เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สาระภาษา (ไม่) มีอยู่จริงpadumpalm
07 : อยากเล่าเรื่องให้แซ่บ ๆ ทำยังไงคะพี่สาว
  •           ในฐานะที่เราเป็นคนไทย แน่นอนว่าการ "เม้าท์มอย" เป็นของคู่กันค่ะ หากเราลองสังเกตบทสนทนาการเล่าเรื่องของคนไทย จะเห็นได้ว่าเรื่องราวมักจะออกรสออกชาติเสมอ เพราะภาษาของเรามีคำแสลง คำอุปมาอุปไมยอะไรพวกนี้เยอะม้ากกกก แต่พอเราอยากลองเล่าเป็นภาษาญี่ปุ่นบ้าง ทำไม๊ทำไมเรื่องราวมันกลับดูจืดชืดเหมือนแกงจืดที่วางตากแอร์ทิ้งไว้สามชั่วโมงแบบนี้ละคะซิสสสสส  

             บล็อกครั้งนี้เป็นการ Recap เนื้อหาจากในคาบเรียนแสนสนุก โดยจะรวมทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถ้าหากลองนำไปใช้แล้วจะช่วยให้เรื่องราวที่เพื่อน ๆ เล่า มีสีสันมากขึ้น แน่นอนค่ะ + พิเศษสุด ๆ บล็อกครั้งนี้ยังมีตัวอย่างเรื่องที่ใช้ภาษาไม่ยากและน่ารักด้วยนะ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเล้ย


    ?"แค่เปลี่ยนคำ ชีวิตก็เปลี่ยน"?

              หากเราอยากเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นให้มีอรรถรส แน่นอนค่ะว่าสกิลที่ขาดไปไม่ได้ก็คือ "ภาษาญี่ปุ่น" นั่นเองค่ะ (อ้าว แล้วอย่างนี้คนที่ไม่เก่งจะเล่าออกมาได้ไหมคะ) ไม่ต้องกังวลไปค่ะ จริง ๆ แล้วแค่การเปลี่ยนหรือเพิ่มคำนิด ๆ หน่อย ๆ เข้าไปก็จะช่วยให้เรื่องราวของเราเปลี่ยนไปอย่างมากเลยทีเดียว

    Tips 1 : คำเชื่อมไม่ได้มีแค่ そして

     Learn Japanese dokidokicomics (@dokidokicomics) on Instagram
              ถึงแม้คำเชื่อม そして จะเป็นคำที่ง่ายและใช้ได้บ่อย แต่หากใช้มากเกินไป ก็ทำให้เรื่องราวของเราขาดความหลากหลายของคำไปได้ เหมือนการใช้คำว่า "และ...แล้วก็...และ" ซ้ำ ๆ กันนั่นแหละค่ะ นอกจากนี้คนที่ฟังยังรู้สึกว่าเรื่องราวมันช่างดูราบเรียบ monotone ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นจุดพีค ตรงไหนควรตกใจ ดังนั้นเราลองไปดูลิสต์คำเชื่อมช่วยชีวิต ที่ท่านปรมาจารย์แห่ง App Jp Ling ได้รวบรวมมากันค่ะ ไม่แน่ว่าเพื่อน ๆ อาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาแล้วก็เป็นได้ 

    • すると (ทันใดนั้นเอง, จู่ ๆ ก็)  : คำเชื่อมที่บอกถึงผล หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นอย่างทันทีทันใด  
    เช่น「雷が近くに落ちてドーンっと鳴った。すると、子供が泣き出した。」
    (ฟ้าผ่าดัง "เปรี้ยง" ลงมาใกล้ ๆ ทันใดนั้น เด็กน้อยก็เริ่มร้องไห้ออกมา)

    • そこで (ด้วยเหตุนั้นเอง, ดังนั้น) : ประโยคก่อนหน้าจะบอกถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้ประโยคต่อมาบ่งชี้ถึงการตัดสินใจลงมือทำของตัวละครนั้น 
    เช่น 「クマが近づいてきた。そこで、死んだふりをした。」      
                                 (เจ้าหมียักษ์เริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้นเองฉันจึงตัดสินใจแกล้งตาย)
    • ところが (ทว่า, ปรากฎว่า) : เป็นคำเชื่อมประเภทเดียวกับ でも しかし ที่แปลว่า "แต่" นั่นเองค่ะ แต่! คำนี้จะบอกถึงระดับที่ตกใจมากขึ้น เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเหนือความคาดหมาย หรือต่างจากที่คิดไว้นั่นเอง มักจะใช้ตอนเรื่องถึงจุด Climax หรือตอนที่หักมุม
    เช่น 「猫は魚が好きなものだ。ところが家の猫は魚がきらいだ。
    (แมวนั้นเป็นสัตว์ที่ชอบกินปลา ทว่าแมวที่บ้านกลับไม่ชอบปลาซะอย่างงั้น) 


    Tips 2 : ฝึกใช้คำลงท้ายเพิ่มอารมณ์   "〜てしまう" 

              เชื่อว่าเพื่อน ๆ ต้องเคยได้ยินคนญี่ปุ่นชอบอุทานว่า "しまった" กันใช่ไหมคะ หากแปลเป็นไทยก็จะได้ว่า "ตายจริง แย่แล้ว" ซึ่งคำนี้นั้นยังสามารถนำไปต่อท้ายคำกริยาเพื่อบอกถึงความเสียดายได้อีกด้วย เช่น 「なくしてしまった」(ทำหายไปซะแล้ว TT)  
              ถึงแม้วิธีการใช้คำนี้จะไม่ยาก แต่พบว่าชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะใช้คำนี้กันน้อยมากค่ะ เนื่องจากเราพูดด้วยความเคยชินของภาษาตัวเอง ซึ่งไม่มีการใช้คำต่อท้ายแบบนี้นี่เอง 


    Tips 3 : เล่าโดยเอามุมมองไปอยู่ที่ตัวละครนั้น "〜ていく" และ "〜てくる" 

              การใช้คำสองคำนี้ให้อิมเมจเหมือนกับคำว่า "ออกไป" และ "เข้ามา" ค่ะ ถ้าถามว่าสำคัญยังไง คือในภาษาไทยเราอาจจะไม่ได้เน้นการต่อท้ายคำลักษณะนี้มาก แต่ถ้าเรานำมาใช้ในการเล่าเรื่องแบบญี่ปุ่นแล้ว จะช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพ ทิศทางการเคลื่อนไหว เหมือนกับเป็นตัวละครนั้นเองเลยค่ะ 
             เช่น 「彼女はすぐに歩いて行ってしまった。」(เธอเดินออกไปเสียแล้ว)
                     「知らない男が、私のほうへ走ってきた。」(ผู้ชายแปลกหน้าวิ่งเข้ามาหาฉัน)
    แมวไม่เกี่ยว รูปกันว่างค่ะ


    Tips 4 :ใช้คำขยายนาม คำวิเศษณ์หรือคำเลียนเสียงต่าง ๆ           

              คนญี่ปุ่นนั้นมักจะใช้คำขยายคำนามยาว ๆ เนื่องจากมีการเรียงลำดับประโยคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เวลาที่จะขยายลักษณะของคำนาม เช่น เด็กที่กำลังร้องไห้อยู่ ก็จะเขียนในลักษณะนี้แทนค่ะ「泣いている子供」ตรงข้ามกับภาษาไทยที่มักจะพูดไปเลยว่า "เด็กกำลังร้องไห้" การกลับคำแบบนี้ก็ช่วยให้ภาษาญี่ปุ่นของเราเป็นธรรมชาติมากขึ้นได้นั่นเอง (^^)/
    「感じ」が伝わるふしぎな言葉 擬音語・擬態語ってなんだろう (ちしきのもり) 

      นอกจากคำขยายนามยาว ๆ แล้ว คนญี่ปุ่นยังชอบใช้คำเลียนเสียงหรือ オノマトペ มากค่ะ คำเลียนเสียงในญี่ปุ่นนั้นมีเยอะแยะไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงสัตว์ เสียงข้าวของ เสียงบรรยากาศ เสียงการเคลื่อนไหว และอีกมากมายนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว (หากสนใจตามไปอ่านกันได้ที่ ドキドキ ตึกตักๆ คำพวกนี้คืออะไรกันนะ?


    เรื่องเล่าเช้านี้ : 森のくまさん

              เอาละค่ะ หลังจากอ่าน Tips มาทั้งสี่ข้อแล้ว คิดว่าเพื่อน ๆ น่าจะเริ่มปวดหัวตุ้บ ๆ แต่จริง ๆ แล้วการนำไปใช้ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ เราลองไปดูตัวอย่างจากในนิทานเรื่อง 森のくまさん หรือ คุณหมีในป่า สั้น ๆ เพียงแค่สองนาที และลองสังเกตว่าเขาใช้ Tips ที่เราบอกกันไปบ้างหรือเปล่าดีกว่าค่ะ 

    Q : ทำได้หรือไม่ ช่วยผมตามหาสไวเปอร์สี่ตัวหน่อยครับ
    ตัวที่ 1) คำเชื่อม    
    ตัวที่ 2) คำลงท้าย เพิ่มอารมณ์ "〜てしまう"      
    ตัวที่ 3) มุมมองตัวละคร "〜ていく" และ "〜てくる"    
    ตัวที่ 4) คำขยายนาม คำวิเศษณ์หรือคำเลียนเสียงต่าง ๆ   

    ?

    A : เป็นยังไงบ้างคะ หาเจอกันเยอะไหมเอ่ย เราลองไปดูเฉลยกันค่ะ (ใครแอบดูก่อนขอให้ฝันเห็นหมี)

    1) คำเชื่อม    
    00.56 ところが くまさんが後からついてくる  (ทันใดนั้นเอง คุณหมีก็ตามมาด้านหลัง)

    2) คำลงท้ายเพิ่มอารมณ์ "〜てしまう"  :ไม่มีจ้า

    3) มุมมองตัวละคร "〜ていく" และ "〜てくる"    
    1.00 くまさんが後からついてくる  (คุณหมีกำลังตามมาทางด้านหลังของฉัน)

    4) คำขยายนาม คำวิเศษณ์หรือคำเลียนเสียงต่าง ๆ   
    00.24 花咲く森の道  (ทางเดินภายในป่า ที่มีดอกไม้บานอยู่รอบ ๆ )
    00.40 スタコラ サッサッサ  (เสียงฝีเท้าที่กำลังวิ่งหนีอย่างรวดเร็ว)
    1.05 トコトコ トッコトッコト  (เสียงเดิน)
    1.21 白い貝柄の 小さなイヤリング  (ต่างหูอันเล็กรูปเปลือกหอยสีขาว)


              เป็นอย่างไรบ้างคะกับ Tips เล็ก ๆ สี่ข้อของเรา พอจะจำได้กันบ้างรึยังเอ่ย การเล่าเรื่องถือเป็นหนึ่งในสกิลที่สำคัญค่ะ เพราะถึงจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่หากเราใส่ส่วนผสมอื่น ๆ ที่ทำให้สนุกเร้าใจลงไป เรื่องราวก็อาจออกมาคนละแบบได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องคือ "อารมณ์ร่วม" นั่นเองค่ะ เพื่อให้เรื่องราวของเรามีมิติ และให้ผู้ฟังเหมือนได้เข้าไปในนั้นจริง ๆ นั่นเอง หากใครยังไม่จุใจ และสนใจวิธีการเล่าเรื่องสนุก ๆ แบบนี้อีกสามารถเข้าไปอ่านบล็อกของเพื่อนเราที่อธิบายถึงลำดับการเล่าเรื่องที่ดีไว้อย่างละเอียดและเข้าใจง่ายม้าก ในบล็อกนี้ได้เลยค่ะ >>>  Storytelling ① : การเล่าเรื่องที่ดี // ขายของ 

      ไว้เจอกันใหม่บล็อกหน้า จะรีบมาอัพนะคะ อันย๊องคุมะะะะะะะะะ ?

    อ้างอิง
    หนังสือ 「感じ」が伝わるふしぎな言葉 擬音語・擬態語ってなんだろう (ちしきのもり) 
    https://www.amazon.co.jp/%E3%80%8C%E6%84%9F%E3%81%98%E3%80%8D%E3%81%8C%E4%BC%9D%E3%82%8F%E3%82%8B%E3%81%B5%E3%81%97%E3%81%8E%E3%81%AA%E8%A8%80%E8%91%89-%E6%93%AC%E9%9F%B3%E8%AA%9E%E3%83%BB%E6%93%AC%E6%85%8B%E8%AA%9E%E3%81%A3%E3%81%A6%E3%81%AA%E3%82%93%E3%81%A0%E3%82%8D%E3%81%86-%E3%81%A1%E3%81%97%E3%81%8D%E3%81%AE%E3%82%82%E3%82%8A-%E4%BD%90%E8%97%A4-%E6%9C%89%E7%B4%80/dp/4879816582 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
clinomaniac (@clinomaniac)
ว้าวว ตัวอย่างน่าสนใจมากเลยค่ะ พอมีทั้งยกตัวอย่างคำเชื่อม และตัวอย่างแบบที่ใช้จริง รู้สึกเข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ คำขยายเลียนเสียงนี้เขาใช่กันเยอะจริงๆนะคะเนี่ย
padumpalm (@padumpalm)
@clinomaniac ใช้กันเยอะจริงๆค่ะ อย่างงี้ต้องตามไปอ่านบล็อกคำเลียนเสียง "ドキドキ ตึกตักๆ คำพวกนี้คืออะไรกันนะ?" ของคูม clinamaniac ที่ลิ้ง https://minimore.com/b/w8TSj/8 แล้วล่ะค่ะ !!!!
iroha (@iroha)
เขียนได้น่าอ่านและเข้าใจง่ายมาก ๆ เลยค่ะ พอลองเปลี่ยนไปใช้คำเชื่อมที่ไม่ใช่ そして แล้วรู้สึกว่าได้อารมณ์มากกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ
k.l.k (@k.l.k)
โอว หาตัวอย่างได้ยอดเยี่ยม ตรงกับที่สอนได้เป๊ะ!เลย สรุปคำเชื่อมได้เข้าใจง่าย ตรงจุดเลยค่ะ