นนะคะ แต่เป็นเหมือนที่พึ่งทางใจ อวยพร อวยชัยให้แก่รามน่ะค่ะ อะไรประมาณนี้ (ถ้าผิดพลาดหรือตกหล่นข้อมูลยังไงขอ อภัยด้วยนะคะ สามารถเสริม เพิ่มเติมข้อมูลได้นะคะ) ซึ่งพอเข้าวันที่สิบเนี่ย ที่นี่ก็จะเรียกกันว่า ดัศฮรา (दशहरा) ขอโทษจริงๆไม่ทราบว่าที่ไทยเรียกวันนี้กันว่าอะไร ซึ่งวันที่สิบเนี่ยตามความเชื่อคือ วันที่รามรบชนะแล้ว ซึ่งในการแสดงถึงวันนีี้ชาวบ้านก็จะนำรูปปั้น ราวัณ ไปเผา หรือ นำไปลอยน้ำที่แหล่งน้ำที่ใกล้เมืองของตนมากที่สุดอะไรอย่างงี้ ชาวบ้านก็จะพากันไปวัดบูชา ไหว้ขอพร ต่างๆ ซึ่งทุกคนนะแต่งตัวสวยกันม้ากกกกกกกก ตื่นตาตื่นใจสุ้ดดด
ความสนุกและน่าตื่นเต้นของเทศกาล นว ราตรีนี้คือ การที่ทุกบ้านจะมีการเริ่มประดับประดาไฟ ซึ่งความอินเดีย แน่นอนค่ะ less is more คืออารัย ไอไม่รู้จัก more is more เท่านั้น หรือเรียกได้ว่า ประดับไปใครตาบอดช่างมัน!!!!
ถามว่าดิฉันทำอะไรน่ะหรอคะ จำได้ว่าปีแรกที่มาถึงคือยังเด๋อด๋า ภาษายังอ่อนด้อย ยังไม่กล้าออกไปไกลเกินเขตมหาลัยมากนัก วันแรกที่ออกไปก็ยัง งงๆ ว่าเอ๋ เขาทำไรกันหว่า จบ พอวันที่เก้าออกไปในเมือง เจอเข้ากับซุ้ม รวมคนตีกลองร้องเพลง บ้างก็เต้น บ้างก็เฉลิมฉลองด้วยการจุดประทีป และเจอขบวนแห่พระแม่แต่ถามว่าได้ตามไปไหม ไม่ค่ะ คุณคะจากเมืองดิฉันไปแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดก็คือหกกิโล ซึ่งไม่มีรถผ่าน เห้ออออออ อด
แต่ปีที่แล้วเริ่มอาจหาญเลยเรียกออโต้เจ้าประจำ และควงแขนกันไปกับรุ่นพี่ แต่แล้วยังไงดันออกไปผิดวัน นึกว่าเป็นวันสุดท้าย วันที่เก้า แต่ไม่จ่ะออกไปวันที่สิบ แถมไปตอนที่เขาเผาราวัณกันเรียบร้อยแล้วด้วยนะ แงงงงงงงงงงงงงงงงงง้
อ่อ สำหรับใครที่อยากมาดูหรือสัมผัสด้วยตนเอง อย่าลืมนะคะ ช่วงตุลาคมของทุกๆปีค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าอิงกับจันทรคติหรือเปล่า ป.ล. หากคุณไปเมืองเล็กๆ อย่าหวังพึ่งร้านอาหารนะคะ อารมณ์แบบ อุ่ยไปทานข้าวนอกบ้านดีก่าาา เฉลิมฉลองรามรบชนะ เพราะดิฉันเองเป็นหนึ่งในนั้นที่เคยคิดค่ะ สรุปคือ 0 ร้านปิดทั้งหมด คอตกกลับหอต้มมาม่าแบบสุด
แต่ถือว่าเป็นเทศกาลที่ประทับใจและชอบอีกหนึ่งเทศกาล
วันนี้ไปก่อน नमस्ते , फिर मिलेंगे
भदनरिन,०८/०२/२०१९
वर्धा,भारत
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in