หนังสือ
"คิดแบบกฎ 80:20" เรียบเรียงโดย พันโทอานันท์ ชินบุตร
พูดถึงแนวคิดและหลักปฏิบัติสู่ผลลัพธ์อันน่าทึ่งด้วยการ "ทำน้อยแต่ได้ผลมาก"
กฎ 80:20 คืออะไร?
กฎ 80:20 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎพาเรโต" (Pareto principle) ที่อธิบายว่า
ผลลัพธ์ 80% มาจากตัวแปร 20%
หรือ
การกระทำจำนวนน้อยนิดเพียง 20% ส่งผลมากถึง 80%
ที่มา
กฎพาเรโตถือกำเนิดมาจากนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี นามว่า Vilfredo Pareto เขาได้จุดประกายแนวคิดนี้ลงในผลงานตีพิมพ์ชิ้นแรกของเขา Cours d'économie politique และเป็นที่รู้จักขึ้นมาราวค.ศ.1941 เมื่อ Joseph M.Juran ที่ปรึกษาด้านการบริหาร ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงคุณภาพในสมัยนั้น ได้นำกฎของพาเรโตมาประยุกต์ใช้และตั้งชื่อตามผู้ให้กำเนิดหลักการนี้ขึ้นมา
การนำไปใช้
concept ของหลักการนี้คือ ส่วนน้อยที่สำคัญและส่วนที่ไม่สำคัญจำนวนมาก (vital few and trivial many) กฎนี้ไม่ได้เป็นสูตรคณิตศาสตร์ตายตัว สามารถนำไปใช้อย่างยืดหยุ่น พลิกแพลงกลับไปกลับมาได้บนพื้นฐานของข้อมูลเปรียบเทียบสองชุด และกฎนี้ก็เอาไปประยุกต์ใช้ได้กับแทบทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถรับประกันออกมาเป็นตัวเลขเป๊ะๆ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยและตัวแปรต่างๆตามแต่ละสถานการณ์
ตัวอย่างเช่น
ยอดขาย 80% มาจากสินค้าจำนวน 20% หรือ สินค้าจำนวน 20% ทำยอดขายได้ 80%
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ยอดขายหรือกำไรมหาศาลของร้านหนังสือ มาจากหนังสือขายดีไม่กี่เล่ม
รายได้ของบริษัท 80% มาจากลูกค้าจำนวน 20%
หมายความว่า มีลูกค้า20% ที่ทำเงินจำนวน 80% ให้กับบริษัท
งาน 2 ใน 10 อย่าง จะส่งผล 80%
คนในชีวิตเรา มีเพียงไม่กี่คนที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อชีวิตเรา
และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรโฟกัสที่ 20% ไม่ไช่ที่ 80%
เพราะเราไม่มีเวลาพอที่จะไปทำทุกอย่าง เราต้องเลือกทำและเลือกไม่ทำบางอย่าง
เลือกสิ่งที่สำคัญจริงๆ และโฟกัสไปที่ 20% นั้นอย่างเต็มที่ เราจึงจะบรรลุผลของการ "ทำน้อยแต่ได้ผลมาก"
หากมีงาน 10 อย่างให้เลือกทำ จงเลือกทำ 2 อย่างที่จะส่งผล 80%
หากมีรายการทีวีหรือหนัง 10 เรื่องที่อยากดู ให้เลือกเรื่องที่จะส่งผล 80%
หมายเหตุ: ส่งผลในเรื่องอะไรก็แล้วแต่เงื่อนไขของเรา
เรามาดูตัวอย่างการประยุกต์ในเรื่องงานและชีวิตกันค่ะ
เรื่องงาน
งานเป็นส่วนสำคัญมากในชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกบังคับจากสังคม
คนส่วนมากไม่ชอบงานที่ทำอยู่เท่าไรแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเงื่อนไขหรือพันธะบางอย่างในชีวิต
เช่น เพื่อเงิน เพื่อสถานภาพทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ เป็นต้น
แต่...ไหนๆคุณก็เสียเวลา เสียพลังงาน เสียแรงทำแล้ว ทำไมไม่ทำในสิ่งที่ให้ผลลัพธ์สูงสุดไปเลย
มีข้อแนะนำด้านการงานจากผู้เขียนว่า มีคนทำงาน 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1) ทะเยอทะยาน ชอบอยู่สภาพแวดล้อมที่มีความอำนวยความสะดวกครบครัน ได้รับสถานภาพหรือตำแหน่ง เงินทองหรือความมั่นคงไม่เป็นอุปสรรค
เหมาะกับการทำงานทำงานในองค์กร ไต้เต้าขึ้นเรื่อยๆ
2) เก่งและมีความสามารถเฉพาะทาง ต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มหรือสาขาวิชาชีพ
เหมาะกับการเป็นเจ้าของกิจการที่ลุยงานเอง ทำงานอิสระ
3) ทะเยอทะยาน แรงขับสูง เกลียดการเป็นลูกจ้าง แต่ไม่ต้องการโดดเดี่ยว ชอบสร้าง network สร้าง connection เหมาะกับการเป็นเจ้าของกิจการที่จ้างคนอื่นมาทำงาน
4) ไม่มีแรงขับเคลื่อนเพื่อประสบความสำเร็จในอาชีพ มีความสุขกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เหมาะกับการทำงานอาสาสมัคร ลูกจ้าง งาน routine
5) ไม่ทะเยอทะยาน แต่ต้องการอิสระ ได้เป็นตัวของตัวเอง ความสบายใจคือที่ตั้ง
เหมาะกับงานรับจ้าง freelance
6) ความต้องการประสบความสำเร็จในงานต่ำ แต่ยังหลงใหลกระบวนการในองค์กรและการช่วยเหลือ พัฒนาผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปจุดสูงสุด
เหมาะกับงานการศุกล นักสังคมสงเคราะห์ ครู
เรื่องความฉลาดและขี้เกียจ
นายพล วอง มันสเตน (Von Manstein) ทหารเยอรมันผู้ต่อต้านนาซี ได้แบ่งลักษณะนายทหาร
ออกเป็น 4 ประเภท คือ ฉลาด ขยัน โง่ และขี้เกียจ และกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ดังนี้
นายทหารที่ฉลาด และ ขยัน ให้เป็น แม่ทัพ
นายทหารที่ฉลาด แต่ ขี้เกียจ ให้เป็น ผู้นำ/เสนาธิการ
นายทหารที่โง่ และ ขี้เกียจ เลี้ยงไว้ทำงานกิจวัตร
นายทหารที่โง่ แต่ ขยัน ไม่มอบหมายงานให้หรือไล่ออก เพราะมีโอกาสสร้างความเสียหายใหญ่หลวง
เราสามารถนำกฎพาเรโตมาประยุกต์กับเรื่องความฉลาดและขี้เกียจได้ด้วยการทำสิ่งเหล่านี้
1) ชำนาญงานที่คนอื่นทำไม่ได้ หรือน้อยคนที่ทำได้
2) ทำในสิ่งที่รัก/ชอบ
3) ลงทุนในตัวเอง หมั่นศึกษาหาความรู้
4) รู้คุณค่า/ตลาดของตัวเอง
5) จ้างคนเก่งทำงาน
6) ให้เงินทำงานแทนคุณ
เพื่อนๆสามารถนำกฎพาเรโตไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆได้อย่างไม่จำกัด ลองนำหลักการและวิธีคิดนี้ไปทดลองใช้กันดูนะคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อย
ขอให้ทำน้อยแต่ได้มาก และมีความสุขในชีวิตค่ะ
<3
ms.messy
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in